ไวยากรณ์ภาษาเบงกอล

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก ไวยากรณ์ภาษาเบงกอลี)

ภาษาเบงกอลเป็นภาษาที่มีการผันคำตามการกเช่นเดียวกับภาษากลุ่มอินโด-อารยันอื่น ๆ แต่ไม่มีการผันคำตามเพศ เรียงประโยคแบบประธาน-กรรม-กริยา

คำสรรพนาม[แก้]

คำสรรพนามแบ่งเป็นบุรุษที่ 1 2 และ 3 และแบ่งเป็นเอกพจน์กับพหูพจน์ ไม่มีความแตกต่างระหว่างเพศ มีการแบ่งสรรพนามบุรุษที่ 3 ตามความใกล้เคียงคือใช้กับผู้ที่อยู่ใกล้ อยู่ไกลออกไปและไม่อยู่ในสถานที่นั้น และยังแบ่งสรรพนามตามระดับความสนิทสนมและความสุภาพ

มีการผันสรรพนามตามการก การกประธานใช้กับสรรพนามที่เป็นประธานของประโยค การกกรรมใช้กับสรรพนามที่เป็นกรรมตรงหรือกรรมรองของประโยค ตารางต่อไปนี้เป็นการแสดงสรรพนามแทนบุคคลในการกประธานและการกกรรม

สรรพนามประธาน
ประธาน Proximity ความสุภาพ เอกพจน์ พหูพจน์
1 ami (I) amra (we)
2 สนิทมาก tui (you) tora (you)
สนิท tumi (you) tomra (you)
สุภาพ apni (you) apnara (you)
3 ที่นี่ สนิท e (he/she) era (they)
สุภาพ ini (he/she) ẽra (they)
ที่โน่น สนิท o (he/she) ora (they)
สุภาพ uni (he/she) őra (they)
ที่อื่น สนิท she (he/she) tara (they)
สุภาพ tini (he/she) tãra (they)
สรรพนามการกกรรม
ประธาน Proximity ความสุภาพ เอกพจน์ พหูพจน์
1 amake (me) amader (us)
2 สนิทมาก toke (you) toder (you)
สนิท tomake (you) tomader (you)
สุภาพ apnake (you) apnader (you)
3 ที่นี่ สนิท eke (him/her) eder (them)
สุภาพ ẽke (him/her) ẽder (them)
ที่โน่น สนิท oke (him/her) oder (them)
สุภาพ õke (him/her) őder (them)
ที่อื่น สนิท take (him/her) tader (them)
สุภาพ tãke (him/her) tãder (them)
สรรพนามแสดงความเป็นเจ้าของ
ประธาน Proximity ความสุภาพ เอกพจน์ พหูพจน์
1 amar (my) amader (our)
2 สนิทมาก tor (your) toder (your)
สนิท tomar (your) tomader (your)
สุภาพ apnar (your) apnader (your)
3 ที่นี่ สนิท er (his/her) eder (their)
สุภาพ ẽr (his/her) ẽder (their)
ที่โน่น สนิท or (his/her) oder (their)
สุภาพ õr (his/her) őder (their)
ที่อื่น สนิท tar (his/her) tader (their)
สุภาพ tãr (his/her) tãder (their)


คำนาม[แก้]

การก[แก้]

คำนามมีการผันตามการกเช่นกันโดยการกสำหรับนามได้แก่ การกประธาน การกกรรม การกแสดงความเป็นเจ้าของ และการกสถานที่ การผันคำนามขึ้นกับการมีหรือไม่มีชีวิตของคำนามด้วย

การผันนามเอกพจน์
มีชีวิต ไม่มีชีวิต
ประธาน chhatro-ţa

the student

juta-ţa

the shoe

กรรม chhatro-ţa-ke

the student

juta-ţa

the shoe

ความเป็นเจ้าของ chhatro-ţa-r

the student's

juta-ţa-r

the shoe's

สถานที่ - juta-ţa- (t) e

on/in the shoe

การผันนามพหูพจน์
มีชีวิต ไม่มีชีวิต
ประธาน chhatro-ra

the students

juta-gula

the shoes

กรรม chhatro-der (ke)

the students

juta-gula

the shoes

ความเป็นเจ้าของ chhatro-der

the students'

juta-gula-r

the shoes'

สถานที่ - juta-gula-te

on/in the shoes

คำลักษณนาม[แก้]

ในการนับ ภาษาเบงกอลมีคำลักษณนามเช่นเดียวกับภาษาในเอเชียอื่น ๆ เช่น ภาษาจีน ภาษาญี่ปุ่น และภาษาไทย คำลักษณนามอยู่ระหว่างตัวเลขและนาม นามทั่วไปมีคำลักษณนามรวมคือ ta แต่มีนามจำนวนมากที่มีคำลักษณนามจำเพาะ เช่น jon ใช้กับมนุษย์เท่านั้น

การละคำลักษณนามในประโยคถือว่าผิดไวยากรณ์ แต่การใช้ลักษณนามโดยละคำนามนั้นถือว่ายอมรับได้ เช่นใช้ jon แทนคำว่า loke (บุคคล) ในประโยคได้ เพราะ jon เป็นลักษณนามของ loke เท่านั้น

ปรบท[แก้]

ตรงกับคำบุพบทในภาษาไทย เพียงแต่วางไว้หลังคำนามการกกรรม การกความเป็นเจ้าของ หรือแสดงสถานที่ ตัวอย่างปรบทได้แก่ ปรบทสำหรับการกประธาน เช่น age (ก่อน) oi pare (ข้าม) jonno (สำหรับ) ปรบทสำหรับการกกรรม เช่น dhore (เป็นเวลา) porjonto (จนกระทั่ง) nie (รวม)

คำกริยา[แก้]

คำกริยาในภาษาเบงกอลประกอบด้วยรากศัพท์และคำลงท้าย การสร้างนามกริยาทำได้โดยการเติม –a เข้ากับรากศัพท์ เช่น rakha (การวาง) รากศัพท์อาจจะลงท้ายด้วยสระหรือพยัญชนะ คำริยาประกอบด้วยการผันตามกาลและบุคคลซึ่งจะเปลี่ยนแปลงตรงส่วนท้ายคำ เสียงสระในคำอาจเปลี่ยนแปลงได้เมื่อได้รับอิทธิพลจากสระอื่น เช่น รากศัพท์ lekh (เขียน) เป็น tomara lekho (พวกเธอเขียน) และ amara likhi (พวกเราเขียน)

บุคคลและรูปแบบ[แก้]

คำกริยาผันตามบุคคลและระดับความนับถือแต่ไม่ผันตามจำนวน รูปแบบของกริยามีสองแบบคือ แบบบ่งชี้ใช้กับการยืนยันข้อเท็จจริง และแบบบังคับใช้แสดงความเห็น

กาล[แก้]

ภาษาเบงกอลมีกาลธรรมดาสี่แบบ คือ ปัจจุบันธรรมดา อดีตกาลธรรมดา อดีตตามประเพณี และอนาคตกาล