เพนกวินฮุมบ็อลท์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก เพนกวินฮัมโบลต์)
เพนกวินฮุมบ็อลท์
สถานะการอนุรักษ์
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Animalia
ไฟลัม: Chordata
ไม่ได้จัดลำดับ: Archosauria
ชั้น: Aves
อันดับ: Sphenisciformes
วงศ์: Spheniscidae
สกุล: Spheniscus
สปีชีส์: S.  humboldti
ชื่อทวินาม
Spheniscus humboldti
Meyen, 1834
แผนที่แสดงการกระจายพันธุ์ของเพนกวินฮุมบ็อลท์
Spheniscus humboldti

เพนกวินฮุมบ็อลท์ หรือ เพนกวินเปรู (อังกฤษ: Humboldt penguin, Peruvian penguin) หรือ ปาตรังกา (สเปน: Patranca) เป็นเพนกวินชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Spheniscus humboldti

จัดเป็นเพนกวินขนาดกลาง มีความสูงเมื่อโตเต็มที่ประมาณ 40 เซนติเมตร น้ำหนักประมาณ 5 กิโลกรัม เมื่อโตเต็มที่มีจุดเด่นคือ มีสีดำคาดที่หน้าอก บริเวณใต้คอและรอบดวงตาสีขาว จะงอยปากเป็นเนื้อสีชมพู

พบกระจายพันธุ์อยู่บริเวณชายฝั่งทะเลด้านมหาสมุทรแปซิฟิกในทวีปอเมริกาใต้ทางแถบประเทศเปรูและชิลี และถือว่าเป็นเพนกวินเพียงชนิดเดียวที่สามารถพบได้ในพื้นที่แห้งแล้งอย่างทะเลทราย [2]ออกลูกเป็นไข่ครั้งละ 2 ฟอง อาศัยอยู่บริเวณชายฝั่งและโขดหินริมทะเล โดยตัวผู้เป็นฝ่ายกกไข่ ทำรังด้วยการขุดโพรงตามพุ่มไม้หรือป่าละเมาะริมทะเล สร้างรังด้วยก้อนหิน กิ่งไม้หรือใบไม้ เป็นสัตว์สังคมอยู่เป็นฝูงเล็ก ๆ ติดต่อสื่อสารกันด้วยเสียงร้อง [3] ลูกเพนกวินฮุมบ็อลท์ที่ยังช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ เมื่อพ่อแม่นกมิได้อยู่ดูแล จะมีการป้องกันตัวเองด้วยการถ่ายมูลใส่ผู้คุกคามหรือหันหลังถีบเศษหินเศษกรวดใส่[2]

เพนกวินชนิดนี้นิยมเลี้ยงกันตามสวนสัตว์ ในประเทศไทย มีการเลี้ยงที่สวนสัตว์ดุสิต สวนสัตว์สงขลา และสวนสัตว์เปิดเขาเขียว เป็นต้น[4][5]

อ้างอิง[แก้]

  1. Birdlife International, 2005
  2. 2.0 2.1 "สุดยอดสารคดีโลก: ล้วงลับชีวิตเพนกวิน ตอน ย่างก้าวแรก". ไทยพีบีเอส. 19 May 2014. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-07-02. สืบค้นเมื่อ 20 May 2014.
  3. "นกเพนกวินฮุมบ็อลท์". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-02-24. สืบค้นเมื่อ 2011-01-04.
  4. เผยโฉมลูกนกเพนกวินฮุมบ็อลท์ต้อนรับเทศกาลคริสต์มาสและปีใหม่
  5. [ลิงก์เสีย] เขาดินมอบเพนกวิน 2 คู่ ให้สวนสัตว์สงขลาเป็นของขวัญปีใหม่ จากผู้จัดการออนไลน์

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ Spheniscus humboldti ที่วิกิสปีชีส์