หน้ากากอนามัย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
หน้ากากอนามัย

หน้ากากอนามัย (อังกฤษ: Surgical Mask) ตั้งใจให้วิชาชีพสุขภาพสวมใส่ระหว่างวิธีดำเนินการทางการแพทย์[1][2] ออกแบบมาเพื่อป้องกันการติดเชื้อในผู้ป่วยและบุคลากรที่ทำการรักษาโดยดักจับแบคทีเรียที่ติดมากับละอองฝอยเหลวและละอองลอยจากปากและจมูกของผู้สวม[3][4][5] ทั้งนี้ ไม่ได้ออกแบบมาเพื่อป้องกันผู้สวมใส่จากการสูดแบคทีเรียหรือไวรัสที่มาทางอากาศเพราะมีขนาดอนุภาคเล็กเกิน สำหรับโรคติดเชื้อบางชนิดเช่น ไข้หวัดใหญ่ ดูเหมือนว่าหน้ากากอนามัยมีประสิทธิภาพพอ ๆ กับ หน้ากาก N95 หรือ FFP[6] อย่างไรก็ตาม หน้ากากประเภท respirator จะให้การป้องกันที่ดีกว่าในการทดลองห้องปฏิบัติการ เนื่องจากวัสดุที่ใช้ทำ รูปทรงและการผนึกที่แน่นหนา[7][8]ช่วงปี พ.ศ. 2563 หน้ากากอนามัยกลายเป็นที่นิยมเป็นอย่างมากเนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อโควิด 19

ประเทศไทย[แก้]

มาตรฐานการใช้งานหน้ากากอนามัยทางการแพทย์ในไทย เรียกว่า มอก.2424-2562 มีผู้ผลิตหน้ากากอนามัยทางการแพทย์เพียงโรงงานเดียว นั่นคือ Welcare หนึ่งในผู้ผลิตหน้ากากอนามัยที่ได้รับ อย. มากกว่า 70 โรงงานผู้ผลิต [9]

อย่างไรก็ตาม มีข้อสงสัยถึงมาตรฐานของหน้ากากอนามัยทางการแพทย์ในไทย หลังผลการทดสอบจาก เฟซบุ้ค RUEE RMUTL หรือ หน่วยวิจัยสนามไฟฟ้าประยุกต์ในงานวิศวกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ได้เผยแพร่ผลการทดสอบของหน้ากากอนามัยบางยี่ห้อ ที่ได้รับมาตรฐาน อย. แต่ผลการทดสอบการกรองอนุภาคขนาดเล็ก ได้แสดงถึงประสิทธิภาพการกรอง ประมาณ 50-89% ในอนุภาค 0.1 ไมครอน ซึ่งมีประสิทธิภาพที่ต่ำกว่ามาตรฐานหน้ากากอนามัยทางการแพทย์ทั่วไป ซึ่งควรอยู่ที่ 94% ขึ้นไป [10][ต้องการแหล่งอ้างอิงดีกว่านี้]

อ้างอิง[แก้]

  1. Smith, Jeffrey D.; MacDougall, Colin C.; Johnstone, Jennie; Copes, Ray A.; Schwartz, Brian; Garber, Gary E. (17 May 2016). "Effectiveness of N95 respirators versus surgical masks in protecting health care workers from acute respiratory infection: a systematic review and meta-analysis". CMAJ : Canadian Medical Association Journal. 188 (8): 567–574. doi:10.1503/cmaj.150835. ISSN 0820-3946. PMC 4868605. PMID 26952529.
  2. "Advice on the use of masks the community, during home care and in health care settings in the context of the novel coronavirus (2019-nCoV) outbreak" (PDF). www.who.int (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2020-02-04.
  3. "Transmission-Based Precautions". U.S. Centers for Disease Control and Prevention (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2016-01-07. สืบค้นเมื่อ 2020-03-31.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  4. "Prevention of hospital-acquired infections" (PDF). World Health Organization (WHO). p. 45. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 26 March 2020.
  5. "Clinical Educators Guide: Australian Guidelines for the Prevention and Control of Infection in Healthcare". Australian National Health and Medical Research Council. December 2019. p. 20. สืบค้นเมื่อ 2020-03-30.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  6. Long, Y; Hu, T; Liu, L; Chen, R; Guo, Q; Yang, L; Cheng, Y; Huang, J; Du, L (13 March 2020). "Effectiveness of N95 respirators versus surgical masks against influenza: A systematic review and meta-analysis". Journal of Evidence-based Medicine. doi:10.1111/jebm.12381. PMC 7228345. PMID 32167245.
  7. "N95 Respirators and Surgical Masks - Blogs - CDC". CDC Blogs. 2009-10-14. สืบค้นเมื่อ 2020-04-29.
  8. Smith, JD; MacDougall, CC; Johnstone, J; Copes, RA; Schwartz, B; Garber, GE (17 May 2016). "Effectiveness of N95 respirators versus surgical masks in protecting health care workers from acute respiratory infection: a systematic review and meta-analysis". CMAJ : Canadian Medical Association Journal (Journal de l'Association Medicale Canadienne). 188 (8): 567–574. doi:10.1503/cmaj.150835. PMC 4868605. PMID 26952529.
  9. รายชื่อผู้ผลิตหน้ากากอนามัยทางการแพทย์ได้ที่นี่
  10. มาตราฐาน

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]