เอ็ม. ไนท์ ชยามาลาน
เอ็ม. ไนท์ ชยามาลาน | |
![]() | |
ชื่อเกิด | มาโนช เนลลิยัตตู ศยามาลาน (Manoj Nelliyattu Shyamalan) |
เกิด | 6 สิงหาคม ค.ศ. 1970 (49 ปี) ปอนดิเชอริ ประเทศอินเดีย |
อาชีพ | ผู้กำกับภาพยนตร์, นักเขียนบทภาพยนตร์, ผู้อำนวยการสร้างภาพยนตร์, นักแสดง |
ผลงานเด่น | ค.ศ. 1992–ปัจจุบัน |
รางวัลออสการ์ | |
---|---|
เข้าชิง – ผู้กำกับภาพยนตร์ยอดเยี่ยม, บทภาพยนตร์ยอดเยี่ยม 1999 – The Sixth Sense | |
ข้อมูลบนเว็บ IMDb | |
เว็บทางการ |
เอ็ม. ไนท์ ชยามาลาน (อังกฤษ: M. Night Shyamalan; ฮินดี: एम. नाइट श्यामलन) มีชื่อเต็มว่า มาโนช เนลลิยัตตู ศยามาลาน (Manoj Nelliyattu Shyamalan; मनोज नाइट श्यामलन) ผู้กำกับภาพยนตร์ชาวอเมริกัน เชื้อสายอินเดีย เกิดเมื่อวันที่ 6 สิงหาคม ค.ศ. 1970 ที่เมืองปอนดิเชอริ ประเทศอินเดีย ในครอบครัวที่มีพ่อและแม่เป็นแพทย์ แต่มาเติบโตและใช้ชีวิตอยู่ที่เมืองฟิลาเดลเฟีย ประเทศสหรัฐอเมริกา
ชยามาลานมีความสนใจในศาสตร์ด้านภาพยนตร์มาตั้งแต่เล็กแล้ว ในวัยเด็กและวัยรุ่น ชยามาลานมักจะถ่ายทำภาพยนตร์ด้วยตนเอง โดยเขียนบทและแสดงเอง[1]
ชยามาลาน เป็นที่รู้จักจากการเป็นผู้กำกับและเขียนบทภาพยนตร์เรื่อง The Sixth Sense ในปี ค.ศ. 1999 ซึ่งก็เป็นภาพยนตร์ที่โด่งดังและเป็นที่กล่าวขานอย่างมากในปีนั้น และต่อมาได้รับการเสนอชื่อชิงรางวัลออสการ์ถึง 6 สาขาด้วยกัน ได้แก่ ภาพยนตร์ยอดเยี่ยม, ผู้กำกับยอดเยี่ยม, ดาราประกอบชายยอดเยี่ยม, ดาราประกอบหญิงยอดเยี่ยม, บทภาพยนตร์ดั้งเดิมยอดเยี่ยม, ตัดต่อยอดเยี่ยม แม้จะไม่ได้เลยสักรางวัล แต่ก็ได้สร้างชื่อให้แก่ชยามาลานและนักแสดงในเรื่องเป็นอย่างมาก
The Sixth Sense เป็นภาพยนตร์ในการกำกับเรื่องที่ 3 ของชยามาลานเท่านั้น ซึ่งประสบความสำเร็จอย่างมากทั้งรายได้ในการเข้าฉายและคำวิจารณ์ แต่ภาพยนตร์เรื่องต่อมา คือ Unbreakable ในปี ค.ศ. 2000 ที่ดำเนินเรื่องราวตามแบบ The Sixth Sense กลับไม่ประสบความสำเร็จเลย ทั้งรายได้และคำวิจารณ์
เอ็ม. ไนท์ ชยามาลาน เป็นผู้กำกับที่มีสไตล์เป็นตัวของตัวเอง ภาพยนตร์ทุกเรื่องของเขาจะเขียนบทเอง และอำนวยการสร้างเอง รวมทั้งจะร่วมแสดงเองด้วย โดยจะเป็นตัวประกอบในฉาก และเรื่องราวทุกเรื่องจะเกิดในเมืองฟิลาเดลเฟียเมืองที่เขาเติบโตขึ้น แต่ผลงานหลังจาก The Sixth Sense แล้ว ชยามาลานไม่ประสบความสำเร็จเลยในเรื่องของคำวิจารณ์ เพราะภาพยนตร์ทุกเรื่องดำเนินในสไตล์ The Sixth Sense ตลอด นักวิจารณ์หลายคนเห็นตรงกันว่า เขาพยายามเลียนแบบอัลเฟร็ด ฮิตช์ค็อก ผู้กำกับที่ได้ชื่อว่าเป็น "ราชาหนังเขย่าขวัญ" มากเกินไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งภาพยนตร์เรื่อง Lady in the Water ในปี ค.ศ. 2006 มีชื่อเข้าชิงรางวัลราสซี่อวอร์ด หรือรางวัลยอดแย่แห่งปี ถึง 3 รางวัลด้วยกันคือ ภาพยนตร์ยอดแย่, ผู้กำกับยอดแย่ และนักแสดงประกอบชายยอดแย่ ที่ชยามาลานรับบทนี้เอง และ The Happening ก็ติดอันดับอยู่ในอันดับ 8 ของภาพยนตร์ยอดแย่ตลอดกาลของนิตยสาร เอ็มไพร์[2] [3]
อ้างอิง[แก้]
- ↑ สารคดีในดีวีดีเรื่อง The Village โดย ซีวีดี อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด
- ↑ ""Batman and Robin" ถูกโหวตเป็นหนังยอดแย่ที่สุดตลอดกาล". ผู้จัดการออนไลน์.
- ↑ M. Night Shyamalan "M. Night Shyamalan" Check
|url=
value (help). hollywood.
แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]
![]() |
คอมมอนส์ มีภาพและสื่อเกี่ยวกับ: เอ็ม. ไนท์ ชยามาลาน |
|