แอนติบอดีลบล้างฤทธิ์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
Neutralizing antibodies
Standard antibody representation.
Properties
Protein TypeImmunoglobin
FunctionNeutralization of antigens
ProductionB cells[1][2]

แอนติบอดีลบล้างฤทธิ์[3][4] (อังกฤษ: neutralizing antibody, NAb) เป็นแอนติบอดีชนิดหนึ่งที่สามารถป้องกันเซลล์จากสิ่งก่อโรคได้ด้วยการล้างฤทธิ์ในเชื้อก่อโรคนั้นผ่านกลไกทางชีววิทยา การล้างฤทธิ์เป็นกระบวนการที่ทำให้สิ่งก่อโรคนั้นๆ ไม่สามารถทำให้เกิดการติดเชื้อหรือทำให้เกิดพยาธิสภาพได้อีกต่อไป[5] แอนติบอดีชนิดนี้เป็นส่วนหนึ่งของระบบภูมิคุ้มกันแบบฮิวเมอรัลซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของระบบภูมิคุ้มกันแบบปรับตัวอีกทีหนึ่ง สามารถป้องกันร่างกายจากไวรัส แบคทีเรียชนิดอาอศัยในเซลล์ และพิษที่ถูกสร้างโดยแบคทีเรียได้ แอนติบอดีนี้จะไปจับกับโครงสร้างพื้นผิวของสิ่งก่อโรคที่เป็นเป้าหมาย (เรียกโครงสร้างที่แอนติบอดีเข้าไปจับนี้ว่า แอนติเจน) ทำให้โครงสร้างที่ถูกจับนั้นไม่สามารถไปทำปฏิกิริยากับเซลล์ร่างกายได้ การเกิดภูมิคุ้มกันที่มาจากแอนติบอดีล้างฤทธิ์เรียกว่าภูมิคุ้มกันอย่างสมบูรณ์[6][7] สามารถกำจัดสิ่งก่อโรคได้ก่อนที่จะทำให้เกิดการติดเชื้อ[8]

อ้างอิง[แก้]

  1. Mike Recher; Karl S Lang; Lukas Hunziker; Stefan Freigang; Bruno Eschli; Nicola L Harris; Alexander Navarini; Beatrice M Senn; Katja Fink; Marius Lötscher; Lars Hangartner; Raphaël Zellweger; Martin Hersberger; Alexandre Theocharides; Hans Hengartner; Rolf M Zinkernagel (8 August 2004). "Deliberate removal of T cell help improves virus-neutralizing antibody production". Nature Immunology. 5 (9): 934–942. doi:10.1038/ni1102. PMID 15300247.
  2. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ Stachowiak
  3. จารุอำพรพรรณ, พีร์ (March 17, 2021). "วัคซีนสำหรับไวรัสเซอร์โคในสุกรชนิดที่ 2 (PCV2)". nstda.or.th. สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ. สืบค้นเมื่อ July 1, 2021.[ลิงก์เสีย]
  4. แนมขุนทด, ศิริรัตน์ (2016). "ผลงานนำเสนอประชุมวิชาการกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ครั้งที่ 24 เรื่อง การศึกษาการตอบสนองของแอนติบอดีต่อเชื้อไวรัสเดงกีในผู้ป่วยไทยที่ติดเชื้อครั้งแรกและติดเชื้อซ้ำ" (PDF). ประชุมวิชาการกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ครั้งที่ 24. ประชุมวิชาการกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ครั้งที่ 24. กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2021-07-09. สืบค้นเมื่อ 2021-07-01.
  5. "Neutralizing antibody". Biology-Online. 2008. สืบค้นเมื่อ 2009-07-04.
  6. FARHART, CLAUDIA (February 8, 2021). "ทำอะไรได้/ไม่ได้หลังฉีดวัคซีนโควิดแล้ว". SBS ไทย. สืบค้นเมื่อ July 1, 2021.
  7. ชื่นจิตร, ทิพย์วรรณ. "บทความฟื้นวิชา Immunological Assays to Measure Host Immune Responses to HIV" (PDF). เวชศาสตร์แพทย์ทหารบก. 57 (2): 101–106. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2019-07-13. สืบค้นเมื่อ July 1, 2021.
  8. Dutta, A; Huang, CT; Lin, CY; Chen, TC; Lin, YC; Chang, CS; He, YC (6 September 2016). "Sterilizing immunity to influenza virus infection requires local antigen-specific T cell response in the lungs". Scientific Reports. 6: 32973. Bibcode:2016NatSR...632973D. doi:10.1038/srep32973. PMC 5011745. PMID 27596047.