ผูกกระดิ่งแมว

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก เอากระดิ่งไปแขวนคอแมว)
ภาพวาดโดย Gustave Doré จากเรื่อง La Fontaine's fable ประมาณ ค.ศ. 1868

ผูกกระดิ่งแมว (อังกฤษ: Belling the Cat) เป็นนิทานสอนใจที่กล่าวถึงพวกกลุ่มหนูที่ตกลงกันว่าจะต้องติดกระพรวนที่คอแมวเพื่อเป็นการเตือนภัยแก่พวกตนเมื่อมันเข้ามาใกล้ แต่ไม่อาจหาอาสาสมัครไปดำเนินการตามที่ตกลงกันได้ ชื่อนิทานนี้กลายเป็นสำนวนใช้กล่าวถึงการที่กลุ่มตกลงกันทำสิ่งที่ทำได้ยากหรือเป็นไปไม่ได้[1]

แม้ว่านิทานเรื่องนี้จะถูกกล่าวอ้างว่าเป็นของอีสป แต่ว่าเรื่องราวไม่เคยถูกบันทึกจนกระทั่งถึงยุคกลางและมักถูกนำไปปะปนกับนิทานคลาสสิคที่แตกต่างกันอย่างมาก เรื่อง เรื่องแมวและหนู [en] ในระบบจำแนกนิทานสอนใจโดย B. E. Perry กำหนดหมายเลขประจำเรื่องไว้ที่ 613 ซึ่งเป็นเลขสงวนไว้สำหรับเรื่องยุคกลางนอกจากนิทานอีสป[2]

โครงเรื่องและการใช้เป็นสำนวน[แก้]

นิทานกล่าวถึงกลุ่มของหนูที่อภิปรายกันถึงวิธีการจัดการต่อภัยคุกคามของแมวร้ายตัวหนึ่ง หนูตัวหนึ่งเสนอให้ผูกกระพรวนไว้ที่คอของแมวตัวนั้น เพื่อเหล่าหนูทั้งหลายได้ยินเสียงเมื่อแมวย่างกรายเข้ามาใกล้ แผนการนี้ได้รับการสดุดียอมรับจากหนูตัวอื่น จนกระทั่งมีหนูอีกตัวหนึ่งถามว่าใครจะเป็นอาสาสมัครไปผูกกระดิ่งที่แมวนั่น หนูทุกตัวต่างมีข้ออ้างหรือข้อแก้ตัวของตน เรื่องนี้สอนให้รู้ว่าพึงประเมินแผนการไม่ใช่เพียงที่ผลลัพธ์อันพึงประสงค์แต่ให้ประเมินว่าจะสามารถทำตามแผนได้หรือไม่ เรื่องนี้ให้บทเรียนทางศีลธรรมเกี่ยวกับความแตกต่างของแนวคิด ความเป็นไปได้ และผลของมันต่อคุณค่าของแผนการ[3]

เรื่องนี้เป็นที่มาของสำนวน เอากระดิ่งไปแขวนคอแมว (to bell the cat) หมายความว่าพยายามหรือตกลงที่จะทำสิ่งที่ยากมากเหมือนเป็นไปไม่ได้[4] ในประวัติศาสตร์ 'Bell the Cat' มักถูกกล่าวอ้างว่าเป็นชื่อเล่นของขุนนางเก่าแก่ชาวสก็อต Archibald Douglas, 5th Earl of Angus [en] สำหรับการที่เขามีส่วนร่วมในการจับตัวและประหาร Thomas (Robert) Cochrane [en] คนโปรดของเจมส์ที่สาม หลักฐานการใช้คำนี้ที่เก่าแก่ที่สุดอยู่ในประวัติของ Douglas ที่แต่งโดย Godscroft ตีพิมพ์เมื่อ ค.ศ. 1644[5] ดังนั้น คำกล่าวนี้จึงเป็นสำนวนจากคริสตศตวรรษที่ 17 มากกว่าที่จะเป็นคริสตศตวรรษที่ 15[6]

การกล่าวถึงนิทานอีสปในภาษาอังกฤษครั้งแรกเกิดขึ้นใน ค.ศ. 1687 โดย John Ogilby [en] โดยมีหลักฐานเป็นภาพพิมพ์แกะไม้ (งานแกะไม้โดย Francis Barlow) ที่มีข้อความสิบบรรทัดของ Aphra Behn จบลงด้วยข้อสรุปว่า:

Good Councell's easily given, but the effect
Oft renders it uneasy to transact.[7]

อ้างอิง[แก้]

  1. Strouf, Judie L. H. (2005). The literature teacher's book of lists. Jossey-Bass. p. 13. ISBN 0787975508.
  2. Ben Edwin Perry (1965). Babrius and Phaedrus. Loeb Classical Library. Cambridge, MA: Harvard University Press. pp. 545, no. 613. ISBN 0-674-99480-9.
  3. "Belling The Cat". Fables of Aesop (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2016-07-05. สืบค้นเมื่อ 2021-03-04.
  4. "To Bell the Cat" thefreedictionary.com. Retrieved 9 November 2007.
  5. David Reid, David Hume of Godscroft's History of the House of Angus, vol. 1 (STS: Edinburgh, 2005), p. 26.
  6. Macdougall, Norman (1982). James III: A Political Study. Edinburgh: John Donald. pp. 287–8. ISBN 0859760782.
  7. "21. De cato et muribus (1687), illustrated by Francis Barlow". Mythfolklore.net. สืบค้นเมื่อ January 26, 2011.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

  • วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ Belling the Cat
  • นิยามแบบพจนานุกรมของ Belling the Cat ที่วิกิพจนานุกรม