ดินแดนในเรื่องพระอภัยมณี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก เมืองการเวก)
แผนที่ทะเลอันดามัน เทียบกับสถานที่ในเรื่อง พระอภัยมณี

สำหรับ ดินแดนในเรื่องพระอภัยมณี อันเป็นผลงานประพันธ์ของสุนทรภู่นั้น มีความโดดเด่นที่น่าสนใจอย่างยิ่ง เนื่องจากการวางตำแหน่งเมืองและสถานที่ต่าง ๆ ในท้องเรื่องอย่างมีหลักการ ประหนึ่งว่าผู้ประพันธ์มีแผนที่อยู่ในมือ เหตุการณ์ส่วนใหญ่ในเรื่อง พระอภัยมณี เกิดขึ้นในท้องทะเล นักวิชาการหลายคนต่างวิเคราะห์ข้อมูลและนำเสนอว่า ทะเลในเรื่องพระอภัยมณี คือทะเลอันดามัน มิใช่อ่าวไทย[1][2] นอกจากนี้ ผู้ประพันธ์ยังจินตนาการถึงเมืองและสถานที่ของชนชาติต่าง ๆ มากมายนอกเหนือจากชาวไทย เช่น เมืองของชาวจีน (กึงตั๋งกังจิ๋วจุนติ๋วเซียง) แขก (อรุมเขตคุ้งสุหรัดปัตหนา ไปปะหังปังกะเราะเกาะชวา มะละกากะเลหวังตรังกะนู) จาม (อัดแจจามข้ามหน้ามลายู) ฝรั่ง วิลันดา (ฝรั่งข้ามฟากเข้าอ่าวเยียระมัน ที่บางเหล่าก็เข้าอ่าววิลาส) พราหมณ์ พม่า มอญ และอื่น ๆ อีกมากมาย

รายชื่อดินแดนในเรื่องพระอภัยมณี[แก้]


กรุงรัตนา[แก้]

เป็นบ้านเกิดเมืองนอนของพระอภัยมณีและศรีสุวรรณ เป็นสถานที่เปิดเรื่องของกลอนนิทานเรื่องนี้ เจ้าเมืองคือท้าวสุทัศน์ เป็นพระบิดาของพระอภัยมณีและศรีสุวรรณ เชื่อว่าเมืองรัตนานี้น่าจะหมายถึงกรุงรัตนโกสินทร์ เป็นจุดเริ่มต้นการผจญภัยของพระอภัยมณีและศรีสุวรรณ

เมืองรมจักร[แก้]

เจ้าเมืองคือท้าวทศวงศ์ มีราชธิดาคือนางเกษรา ตำแหน่งของเมืองอยู่ไม่ไกลจากบริเวณที่พระอภัยมณีถูกนางผีเสื้อสมุทรลักตัวไป รวมถึงประชาชนพลเมืองก็เป็นชาวไทย จึงน่าจะอยู่บนคาบสมุทรเดียวกันกับเมืองรัตนา

เกาะแก้วพิสดาร[แก้]

เป็นเกาะเล็กๆ อยู่กลางมหาสมุทรที่ห่างไกล บนเกาะมีพระฤๅษีอาศัยอยู่ นักเดินทางที่เรือแตกเพราะพายุหรือถูกโจรสลัดปล้นชิง จะมาขออาศัยอยู่ที่เกาะนี้

เมืองผลึก[แก้]

เจ้าเมืองคือท้าวสิลราช กับพระนางมณฑา มีราชธิดาองค์เดียวคือนางสุวรรณมาลี เมืองนี้ตั้งอยู่ริมทะเลแห่งหนึ่ง ตรงข้ามกับเกาะลังกา ตามการวิเคราะห์ของกาญจนาคพันธ์เห็นว่าน่าจะอยู่ราวพม่าใต้ แถวๆเมืองถลาง (ภูเก็ต)

เมืองการเวก[แก้]

เมืองลังกา[แก้]

คาดว่าอาจจะเป็นศรีลังกา

เกาะนาควาริน[แก้]

อาจจะเป็นหมู่เกาะนิโคบาร์

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. กาญจนาคพันธุ์. ภูมิศาสตร์สุนทรภู่. บริษัท ต้นอ้อ แกรมมี่ จำกัด. พ.ศ. 2540. ISBN 974-540-925-1
  2. สุจิตต์ วงษ์เทศ. พระอภัยมณีมีฉากอยู่ทะเลอันดามัน อ่าวเบงกอล และมหาสมุทรอินเดีย. นิตยสาร ศิลปวัฒนธรรม. ปีที่ 15 ฉบับที่ 8 มิถุนายน 2537