ข้ามไปเนื้อหา

แทรริชเซอร์ดูว์ดุกเดอแบรี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
แทรริชเซอร์ดูว์ดุกเดอแบรี
Très Riches Heures du Duc de Berry  
หน้าจากปฏิทิน “หนังสือกำหนดเทศกาล” เป็นภาพสมาชิกในบ้านของฌองดยุกแห่งแบร์รีแลกเปลี่ยนของขวัญวันปีใหม่ ตัวดยุกเองนั่งอยู่ทางขวาใส่เสื้อสีน้ำเงิน
ชื่อเรื่องต้นฉบับggg
หัวเรื่องหนังสือกำหนดเทศกาล
วันที่พิมพ์ราว ค.ศ. 1410
ชนิดสื่อหนังสือวิจิตร
หน้า416 หน้า

แทรริชเซอร์ดูว์ดุกเดอแบรี (ฝรั่งเศส: Très Riches Heures du Duc de Berry หรือ Très Riches Heures - หอสมุดแห่งพระราชวังชองตีย์, ชองตีย์, ฝรั่งเศส) เป็นชื่อหนังสือกำหนดเทศกาลที่ตกแต่งอย่างงดงาม เนื้อหาของหนังสือรวมบทสวดมนต์สำหรับสวดตามเวลาที่ระบุไว้ในบทบัญญัติทางศาสนา “แทรริชเซอร์ดูว์ดุกเดอแบรี” ที่ว่าจ้างให้เขียนโดยฌองดยุกแห่งแบร์รีเมื่อราว ค.ศ. 1410 อาจจะถือกันว่าเป็นหนังสือวิจิตรฉบับที่สำคัญที่สุดของคริสต์ศตวรรษที่ 15 -- “le roi des manuscrits enluminés” (ไทย: ราชาแห่งหนังสือวิจิตร)

แทรริชเซอร์ดูว์ดุกเดอแบรี” มีด้วยกัน 416 หน้าที่ 131 เป็นจุลจิตรกรรมขนาดใหญ่ และหน้าที่มีการตกแต่งขอบหรืออักษรตัวต้นประดิษฐ์อย่างงดงามอีกหลายหน้า แม้ว่าจะเป็นงานขนาดเล็กแต่ก็ถือว่าเป็นงานชิ้นสำคัญที่สุดชิ้นหนึ่งในสมัยที่รุ่งเรืองที่สุดของศิลปะกอธิคนานาชาติ อักษรประดิษฐ์มีด้วยกันทั้งสิ้น 300 ตัว หนังสือเล่มนี้เป็นหนังสือที่ใช้เวลาเขียนอยู่เกือบหนึ่งร้อยปี ในสามช่วงสำคัญๆ ที่นำโดยพี่น้องลิมบวร์ก, บาเธเลมี ฟาน เอค และฌอง โคลอมบ์ งานของพี่น้องลิมบวร์กเป็นงานที่มีฝีแปรงอันละเอียด และใช้สีที่มีราคาสูงในการเขียนภาพ

ปฏิทิน

[แก้]

ปฏิทินสมโภชน์และวันนักบุญเป็นตารางเวลาโดยทั่วไปไม่จำกัดเฉพาะปีใดปีหนึ่งที่มักจะวาดตกแต่งอย่างวิจิตร เป็นองค์ประกอบหลักของหนังสือกำหนดเทศกาล แต่ภาพประกอบของ “หนังสือแบร์รี” เป็นภาพที่มีคุณภาพที่เหนือกว่างานใดและครอบคลุมเนื้อหาที่ใหม่ออกไป ที่เป็นองค์ประกอบอันสำคัญของการตกแต่งหนังสือวิจิตร ภาพส่วนใหญ่จะแสดงปราสาทใดปราสาทหนึ่งของดยุกในฉากหลัง และเนื้อหาของภาพก็เต็มไปด้วยรายละเอียดอันน่าสนใจ และ เทศกาลหรือแรงงานประจำเดือนของตั้งแต่ตัวดยุกเองไปจนถึงของเกษตรกรในที่ดินของดยุก ที่คู่กับบทสวดมนต์ประจำชั่วโมง ตอนบนของภาพแต่ละภาพก็จะเป็นโค้งพระจันทร์ครึ่งซีกที่แสดงราชรถพระอาทิตย์, สัญลักษณ์ของจักรราศี, จำนวนวันในเดือนนั้น และปฏิทินจันทรคติ

ศิลปิน

[แก้]

ช่วงหลักของการเขียน “หนังสือแบร์รี” อยู่ราวระหว่าง ค.ศ. 1412 จนถึง ค.ศ. 1416 โดยพี่น้องลิมบวร์ก ตัวหนังสือ, การตกแต่งขอบ และ การติดทองอาจจะทำโดยผู้ช่วยหรือผู้เชี่ยวชาญที่ส่วนใหญ่ยังคงไม่ทราบว่าเป็นผู้ใด พี่น้องลิมบวร์กทิ้งงานเขียนค้างไว้และยังไม่ได้เย็บเป็นเล่มเมื่อดยุกมาเสียชีวิตลงในปี ค.ศ. 1416 ผู้รับผิดชอบคนต่อไปจากดยุกเป็นลูกพี่ลูกน้องกัน ผู้ที่รักงานศิลปะ และ เป็นจิตรกรสมัครเล่นเรอเนแห่งอองชูผู้จ้างให้จิตรกรผู้ไม่ทราบนามที่เรียกกันว่า “ปรมาจารย์แสงเงา” (Master of the Shadows) ที่สันนิษฐานกันว่าอาจจะเป็นบาเธเลมี ฟาน เอคทำการเขียนต่อไประหว่างคริสต์ทศวรรษ 1440 อีกสี่สิบปีต่อมาชาร์ลส์ที่ 1 ดยุกแห่งซาวอยก็จ้างฌอง โคลอมบ์ให้เขียนภาพจนเสร็จระหว่างปี ค.ศ. 1485 จนถึงปี ค.ศ. 1489.

ภาพเขียนที่เขียนโดยฌอง โคลอมบ์และ “ปรมาจารย์แสงเงา” เป็นภาพที่ง่ายต่อการระบุผู้เขียน โพยองทำรายการของผู้ที่เขียนแรกที่สุดที่เขียนภาพหลักไว้ดังนี้:[1]

  • มกราคม: จิตรกรประจำราชสำนัก
  • กุมภาพันธ์: the rustic painter
  • มีนาคม: the courtly painter (landscape) and the Master of the Shadows (figures)
  • เมษายน: จิตรกรประจำราชสำนัก
  • พฤษภาคม: จิตรกรประจำราชสำนัก
  • มิถุนายน: the rustic painter
  • กรกฎาคม: the rustic painter
  • สิงหาคม: จิตรกรประจำราชสำนัก
  • กันยายน: the rustic painter (ภูมิทัศน์) ? และ “ปรมาจารย์แสงเงา”
  • ตุลาคม: “ปรมาจารย์แสงเงา”
  • พฤศจิกายน: ฌอง โคลอมบ์
  • ธันวาคม: “ปรมาจารย์แสงเงา”

นอกจากจะระบุ “จิตรกรผู้เคร่งครัด” ผู้เขียนภาพเกี่ยวกับศาสนาหลายภาพในตอนปลายของการเขียนช่วงแรก “courtly painter”, “rustic painter” และ “pious painter” คงจะเป็นพี่น้องลิมบวร์กสามคน หรือจิตรกรผู้อื่นในห้องเขียนภาพของพี่น้อง

อ้างอิง

[แก้]
  1. Pognon, Edmond,Les Très Riches Heures du Duc de Berry, pp12-13, Liber, Geneva, 1987.

ดูเพิ่ม

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]

วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ แทรริชเซอร์ดูว์ดุกเดอแบรี

  • Château Chantilly
  • Commentary on the Calendar scenes
  • WebMuseum online exhibit of the Calendar scenes เก็บถาวร 2016-03-13 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  • "Alexander: Labeur and Paresse". สืบค้นเมื่อ 2009-01-01.
  • "Les Très Riches Heures du Duc de Berry". สืบค้นเมื่อ 2009-01-01.