ข้ามไปเนื้อหา

ดอลลี (แกะ)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก แกะดอลลี)
ดอลลี
ร่างสตัฟของดอลลี
ฉายาอื่น ๆ6LLS (code name)
สปีชีส์แกะเลี้ยง Finn-Dorset
เพศเมีย
เกิด5 กรกฎาคม 2539
สถาบันรอสลิน เมืองเอดินบะระ ประเทศสกอตแลนด์
ตาย14 กุมภาพันธ์ 2546 (อายุ 6 ปี)
สถาบันรอสลิน เอดินบะระ ประเทศสกอตแลนด์
ที่ไว้ซากพิพิธภัณฑ์แห่งชาติสกอตแลนด์ (จัดแสดงซาก)
เป็นที่รู้จักสำหรับสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมโคลนตัวแรกซึ่งถูกโคลนจากเซลล์ร่างกายที่โตเต็มวัย
ทายาทลูกแกะ 6 ตัว (บอนนี่; คู่แฝด แซลลีและโรซี แฝดสาม ลูซี ดาร์ซี และคอตตอน)
ตั้งชื่อตามดอลลี พาร์ตัน[1]

ดอลลี (อังกฤษ: Dolly) (5 กรกฎาคม 2539 – 14 กุมภาพันธ์ 2546) เป็น แกะเลี้ยงเพศเมีย และเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมตัวแรกที่ถูกโคลนจากเซลล์โซมาติก (somatic cell) ของสัตว์โตเต็มวัย โดยใช้วิธีถ่ายฝากนิวเคลียส (nuclear transfer)[2][3] ดอลลีถูกโคลนโดย เอียน วิลมุต (Ian Wilmut) คีธ แคมป์เบล (Keith Campbell) และผู้ร่วมงาน ณ สถาบันรอสลิน (Roslin Institute) ส่วนหนึ่งของมหาวิทยาลัยเอดินบะระ ประเทศสกอตแลนด์ และบริษัทเทคโนโลยีชีวภาพ PPL Therapeutics ซึ่งตั้งอยู่ใกล้กับเอดินบะระ เงินทุนในการโคลนดอลลีมาจากบริษัท PPL Therapeutics และกระทรวงการเกษตรของสหราชอาณาจักร[4] มันเกิดเมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2547 และตายด้วยโรคทางปอดเมื่ออายุได้ 6 ปี 7 เดือน[5] หลายสื่อ เช่น BBC News และ Scientific American ยกย่องให้มันเป็น "แกะดังที่สุดในโลก"[6][7]

เซลล์ที่ใช้เป็นผู้บริจาคเพื่อโคลนดอลลี ถูกนำมาจาก ต่อมน้ำนม และการที่สามารถสร้างโคลนที่แข็งแรงได้นั้นเป็นตัวพิสูจน์ว่า เซลล์จากส่วนหนึ่งของร่างกายสามารถนำมาสร้างสิ่งมีชีวิตได้ทั้งตัวชื่อของดอลลีว่า "ดอลลีมาจากเซลล์ต่อมน้ำนม และพวกเราไม่สามารถนึกถึงต่อมน้ำนมที่น่าประทับใจมากกว่าของดอลลี พาร์ตัน ได้"[1]

การเกิด

[แก้]

ดอลลีเกิดเมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2539 และมีแม่ถึงสามตัว (ตัวหนึ่งให้ไข่ อีกตัวให้ดีเอ็นเอ และตัวสุดท้ายเป็นแม่อุ้มบุญซึ่งเป็นที่ฝากตัวอ่อนไว้จนคลอด)[8] มันถูกสร้างโดยใช้เทคนิคการถ่ายฝากนิวเคลียจากเซลล์ร่างกาย โดยนิวเคลียสของเซลล์จากเซลล์โตเต็มวัยถูกถ่ายฝากไปยังเซลล์ไข่ (oocyte) ซึ่งไม่ได้ผสมเชื้อและถูกนำเอานิวเคลียสออกไป จากนั้นเซลล์จึงถูกกระตุ้นให้เริ่มขยายตัวโดยการช็อตไฟฟ้า และเมื่อเริ่มพัฒนาเป็นตัวอ่อนซึ่งเป็นระยะก่อนที่จะฝังตัวกับมดลูก (blastocyst) จึงถูกนำไปฝังไว้ในแม่อุ้มบุญ[9] ดอลลีเป็นร่างโคลนร่างแรกซึ่งนำเซลมาจากสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขณะโตเต็มวัย การสร้างดอลลีทำให้เห็นว่ายีนในนิวเคลียสของเซลล์ร่างกายที่โตเต็มวัย ยังสามารถย้อนกลับไปมีศักยภาพอย่างตัวอ่อนซึ่งสร้างเซลล์ที่สามารถพัฒนาเป็นส่วนใดก็ได้ของสัตว์[10] ดอลลีถูกประกาศอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2540 ดอลลีได้รับความสนใจจากสื่ออย่างล้นหลาม แม้ดอลลีจะไม่ใช่สัตว์ตัวแรกที่ถูกโคลน มันก็ได้รับความสนใจจากสื่อเนื่องจากเป็นร่างโคลนร่างแรกจากเซลล์โตเต็มวัย[4]

ชีวิต

[แก้]
การโคลนที่สร้างดอลลี

ดอลลีใช้ชีวิตทั้งชีวิตอยู่ที่สถาบันรอสลินในเมืองเอดินบะระ[5] มันได้ผสมพันธุ์กับแกะภูเขาเวลส์และให้กำเนิดลูกแกะ 6 ตัว ลูกตัวแรกชื่อว่า บอนนี่ เกิดเมื่อเดือนเมษายน พ.ศ. 2541 ปีต่อมี ดอลลีให้กำเนิดลูกแกะแฝด ชื่อ แซลลี่และโรซี่ จากนั้นได้ให้กำเนิดแฝดสาม ลูซี่ ดาร์ซี่ และคอตตอน ในปีต่อมา[11] ในช่วงปลายปี พ.ศ. 2544 ด้วยวัยสี่ปี ดอลลีเริ่มมีอาการข้ออักเสบ และเดินอย่างแข็งทื่อ จึงได้รับการรักษาด้วยยาแก้อักเสบ[12]

การตาย

[แก้]

ในวันที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2546 ดอลลีถูกการุณยฆาต เพราะเป็นโรคเกี่ยวกับปอด และอาการข้ออักเสบขั้นรุนแรง[13] ปกติแล้วแกะพันธ์ Finn Dorset อย่างดอลลีมีอายุขัยประมาณ 11 ถึง 12 ปี ทว่าดอลลีมีอายุเพียง 6.5 ปีเท่านั้น หลังการตรวจพบว่าดอลลีมีมะเร็งชนิดต่อมของปอดแกะ (ovine pulmonary adenocarcinoma หรือ Jaagsiekte)[14] ซึ่งเป็นโรคที่พบได้ทั่วไปในแกะ และมีสาเหตุมาจากรีโทรไวรัส JSRV[15] นักวิทยาศาสตร์ที่สถาบันรอสลินกล่าวว่า พวกเขาคิดว่าการที่ดอลลีเป็นร่างโคลนไม่น่าใช่สาเหตุ และแกะหลายตัวในฝูงเดียวกันก็เสียชีวิตด้วยโรคนี้เช่นกัน โรคปอดนี้พบได้ส่วนใหญ่ในแกะที่ถูกเลี้ยงไว้ในร่ม และปกติแล้ว ดอลลีก็ถูกนำมานอนในร่มด้วยเหตุผลด้านความปลอดภัย

สื่อบางส่วนคาดว่า อีกต้นตอหนึ่งของการตายของดอลลีอาจเพราะว่ามันเกิดมาด้วยอายุยีนหกปี ซึ่งเท่ากับอายุของแกะที่ถูกโคลน หนึ่งในหลักฐานของข้อคิดนี้ คือ การที่เทโลเมียร์ ของดอลลีนั้นสั้น ซึ่งปกติแล้วเป็นตัวชี้อายุ[16][17] สถาบันรอสลินชี้ว่าการตรวจสุขภาพของดอลลีไม่ได้ชี้ถึงการแก่ตัวที่ผิดปกติ[18]

ใน พ.ศ. 2559 นักวิทยาศาสตร์รายงานว่าไม่พบข้อบกพร่องในแกะโคลนทั้งสิบสามตัว ซึ่งในนั้นมีสี่ตัวที่มาจาก เซลล์ไลน์เดียวกับดอลลี งานวิจัยแรกที่รวบรวมผลทางสุขภาพระยะยาวของการโคลน ไม่พบหลักฐานเกี่ยวกับโรคกลุ่มที่ไม่ติดต่อ นอกจากตัวอย่างไม่กี่ตัวอย่างเกี่ยวกับอาการข้ออักเสบ[19][20]

ดูเพิ่ม

[แก้]

การโคลน

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 "1997: Dolly the sheep is cloned". BBC News. 22 February 1997.
  2. McLaren A (2000). "Cloning: pathways to a pluripotent future". Science. 288 (5472): 1775–80. doi:10.1126/science.288.5472.1775. PMID 10877698.
  3. Wilmut I; Schnieke AE; McWhir J; Kind AJ; และคณะ (1997). "Viable offspring derived from fetal and adult mammalian cells". Nature. 385 (6619): 810–3. Bibcode:1997Natur.385..810W. doi:10.1038/385810a0. PMID 9039911.
  4. 4.0 4.1 Edwards, J. (1999). "Why dolly matters: Kinship, culture and cloning". Ethnos. 64 (3–4): 301–324. doi:10.1080/00141844.1999.9981606.
  5. 5.0 5.1 "Dolly the sheep clone dies young". BBC News. 14 February 2003
  6. "Is Dolly old before her time?". BBC News. London. 27 May 1999. สืบค้นเมื่อ 4 October 2009.
  7. Lehrman, Sally (July 2008). "No More Cloning Around". Scientific American. สืบค้นเมื่อ 21 September 2008.
  8. Williams, N. (2003). "Death of Dolly marks cloning milestone". Current Biology. 13 (6): 209–210. doi:10.1016/S0960-9822(03)00148-9. PMID 12646139.
  9. Campbell KH; McWhir J; Ritchie WA; Wilmut I (1996). "Sheep cloned by nuclear transfer from a cultured cell line". Nature. 380 (6569): 64–6. Bibcode:1996Natur.380...64C. doi:10.1038/380064a0. PMID 8598906.
  10. Niemann H; Tian XC; King WA; Lee RS (February 2008). "Epigenetic reprogramming in embryonic and foetal development upon somatic cell nuclear transfer cloning" (PDF). Reproduction. 135 (2): 151–63. doi:10.1530/REP-07-0397. PMID 18239046. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 19 July 2018. สืบค้นเมื่อ 20 April 2018.
  11. Dolly's family.
  12. Dolly's arthritis.
  13. Dolly's final illness เก็บถาวร 27 กุมภาพันธ์ 2008 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน Roslin Institute, Acce ssed 21 February 2008 Cached version
  14. Bridget M. Kuehn Goodbye, Dolly; first cloned sheep dies at six years old เก็บถาวร 4 ตุลาคม 2009 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน American Veterinary Medical Association, 15 April 2003
  15. Palmarini M (2007). "A Veterinary Twist on Pathogen Biology". PLoS Pathog. 3 (2): e12. doi:10.1371/journal.ppat.0030012. PMC 1803002. PMID 17319740.[ลิงก์เสีย]
  16. Shiels PG; Kind AJ; Campbell KH; และคณะ (1999). "Analysis of telomere length in Dolly, a sheep derived by nuclear transfer". Cloning. 1 (2): 119–25. doi:10.1089/15204559950020003. PMID 16218837.
  17. Shiels PG; Kind AJ; Campbell KH; และคณะ (1999). "Analysis of telomere lengths in cloned sheep". Nature. 399 (6734): 316–7. Bibcode:1999Natur.399..316H. doi:10.1038/20580. PMID 10360570.
  18. Was Dolly already 'old' at birth?
  19. Sinclair, K. D.; Corr, S. A.; Gutierrez, C. G.; Fisher, P. A.; Lee, J.-H.; Rathbone, A. J.; Choi, I.; Campbell, K. H. S.; Gardner, D. S. (26 July 2016). "Healthy ageing of cloned sheep". Nature Communications (ภาษาอังกฤษ). p. 12359. doi:10.1038/ncomms12359.
  20. Klein, Joanna (26 July 2016). "Dolly the Sheep's Fellow Clones, Enjoying Their Golden Years". The New York Times. สืบค้นเมื่อ 27 July 2016.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]