ข้ามไปเนื้อหา

พระเจ้าโอโดเอเซอร์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก โอโดอาเซอร์)
ฟลาวิอุส โอเดเซอร์
เหรียญโอเดเซอร์ที่ผลิตในราเวนนา ค.ศ. 477 พร้อมภาพตนเองที่มีหนวด "คนป่าเถื่อน"
พระมหากษัตริย์อิตาลี
ครองราชย์4 กันยายน ค.ศ. 476 – 15 มีนาคม ค.ศ. 493
ถัดไปพระเจ้าธีโอดอริคมหาราช
ประสูติป. ค.ศ. 433[1]
สวรรคต15 มีนาคม ค.ศ. 493 (ประมาณ 60 ปี)
ราเวนนา ราชอาณาจักรอิตาลี
คู่อภิเษกซูนิกิลดา
พระราชบุตรเธลา
พระราชบิดาเอเดโก
ศาสนาลัทธิเอเรียส

โอโดเอเซอร์ (ละติน: Odoacer;[a] ป. ค.ศ. 433 – 15 มีนาคม ค.ศ. 493) บางครั้งสะกดเป็น โอโดวาเซอร์ (Odovacer) หรือ โอโดวาการ์ (Odovacar)[b] เป็นทหารและรัฐบุรุษอนารยชนจากดานูบตอนกลางที่ขับไล่ยุวจักรพรรดิโรมูลุส เอากุสตุสแห่งโรมันตะวันตก และให้ตนเองเป็นผู้ปกครองอิตาลี (ค.ศ. 476–493) ตามธรรมเนียม การโค่นล้มโรมูลุส เอากุสตุสถือเป็นจุดสิ้นสุดของจักรวรรดิโรมันตะวันตก[c]

ชาติพันธุ์

[แก้]

ยังไม่มีใครทราบต้นตอชาติพันธุ์ที่แท้จริงของโอโดเอเซอร์ ยกเว้นข้อเท็จจริงที่ว่าเขาไม่ถือเป็นชาวโรมัน[d] นักวิชาการบางส่วนเชื่อว่าต้นกำเนิดของเขาอยู่ในจักรวรรดิหลายชาติพันธุ์ของอัตติลา นักวิชาการส่วนใหญ่จัดให้เขามีเชื้อสายเจอร์แมนิกส่วนหนึ่ง ในขณะที่อีกกลุ่มโต้แย้งว่าเขามีเชื้อสายเจอร์แมนิกเต็มตัว[4] ข้อมูลสมัยกลางตอนต้นอย่างเธโอฟาเนสเรัยกเขาเป็นชาวกอท[5] เช่นเดียวกันกับมาร์เซลลินุส โกเมส ผู้บันทึกเหตุการณ์ในคริสต์ศตวรรษที่ 6 เรียกเขาเป็น "กษัตริย์แห่งชาวกอท" (Odoacer rex Gothorum)[e]

หมายเหตุ

[แก้]
  1. ในบางเหรียญเรียกโอโดเอเซอร์เป็น "ฟลาวิอุส"[1] ชื่อนั้นกลายเป็ยนตำแหน่งในคริสต์ศตวรรษที่ 5[2]
  2. กรีกโบราณ: Ὀδόακρος, อักษรโรมัน: Odóakros[1]
  3. "Odoacer was the first barbarian who reigned over Italy, over a people who had once asserted their just superiority above the rest of mankind." Edward Gibbon, The Decline and Fall of the Roman Empire, Chapter XXXVI.[3]
  4. สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม ดู: Stefan Krautschick, "Zwei Aspekte des Jahres 476", Historia: Zeitschrift für Alte Geschichte, 35 (1986), pp. 344–371.
  5. Marcellinus Comes, Chronicon, s. a. 476.

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 1.2 Martindale 1980.
  2. Cameron 1988.
  3. Gibbon 1998, p. 716.
  4. Heather 2018, pp. 1340–1341.
  5. MacGeorge 2002, p. 284.

ข้อมูล

[แก้]
  • Cameron, Alan (1988). "Flavius: a Nicety of Protocol". Latomus. 47 (1): 26–33. JSTOR 41540754.
  • Gibbon, Sir Edward (1998) [1789]. The Decline and Fall of the Roman Empire. London: Wordsworth Editions. ISBN 978-1-85326-499-3.
  • Martindale, J.R. (1980). "Odoacer". Prosopography of the Later Roman Empire. Vol. 2 (A.D. 395–527). London; New York: Cambridge University Press. pp. 791–793. ISBN 0-521-20159-4.
  • MacGeorge, Penny (2002). Late Roman Warlords. Oxford and New York: Oxford University Press. ISBN 978-0-19-925244-2.

อ่านเพิ่ม

[แก้]