เรือบรรทุกอากาศยานชินาโนะ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ชินาโนะ ระหว่างการแล่นทดสอบในทะเลในอ่าวโตเกียว
ประวัติ
A flag bearing a stylised red sunburst symbol on a white background.จักรวรรดิญี่ปุ่น
ชื่อชินาโนะ
ตั้งชื่อตามแคว้นชินาโนะ
อู่เรืออู่ทหารเรือโยโกซูกะ
ปล่อยเรือ4 พฤษภาคม ค.ศ. 1940
เดินเรือแรก5 ตุลาคม ค.ศ. 1944
เข้าประจำการ19 พฤศจิกายน ค.ศ. 1944
ความเป็นไปอับปางโดยเรือดำน้ำ ยูเอสเอส อาร์เชอร์-ฟิช ในวันที่ 29 พฤศจิกายน ค.ศ. 1944
ลักษณะเฉพาะ
ชั้น: ยามาโตะ
ประเภท: เรือบรรทุกอากาศยาน
ขนาด (ระวางขับน้ำ): 65,800 ตัน[A 1] (มาตรฐาน)
69,191 ตัน (เต็มที่)[1]
ความยาว: 872 ฟุต 2 นิ้ว (265.8 เมตร)[1]
ความกว้าง:

[แนวน้ำ] 127 ฟุต 7 นิ้ว (38.9 เมตร)

[ลานบิน] 131 ฟุต 3 นิ้ว (40 เมตร)
กินน้ำลึก: 33 ฟุต 10 นิ้ว (10.3 เมตร)[1]
ระบบพลังงาน: 150,000 แรงม้า (110,000 kW)[2]
ระบบขับเคลื่อน: กังหันไอน้ำ × 4[1]
หม้อน้ำแบบคัมปงใช้น้ำมันเป็นเชื้อเพลิง × 12[1]
เพลา × 4[1]
ความเร็ว: 27 นอต (50 กม./ชม.)[1]
พิสัยเชื้อเพลิง: 10,000 ไมล์ทะเลที่ความเร็ว 27 นอต[1]
อัตราเต็มที่: 2,400 นาย[3]
ยุทโธปกรณ์: 16 × ปืนสองประสงค์ 127 มม. (5 นิ้ว)[3]
145 × 25 มม. (1 นิ้ว) แบบ 96 AA[3]
12 × จรวดต่อต้านอากาศยาน 28-ลำกล้อง 127 มม. (5 นิ้ว)[3]
เกราะ:
  • กราบเรือ: 20.5 ซm (8.1 in)[4]
  • ดาดฟ้า: 19 ซm (7.5 in) (ดาดฟ้าเก็บเครื่องบิน)[5]; 8 ซm (3.1 in) (ดาดฟ้าบิน)[6]
อากาศยาน: 47 ลำ
หมายเหตุ: ดัดแปลงเป็นเรือบรรทุกเครื่องบิน (หลังจากการเสียเรือบรรทุกเครื่องบินถึง 4 ลำ)

ชินาโนะ (ญี่ปุ่น: 信濃) ได้ชื่อตามแคว้นโบราณของญี่ปุ่น ชินาโนะ เป็นเรือบรรทุกอากาศยานของกองทัพเรือจักรวรรดิญี่ปุ่นระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง เดิมได้รับการวางกระดูกงูเรือเป็นลำที่ 3 ในเรือประจัญบานชั้นยามาโตะ ตัวเรือที่เสร็จสมบูรณ์บางส่วนของชินะโนะถูกเปลี่ยนเป็นเรือบรรทุกอากาศยานใน ค.ศ. 1942 ระหว่างสร้างเสร็จไปได้ครึ่งหนึ่ง เป็นเวลากว่าสองปีที่ชินะโนะได้รับการปรับปรุงขนานใหญ่เพื่อให้ปฏิบัติหน้าที่เป็นเรือบรรทุกอากาศยานสนับสนุนขนาดใหญ่ เมื่อสร้างเสร็จแล้ว เรือชินะโนะมีระวางขับน้ำเต็มที่ 73,000 ตัน นับเป็นเรือบรรทุกอากาศยานที่มีขนาดใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยสร้างมา ณ เวลานั้น

การออกแบบและการสร้าง[แก้]

อาวุธยุทธภัณฑ์[แก้]

การขึ้นระวางประจำการและการอับปาง[แก้]

วันที่ 19 พฤศจิกายน ค.ศ. 1944 ชินะโนะได้ขึ้นระวางประจำการอย่างเป็นทางการที่เมืองโยะโกะซุกะ ซึ่งก่อนหน้านั้นมีเวลาเพียงสองสัปดาห์เพื่อเตรียมเรือประจำการและสำหรับการทดสอบเรือเล็กๆ น้อยๆ[7] โดยในวันที่ 1 ตุลาคม ลูกเรือได้รายงานต่อคณะกรรมการว่าลูกเรือร้อยละ 70 - 75 ไม่มีประสบการณ์เดินเรือในทะเลมาก่อน[8] จากความกังวลที่เพิ่มขึ้นในความปลอดภัยของเรือเนื่องมาจากมีการบินผ่านของเครื่องบินทิ้งระเบิดของสหรัฐ ดังนั้นกองทัพเรือญี่ปุ่นจึงมีคำสั่งให้ชินะโนะเดินทางไปเมืองคุเระเพื่อเตรียมเรือประจำการในส่วนที่เหลือที่นั่น[7] คำสั่งของกองทัพเรือต้องการใช้ชินะโนะออกเดินทางไปยังคุระไม่เกินวันที่ 28 พฤศจิกายน แต่ผู้บังคับการเรือ นาวาเอกโทะชิโอะ อะเบะ (Toshio Abe) ได้ร้องขอให้วันแล่นเรือยืดออกไป ประตูผนึกน้ำส่วนใหญ่ยังไม่ได้ติดตั้ง อุปกรณ์ทดสอบคุณภาพอากาศยังไม่ได้รับการจัดการ ยังมีรูจำนวนมากที่เว้นว่างไว้สำหรับสายไฟ ช่องอากาศและท่ออากาศยังไม่ได้ปิดผนึก[3] ไม่มีทั้งระบบท่อน้ำดับเพลิงและระบบระบายน้ำที่เสร็จสมบูรณ์ เช่น เครื่องสูบน้ำยังไม่ได้ส่งมอบ[8] และเขายังต้องการเวลาเพื่อฝึกลูกเรือใหม่[9]

คำขอของอะเบะถูกปฏิเสธ ชินะโนะออกเดินทางตามกำหนดการเมื่อเวลา 18:00 น. ในวันที่ 28 พฤศจิกายน โดยมีเรือพิฆาต อิโซะกะเซะ (Isokaze) ยุจิกะเซะ (Yukikaze) และ ฮะมะกะเซะ (Hamakaze) เป็นเรือคุ้มกัน

การวิเคราะห์เรื่องการอับปางหลังสงคราม[แก้]

เชิงอรรถ[แก้]

  1. "ตัน" ในบทความนี้ไม่ใช่เมตริกตัน แต่เป็น Long ton ที่มีขนาดเท่ากับ 2,240 ปอนด์ (1,016 กก.)

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 1.5 1.6 1.7 อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ Preston84
  2. Ford, Roger (2001) The Encyclopedia of Ships, pg. 404. Amber Books, London. ISBN 9781905704439
  3. 3.0 3.1 3.2 3.3 3.4 อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ ShinanoClass
  4. Ford, Roger (2001) The Encyclopedia of Ships, pg. 404. Amber Books, London. ISBN 9781905704439
  5. Ford, Roger (2001) The Encyclopedia of Ships, pg. 404. Amber Books, London. ISBN 9781905704439
  6. Ford, Roger (2001) The Encyclopedia of Ships, pg. . Amber Books, London. ISBN 9781905704439
  7. 7.0 7.1 อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ cfrecord
  8. 8.0 8.1 Battleships: axis and neutral battleships in World War II, William H. Garzke and Robert O. Dulin, Naval Institute Press 1985, ISBN 087-021-101-3, pages 78–84
  9. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ SeaAssault
  • Preston, Anthony (1999). The World's Great Aircraft Carriers. Brown Books. ISBN 1897884583.
  • "Reports of the US Naval Technical Mission to Japan, Ship and Related Targets" (PDF). United States Naval Technical Institute. January 1946. สืบค้นเมื่อ 2009-01-28.
  • Reynolds, Clark G. (1968). The Fast Carriers; The Forging of an Air Navy. New York, Toronto, London, Sydney: McGraw-Hill Book Company.
  • Wheeler, Keith (1980). War Under the Pacific. Time-Life Books. ISBN 0809433761.
  • Enright, Joseph F.; Ryan, James W. (2000). Shinano: The Sinking of Japan's Secret Supership. St. Martin's Paperbacks. ISBN 0312977468.
  • Ford, Roger; Gibbons, Tony; Hewson, Rob; Jackson, Bob; Ross, David (2001). The Encyclopedia of Ships. London: Amber Books, Ltd. p. 404. ISBN 978-1-905704-43-9.{{cite book}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]