แคลเซโดนี
หน้าตา
(เปลี่ยนทางจาก Chalcedony)
บทความนี้ไม่มีการอ้างอิงจากแหล่งที่มาใด |
แคลเซโดนี | |
---|---|
แคลเซโดนี | |
การจำแนก | |
ประเภท | แร่ซิลิกา |
สูตรเคมี | SiO2 |
คุณสมบัติ | |
สี | มีหลากหลายสี |
รูปแบบผลึก | ผลึกรวมซ่อนรูปร่วมกับโครงสร้างเส้นใย |
โครงสร้างผลึก | ไตรโกนอล |
ค่าความแข็ง | 6-7 |
ความวาว | วาวแก้ว และวาวยาง |
สีผงละเอียด | สีขาว |
ความถ่วงจำเพาะ | 2.65 |
แคลเซโดนี (อังกฤษ: Chalcedony) เป็นแร่รัตนชาติซึ่งจัดอยู่ในประเภท ควอตซ์ มีลักษณะเป็นผลึกรวมซ่อนรูป (Cryptocrystalline) ของซิลิกา มีความวาวแบบแก้วและแบบยางสน มีหลากหลายสี แต่ที่พบมากที่สุดคือ สีขาว-เทา สีเทาน้ำเงิน หรือสีน้ำตาลจนถึงดำ
ประเภทของแคลเซโดนี
[แก้]แคลเซโดนีเกิดได้หลากหลายประเภท แร่รัตนชาติหลาย ๆ ตัวนั้นจริง ๆ แล้วจัดว่าเป็นแคลเซโดนีประเภทหนึ่งเช่นกัน ซึ่งมีหลากหลายตัว ดังนี้
- อะเกต
- อะเกต หรือ หินโมรา (อังกฤษ: Agate) จัดเป็นประเภทหนึ่งของแคลเซโดนี มีหลากหลายสี รูปร่างหลากหลาย เช่นคล้ายวงปีของต้นไม้ มีลายเป็นชั้น ๆ และมักโค้งเป็นระลอกคลื่น อะเกตที่มีลักษณะเป็นโครงสร้างแบบเส้นใย (fibrous structure) ซึ่งลักษณะโครงสร้างแบบนี้ทำให้เกิดการเล่นแสง และมีสีเหลือบได้ และมีความแข็งสูง คงทนต่อการสึกหรอ
- ออนิกซ์
- ออนิกซ์ (อังกฤษ: Onyx) เป็นแร่รัตนชาติอีกประเภทหนึ่งของแคลซิโดนีมีสีน้ำตาลหรือสีดำ มักมีแถบสีขาวสลับกับสีเข้ม นอกจากนี้โอนิกซ์มีชื่อเรียกอื่น ๆ อีกด้วย ได้แก่ Chalcedonyx และ Sardonyx
- แจสเปอร์
- แจสเปอร์ (อังกฤษ: Jasper) มีลักษณะขุ่นและมักมีสีแดง น้ำตาล หรือเหลือง ซึ่งเป็นผลมาจากเหล็ก (iron oxides)
- คริสโซเพรส
- คริสโซเพรส (อังกฤษ: Chrysoprase) เป็นแคลเซโดนีที่มีสีเขียวโดยเป็นผลมากจากนิกเกิล (nickel oxides) สีปกติแล้วเป็นสีเขียวอ่อน จนถึงเขียวเข้ม สีเขียวเข้มของคริสโซเพรสบางทีจะเรียกว่า เพรส (Prase) ได้เช่นกัน
- คาร์นิเลียน
- คาร์นิเลียน (อังกฤษ: Carnelian) เป็นแคลเซโดนีสีแดงอมส้ม จนถึงแดงอมน้ำตาล ซึ่งเกิดจากเหล็ก (iron oxide) มีลักษณะคล้าย ๆ กับซาร์ด แต่ซาร์ดจะแข็งและมีสีเข้มกว่า
- ซาร์ด
- ซาร์ด (อังกฤษ: Sard) เป็นแคลเซโดนีที่มีในโทนเดียวกับคาร์นิเลียน แต่จะมีสีเข้มและเป็นสีน้ำตาลมากกว่าสีแดง
- มอสอะเกต
- มอสอะเกต หรือ tree agate หรือ mocha stone (อังกฤษ: Moss agate) จะมีลักษณะของมลทินที่เป็นเส้นใยสีเขียว สีดำ สีน้ำตาลคล้ายกับต้นมอสหรือตะไคร่น้ำ โดยสีที่เกิดขึ้นมาจากการมีมลทินเนื่องมาจากโลหะ เช่น โครเมี่ยม หรือเหล็ก วาเลนซ์อิเล็กตรอนที่ต่างกันไปก็จะให้สีที่ต่างกันออกไป
- ฮีลิโอโทรป
- ฮีลิโอโทรป หรือ หินเลือด (อังกฤษ: Heliotrope หรือ bloodstone) เป็นแคลเซโดนีสีเขียวทึบแสง มีมลทินสีแดง หรือสีน้ำตาลของแจสเปอร์อยู่ประปราย บางครั้งมลทินที่พบจะเป็นสีเหลืองจะเรียกว่า พลาสม่า (plasma)
- อะเวนจูรีน
- อะเวนจูรีน (อังกฤษ: Aventurine) เป็นหินแปรที่ประกอบด้วยแร่ควอตซ์เป็นส่วนใหญ่ที่มีมิลทินของแร่ไมก้าสีเขียว (Fuchsite mica) ผังอยู่อย่างไม่เป็นระเบียบทำให้เกิดการสะท้อนแสงเป็นประกายระยิบระยับเมื่อขยับไปมาเล่นกับแสง มีหลากหลายสี อะเวนจูรีนมีหลากหลายสี แต่สีที่นิยมใช้กันคือสีเขียว
-
อะเกตหรือหินโมรา
-
ก้อนมอสอะเกต
-
แจสเปอร์
-
(ซ้าย) คาร์นิเลียน (ขวา) ซาร์ด
-
ฮีลิโอโทรป หรือหินเลือด