เซนต์แอนดรูส์ (สนามกีฬา)

พิกัด: 52°28′32.53″N 1°52′05.48″W / 52.4757028°N 1.8681889°W / 52.4757028; -1.8681889
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก เซนต์แอนดรูว์)
เซนต์แอนดรูส์
แผนที่
พิกัด52°28′32.53″N 1°52′05.48″W / 52.4757028°N 1.8681889°W / 52.4757028; -1.8681889
ความจุ
การก่อสร้าง
ลงเสาเข็ม1906
ปรับปรุง1993–1999

เซนต์แอนดรูส์ (อังกฤษ: St. Andrews) เป็นสนามฟุตบอลในเขตบอร์เดสลีย์ของเมืองเบอร์มิงแฮม ประเทศอังกฤษ เป็นสนามเหย้าของสโมสรฟุตบอลเบอร์มิงแฮมซิตีมากว่าศตวรรษ ในปี 2018 ถึง 2021 สนามแห่งนี้เป็นที่รู้จักในชื่อ St. Andrew's Trillion Trophy Stadium[2]

สร้างขึ้นและเปิดในปี 1906 เพื่อแทนที่สนาม มันตซ์ สทรีท์ ซึ่งมีขนาดเล็กเกินไปที่จะตอบสนองความต้องการของสโมสร สนามเซนต์แอนดรูส์ดั้งเดิมสามารถจุผู้ชมได้ประมาณ 75,000 คน แต่ในระหว่างปี 1906 ถึง 1939 มีการก่อสร้างจำนวนมากเกิดขึ้นภายในสนาม และความจุอย่างเป็นทางการกำหนดไว้ที่ 68,000 คน เมื่อเริ่มต้นฤดูกาล 1938-39 ในศึกเอฟเอคัพปี 1939 ที่เสมอกับเอฟเวอร์ตัน มีการบันทึกการเข้าชมซึ่งบันทึกไว้หลากหลาย เช่น ผู้ชม 66,844 คน หรือ 67,341 คน ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง เซนต์แอนดรูส์ได้รับความเสียหายจากระเบิด[3] ในคริสต์ทศวรรษ 1950 สโมสรได้ติดตั้งไฟฟลัดไลต์ และมีหลังคาเหนือระเบียงที่เปิดโล่ง แต่ก็มีการเปลี่ยนแปลงเพิ่มเติมอีกเล็กน้อย

ประวัติ[แก้]

อดีตสนาม[แก้]

ในอดีต สมอลล์ฮีธอัลลิอันซ์ เป็นชื่อเดิมของสโมสรฟุตบอลเบอร์มิงแฮมซิตี พวกเขาเล่นในบ้านนัดแรกในสนาม Arthur Street ในย่าน Bordesley Green ของเมืองเบอร์มิงแฮม ใกล้กับสถานที่ที่จะสร้างเซนต์แอนดรูส์ ในปี 1876 สโมสรได้ย้ายไปสนามที่มีรั้วกั้นบนถนนเลดีพูล เขตสปาร์กบรูค เป็นการชั่วคราวโดยจุผู้ชมได้ประมาณ 3,000 คน เนื่องจากสนามถูกปิด จึงต้องเสียค่าเข้าชม ทำให้ความสนใจในทีมมีเพิ่มขึ้น และอีกหนึ่งปีต่อมาพวกเขาก็ย้ายสนามอีกครั้ง คราวนี้ไปที่สนามเช่าในสมอลล์ฮีธ ซึ่งตั้งอยู่ทางเหนือของถนนสายหลักสู่คอเวนทรี[4] สนามแห่งนี้ซึ่งกลายเป็นที่รู้จักในชื่อ Muntz Street เมื่อเปิดครั้งแรกสามารถจุผู้ชมได้ประมาณ 10,000 คน[4][5] ในช่วงหลายปีผ่านไปมีการยกพื้นระเบียงให้สูงขึ้น ซึ่งเพิ่มความจุให้จุผู้ชมได้ประมาณ 30,000 คน แต่ไม่เพียงพอต่อความต้องการ

คริสต์ศตวรรษที่ 21[แก้]

ด้วยเหตุผลด้านผู้สนับสนุน สนามจึงเปลี่ยนชื่ออย่างเป็นทางการเป็น St. Andrew's Trillion Trophy Stadium ในเดือนมิถุนายน 2018[2]

แหล่งข้อมูล[แก้]

  • Adams, Duncan (2007). A fan's guide to football grounds: England and Wales. Hersham: Ian Allan. ISBN 978-0-7110-3268-2.
  • Inglis, Simon (1996) [1985]. Football Grounds of Britain (3rd ed.). London: CollinsWillow. ISBN 0-00-218426-5.
  • Jawad, Hyder (2006). Keep Right On: The Official Centenary of St. Andrew's. Liverpool: Trinity Mirror Sport Media. ISBN 978-1-905266-16-6.
  • Lewis, Peter, บ.ก. (2000). Keeping right on since 1875. The Official History of Birmingham City Football Club. Lytham: Arrow. ISBN 1-900722-12-7.
  • Matthews, Tony (1995). Birmingham City: A Complete Record. Derby: Breedon Books. ISBN 978-1-85983-010-9.
  • Matthews, Tony (October 2000). The Encyclopedia of Birmingham City Football Club 1875–2000. Cradley Heath: Britespot. ISBN 978-0-9539288-0-4.
  • Rippon, Anton (2005). Gas Masks for Goal Posts. Football in Britain during the Second World War. Stroud: Sutton. ISBN 0-7509-4030-1.
  • Rollin, Jack (2005). Soccer at War 1939–45. London: Headline. ISBN 978-0-7553-1431-7.

อ้างอิง[แก้]

  1. "New to St. Andrew's?". Birmingham City F.C. สืบค้นเมื่อ 3 July 2022.
  2. 2.0 2.1 "St. Andrew's and Wast Hills naming rights". Birmingham City F.C. 14 June 2018. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-11-09. สืบค้นเมื่อ 7 April 2020.
    "Birmingham City: St Andrew's renamed 'St Andrew's Trillion Trophy Stadium'". BBC Sport. 14 June 2018. สืบค้นเมื่อ 14 July 2018.
  3. Inglis (1996), p. 45.
  4. 4.0 4.1 Beauchampé, Steve (26 December 2006). "100 years of St. Andrews – Part One". The Stirrer. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 December 2008. สืบค้นเมื่อ 1 December 2008.
  5. Matthews (1995), p. 57.