ข้ามไปเนื้อหา

การยุบตัวจากความโน้มถ่วง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก Gravitational collapse)
แบบจำลองกลไกการยุบตัวจากความโน้มถ่วง

การยุบตัวจากความโน้มถ่วง (gravitational collapse) เป็นปรากฏการณ์ทางฟิสิกส์ที่วัตถุไม่สามารถต้านทานความโน้มถ่วงได้และทำให้เกิดการยุบตัวลงสู่ศูนย์กลาง

ดาราศาสตร์

[แก้]

ในทางดาราศาสตร์ การยุบตัวจากความโน้มถ่วงเป็นปรากฏการณ์ทางกายภาพที่ดาวฤกษ์ไม่สามารถทนต่อความโน้มถ่วง ของตัวเองได้และพังทลายลง[1]

ในขณะที่ดาวฤกษ์ถูกกดเข้าหาศูนย์กลางเนื่องจากความโน้มถ่วง ตัวดาวยังคงมีขนาดคงที่เนื่องจากการเคลื่อนที่ด้วยความร้อนของพลาสมาและแรงผลักทางไฟฟ้า เมื่อปฏิกิริยานิวเคลียร์ฟิวชันดำเนินไปเรื่อย ๆ จนในที่สุดนิวเคลียสของอะตอมที่มีมวลอะตอมน้อยถูกเผาผลาญหมดไปและแรงผลักจะอ่อนลง จึงทำให้ปฏิกิริยานิวเคลียร์ฟิวชันหยุดลง เมื่อถึงจุดนี้ จะทำให้ดาวเกิดการบีบอัดมากขึ้น และจะหยุดการบีบอัดเมื่อปฏิกิริยานิวเคลียร์ฟิวชันเริ่มขึ้นอีกครั้ง แต่เมื่อถึงจุดที่แกนดาวฤกษ์เต็มไปด้วยธาตุเหล็ก (นิวเคลียสของอะตอมที่มีเลขอะตอมใกล้เคียงธาตุเหล็กเป็นนิวเคลียสที่เสถียรที่สุดและไม่เกิดปฏิกิริยานิวเคลียร์ฟิวชันอีก) คราวนี้ธาตุเหล็กจะดูดกลืนรังสีแกมมา และเปลี่ยนให้เป็นฮีเลียมและนิวตรอน และเกิดการแตกตัวด้วยแสงขึ้น จากนั้นใจกลางของดาวก็กลายเป็นเหมือนช่องว่าง และสสารรอบ ๆ ก็พังทลายลงมาตรงกลางและถูกบีบอัด การบีบอัดนี้สร้างแกนกลางขึ้น และคลื่นกระแทกที่สะท้อนจากแกนกลางจะกระจายออกไปด้านนอก ทำให้ดาวฤกษ์ยุบตัว นี่คือสิ่งที่เรียกว่า การยุบตัวจากความโน้มถ่วง และจะเกิดเป็นมหานวดาราขึ้นในที่สุด

หลังจากนั้นแกนกลางที่บีบอัดจะกลายเป็นหลุมดำหรือดาวนิวตรอน

นอกจากนี้ ในการทำนายทางทฤษฎี ยังพิจารณาถึงการมีอยู่ของ ดาวควาร์ก ซึ่งนิวเคลียสถูกแยกสลายต่ออีกจนอยู่ในรูปของควาร์ก

โลกศาสตร์

[แก้]

ในสาขาโลกศาสตร์ การยุบตัวจากความโน้มถ่วงเป็นปรากฏการณ์ทางกายภาพที่ภูเขาและที่ลาดเอียงไม่สามารถต้านทานแรงโน้มถ่วงของโลกและพังทลายลง[2] ในกรณีของสิ่งปลูกสร้างภูเขาไฟ จะเรียกอีกอย่างว่า การยุบส่วนตัด (sector collapse)[3][4] เมื่อปรากฏการณ์นี้เกิดขึ้นในภูเขาไฟที่ยังคุกรุ่นอยู่ อาจเกิดการไหลตะกอนภูเขาไฟได้[5]

อ้างอิง

[แก้]
  1. 佐藤勝彦、「II. 中性子過剰核と超新星爆発 : 星の重力崩壊と中性子過剰核 (<特集> 核物理と宇宙物理)」 『日本物理学会誌』 1986年 41巻 2号 p.154-162, doi:10.11316/butsuri1946.41.154,日本物理学会
  2. 田中健二朗, 川上紳一, 武藤正典、「御嶽火山ハザードマップとの比較が可能な火砕流モデル実験教材の開発と中学校での授業実践」 『日本科学教育学会研究会研究報告』 2017-2018年 32巻 10号 p.47-52, doi:10.14935/jsser.32.10_47, 日本科学教育学会
  3. 高田亮、「玄武岩質火山成長に伴うカルデラ形成」 『地学雑誌』 2001年 110巻 2号 p.245-256, doi:10.5026/jgeography.110.2_245, 東京地学協会
  4. 鹿野和彦、「火山を発生源とする重力流の流動・定置機構(<特集>火山学50年間の発展と将来)」 『火山』 2005年 50巻 Special号 p.S253-S272, doi:10.18940/kazan.50.Special_S253, 日本火山学会
  5. 前田美紀, 宮地直道、「富士火山西麓に分布する玄武岩質火砕流の成因」 『火山』 2012年 57巻 1号 p.19-35, doi:10.18940/kazan.57.1_19, 日本火山学会