ข้ามไปเนื้อหา

อนุสรณ์สถานแด่ชาวยิวผู้ถูกสังหารในยุโรป

พิกัด: 52°30′50″N 13°22′44″E / 52.51389°N 13.37889°E / 52.51389; 13.37889
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อนุสรณ์สถานชาวยิวผู้ถูกสังหารในยุโรป
Denkmal für die ermordeten Juden Europas
ภาพมุมกว้างมองจากทางใต้
แผนที่
พิกัด52°30′50″N 13°22′44″E / 52.51389°N 13.37889°E / 52.51389; 13.37889
ที่ตั้งเบอร์ลิน ประเทศเยอรมนี
ผู้ออกแบบปีเตอร์ ไอเซนมัน
วัสดุคอนกรีต
เริ่มก่อสร้าง1 เมษายน 2003
สร้างเสร็จ15 ธันวาคม 2004
วันที่อุทิศ10 พฤษภาคม 2005
อุทิศแด่เหยื่อชาวยิวจากฮอโลคอสต์
เว็บไซต์stiftung-denkmal.de

อนุสรณ์สถานชาวยิวผู้ถูกสังหารในยุโรป (อังกฤษ: Memorial to the Murdered Jews of Europe,[1] เยอรมัน: Denkmal für die ermordeten Juden Europas) หรือ อนุสรณ์สถานฮอโลคอสต์ (เยอรมัน: Holocaust-Mahnmal) เป็นอนุสรณ์สถานในเบอร์ลินที่ระลึกถึงเหยื่อชาวยิวจากฮอโลคอสต์ ผลงานออกแบบโดย ปีเตอร์ ไอเซนมัน และ บูโร ฮัพโพลด์ มีขนาดพื้นที่รวม 19,000-ตารางเมตร (200,000-ตารางฟุต)[2][3] ซึ่งเต็มไปด้วยแผ่นคอนกรีต 2,711 ชิ้นที่วางเรียกกันเป็นรูปแบบกริด บนลานซึ่งมีความชัน แปลนเดิมตั้งใจจะสร้างแผ่นคอนกรีตรวม 4,000 แผ่น แต่หลังการคำนวณใหม่เพื่อให้เข้ากันได้กับกฎหมาย ปริมาณสูงสุดที่จะสร้างแผ่นคอนกรีตได้คือ 2,711 แผ่น แผ่นคอนกรีตเหล่านี้เรียกว่า สเตเล (stelae) และแต่ละแผ่นมีความขาว 2.38 m (7 ft 9 12 in) กว้าง 0.95 m (3 ft 1 12 in) และมีความสูงต่างกันไประหว่าง 0.2 ถึง 4.7 เมตร (8 นิ้ว ถึง 15 ฟุต 5 นิ้ว)[2] วางเรียงกันเป็นแถวรวม 54 แถวจากเหนือจรดใต้ และ 87 แถวในทิศตะวันออกจรดตะวันตก ทำมุมฉากกันแต่เอียงเล็กน้อย[4][5] ใต้ดินของอนุสรณ์สถานเป็น "สถานข้อมูล" (เยอรมัน: Ort der Information) ซึ่งแสดงรายชื่อชาวยิวราวสามล้านคนที่ถูกสังหารในฮอโลคอสต์ ซึ่งได้รับมาจากยัดวาเชมในอิสราเอล[6]

อนุสรณ์สถานเริ่มก่อสร้างขึ้นเมื่อ 1 เมษายน 2003 แล้วเสร็จนวันที่ 15 ธันวาคม 2004 มีพิธีเปิดเป็นทางการเมื่อ 10 พฆษภาคม 2005 หกสิบปีนับจากสงครามโลกครั้งที่สองสิ้นสุดในยุโรป ก่อนจะเปิดสู่สาธารณชนในอีกสองวันให้หลัง อนุสรณ์สถานตั้งอยู่ห่างไปจากประตูบรันเดนบวร์กหนึ่งช่อง ในย่านมิตเตอ ค่าใช้จ่ายก่อสร้างอยู่ที่ 25 ล้าน[7]

การตีความ

[แก้]

ตามข้อมูลโครงการของไอเซนมัน สเตเล (stelae) ถูกออกแบบและวางเรียงเพื่อให้เกิดความรู้สึกไม่สบายตัว (uneasy) สร้างบรรยากาศสับสน และประติมากรรมโดยรวมนั้นมีเป้าหมายเพื่อแสดงถึงระบบสั่งการที่ควรจะตัดขาดกับการให้เหตุผลของมนุษย์ (a supposedly ordered system that has lost touch with human reason)[8] การออกแบบนี้เป็นการท้าทายแนวคิดแบบธรรมเนียมเกี่ยวกับการสร้างอนุสรณ์สถาน เป็นต้นว่าจำนวนตัวเลขและการออกแบบล้วนไม่ได้มีความสำคัญเชิงสัญลักษณ์ใด ๆ[9][10]

กระนั้น มีผู้ตั้งข้อสังเกตว่าอนุสรณ์สถานมีความคล้ายคลึงกันกับสุสาน[11][12][13] ด้วยลักษณะเป็นนามธรรมของชิ้นงานนี้ทำให้สามารถตีความได้แตกต่างกันไป หนึ่งในการตีความที่พบบ่อยที่สุดคือการตีความเป็นสุสาน บ้างเปรยกับลักษณะของสุสานที่ศพถูกโยนลงในหลุมโดยไม่มีการระบุตัวตนใด ๆ[3] แม้ว่าแผ่นคอนกรีตแต่ละแผ่นจะมีขนาดใกล้เคียงกับโลงศพ แต่ไอเซนมันเองได้ออกมาปฏิเสธว่าไม่ได้มีความตั้งใจจะให้มันออกมาดูเหมือนโลงศพหรือหลุมศพใด ๆ[14]

การตอบรับ

[แก้]
เด็กชายกระโดดข้ามไประหว่างแผ่นคอนกรีตของอนุสรณ์สถาน

อนุสรณ์สถานนี้ถูกวิจารณ์ว่าระลึกถึงเพียงแต่เหยื่อฮอโลคอสต์ที่เป็นชาวยิว[15] กระนั้น นับจากอนุสรณ์สถานนี้เปิด ก็มีอนุสรณ์สถานแห่งอื่นที่ระลึกถึงกลุ่มเฉพาะที่เป็นเหยื่อจากฮอโลคอสต์และนาซีเกิดขึ้น เช่น อนุสรณ์สถานแด่คนรักร่วมเพศที่ถูกสังหารภายใต้ลัทธินาซี (ปี 2008) และอนุสรณ์สถานแด่เหยื่อชาวซินตีและชาวโรมาจากแนวคิดชาตินิยมสังคมนิยม (ปี 2012) มีผู้วิจารณ์จำนวนมากเสนอว่าการออกแบบอนุสรณ์สถานควรแสดงรายชื่อของเหยื่อไปจนถึงจำนวนของเหยื่อที่ถูกสังหารและสถานที่ที่มีการสังหารเหยื่อเหล่านี้

เนื่องจากบริเวณของอนุสรณ์สถานยังถูกใช้งานเป็นพื้นที่นันทนาการในย่านใจกลางนครเบอร์ลิน ทำให้มีความโกรธเคืองเกิดขึ้นเมื่อมีผู้พบเห็นการใช้งานอนุสรณ์สถานนี้อย่างสนุกสนานและมองว่าเป็นการดูหมิ่นสถานที่ นักวิจารณ์สถาปัตยกรรม นิโกไล อูรูสซอฟ ระบุว่า "วันที่ผมเดินทางไปเยือนอนุสรณ์นี้ [ผมพบกับ]เด็กชายวัยสองขวบกำลังเล่นอยู่บนยอดของเสา – พยายามที่จะปีนป่ายจากเสาหนึ่งไปอีกเสา ในขณะที่แม่ของเขาจับมือเด็กน้อยโดยเนิบ"[16] ในปี 2016 เกิดข้อครหาขึ้นหลังมีรายงานโดยมูลนิธิของอนุสรณ์สถานว่าแอปเกม Pokémon Go ใช้อนุสรณ์สถานนี้เป็นหนึ่งในจุดที่ผู้เล่นสามารถมาจับตัวโปเกม่อนได้[17] ผู้คนจำนวนมากโกรธเคืองกรณีนี้เพราะมองว่าเป็นการดูหมิ่นสถานที่[17] ในต้นปี 2017 ศิลปินชาวอิสราเอล ชาฮัก ชาปีรา สังเกตเห็นคนหนุ่มสาวจำนวนมากเผยแพร่ภาพบนสื่อสังคม เช่น เฟซบุ๊ก, อินสตาแกรม, ทินเดอร์ และ ไกรน์เดอร์ ด้วยภาพเซลฟีของตนด้วยใบหน้ายิ้มแย้มถ่ายที่อนุสรณ์สถานนี้ ไปจนถึงภาพถ่ายของตนทำโยคะ กระโดด หรือเต้นรำบนแผ่นคอนกรีตของอนุสรณ์สถาน เขาจึงทำการสร้างโครงการศิลปะซึ่งนำเอาภาพเหล่านี้ไปวางตัดกัน (juxtaposing) กับภาพถ่ายจากค่ายสังหารหมู่ของนาซี เพื่อเตือนให้ระลึกถึงพฤติกรรมไม่เหมาะสมที่อนุสรณ์สถานเช่นนี้ โดยเขาตั้งชื่อผลงานชุดนี้ว่า "Yolocaust"[18] ("โยโล่คอสต์" เป็นการเล่นคำโดยผสมคำว่า "โยโล่" เข้ากับฮอโลคอสต์)

อ้างอิง

[แก้]
  1. "Memorial to the Murdered Jews of Europe and Information Centre". สืบค้นเมื่อ 16 March 2022.
  2. 2.0 2.1 "The Memorial to the Murdered Jews of Europe – Field of Stelae". Foundation for the Memorial to the Murdered Jews of Europe. สืบค้นเมื่อ 4 February 2016.
  3. 3.0 3.1 Brody, Richard (12 July 2012). "The Inadequacy of Berlin's "Memorial to the Murdered Jews of Europe". The New Yorker.
  4. Spiegelman, Willard (16 July 2011). "The Facelessness of Mass Destruction". The Wall Street Journal.
  5. Tom L. Freudenheim (15 June 2005), Monument to Ambiguity The Wall Street Journal.
  6. "Information Centre · Yad Vashem Portal". Foundation for the Memorial to the Murdered Jews of Europe. สืบค้นเมื่อ 4 February 2016.
  7. "The Memorial to the Murdered Jews of Europe -History". Foundation for the Memorial to the Murdered Jews of Europe. สืบค้นเมื่อ 4 February 2016.
  8. "Peter Eisenman about the Memorial". Memorial to the Murdered Jews of Europe Foundation. สืบค้นเมื่อ 26 February 2021.
  9. Chin, Sharon; Franke, Fabian; Halpern, Sheri. "A Self-Serving Admission of Guilt: An Examination of the Intentions and Effects of Germany's Memorial to the Murdered Jews of Europe". Humanity in Action. สืบค้นเมื่อ 4 February 2016.
  10. "Editorial – A Holocaust memorial". The Japan Times. 14 May 2005. สืบค้นเมื่อ 4 February 2016.
  11. "Germany's Memorial – Germany's National Memorial to the Murdered Jews of Europe". PBS. 2012-07-12. สืบค้นเมื่อ 2013-02-27. The plan also gives the impression of a massive cemetery.
  12. Brody, Richard (12 July 2012). "The Inadequacy of Berlin's "Memorial to the Murdered Jews of Europe". The New Yorker. สืบค้นเมื่อ 2013-02-27. The memorial also evokes a graveyard for those who were unburied or thrown into unmarked pits, and several uneasily tilting stelae suggest an old, untended, or even desecrated cemetery.
  13. "Lost and found in European wanderings". Seattle Times. 2012-11-24. สืบค้นเมื่อ 2013-02-27. [...] memorial to the Holocaust by Peter Eisenman, the stones at odd angles like the cemetery in Prague.
  14. Mumma, Rachel (2018). "A Reaction to the Memorial to the Murdered Jews of Europe". University Scholars. Northwest University: 57–.
  15. "Press cool on Berlin memorial". BBC News. 2005-05-10. สืบค้นเมื่อ 2013-08-18.
  16. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ nytimes.com
  17. 17.0 17.1 Anderson, Emma (13 July 2016). "Please stop playing Pokemon at Germany's Holocaust sites". The Local.
  18. Oltermann, Philip (19 January 2017). "'Yolocaust' artist provokes debate over commemorating Germany's past". The Guardian.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]