ลัทธิขงจื๊อแบบบอสตัน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก ลัทธิขงจื่อแบบบอสตัน)

นักปรัชญาขงจื่อแบบบอสตัน เป็นกลุ่มของลัทธิขงจื่อสมัยใหม่จากบอสตัน ผู้ซึ่งเป็นที่รู้จักกันดีที่สุด คือ ตู้เหวยหมิงจากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด John Berthrong และ Robert Neville จากมหาวิทยาลัยบอสตัน ลัทธิขงจื่อแบบบอสตันเป็นการอภิปรายในประเด็นของการศึกษาและปฏิบัติเกี่ยวกับลัทธิขงจื่อในบริบทที่อยู่นอกเหนือจากประเทศจีนและภูมิภาคเอเชียตะวันออก อันเป็นนัยยะสำคัญของลัทธิขงจื่อสำหรับวิถีชีวิตชาวอเมริกันยุคใหม่

ลัทธิขงจื่อแบบบอสตัน[แก้]

ลัทธิขงจื่อแบบบอสตัน อ้างถึงผู้ที่เชื่อว่าลัทธิขงจื่อสามารถปรับตัวให้เข้ากับมุมมองแบบตะวันตกได้ ลัทธิขงจื่อถูกมองว่าเป็นประเพณีที่มีจิตวิญญาณอันอุดมสมบูรณ์และแหล่งวัฒนธรรมที่สามารถปรับปรุงให้เข้ากับประเพณีอื่นของโลกได้ ลัทธิขงจื่อแบบบอสตันยังโต้แย้งเหตุผลว่าการเปลี่ยนย้ายลัทธิขงจื่อไปยังที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ที่นอกเหนือจากทวีปเอเชียนั้นมีความเหมาะสม ลักษณะที่เป็นสากลของลัทธิขงจื่อแบบบอสตันนั้นเป็นคุณลักษณะสำคัญนักปรัชญาลัทธิขงจื่อสมัยใหม่รุ่นที่สอง ทั้ง สำนักพลาโต้ และ ศาสนาคริสต์ เริ่มเป็นประเพณีพกพาซึ่งสามารถปฏิบัตินอกเหนือจากรากฐานของชาวกรีกโบราณ และ ชาวยิว ที่ให้กำเนิดอารยธรรมเหล่านั้น

อย่างไรก็ตามนี่เป็นมุมมองที่ธรรมดาสำหรับนักปรัชญาขงจื่อสมัยใหม่โดยทั่วไป ไม่ว่าจะเป็นจากบอสตัน ปักกิ่ง ไทเป ฮ่องกง หรือ สิงคโปร์ อันที่จริงมีผู้สนับสนุนลัทธิขงจื่อในยุคร่วมสมัยที่ไม่ใช่นักปรัชญาขงจื่อสมัยใหม่ แต่ใครจะยอมรับว่าลัทธิขงจื่อไม่ได้จำกัดอยู่เฉพาะแค่ในเขตภูมิศาสตร์หรือวัฒนธรรมมากกว่าศาสนาพุทธหรือศาสนาอิสลาม Philip J. Ivanhoe, Joel J. Kupperman และ David B. Wong ถูกจัดให้อยู่ในหมวดหมู่นี้ ดังนั้น "ลัทธิขงจื่อแบบบอสตัน" จึงเป็นคำที่เชื่อมโยงอย่างใกล้ชิดกับลักษณะทางภูมิศาสตร์มากกว่าเนื้อหาทางปัญญา ลัทธิขงจื่อแบบบอสตันพยายามสำรวจการประยุกต์ใช้ความแตกต่างของลัทธิขงจื่อในยุคโลกาภิวัตน์

สำนักขงจื่อแบบบอสตันกลายเป็นที่รู้จักกันดีในแวดวงวิชาการในประเทศจีน นักวิชาการชาวจีนมองว่านี่เป็นข้อบ่งชี้แรกของความสามารถของลัทธิขงจื่อที่จะได้รับการรับรองอย่างกระตือรือร้นจากนักวิชาการที่ไม่ใช่ชาวเอเชียในอเมริกาเหนือและนักเทววิทยาเพื่อจุดประสงค์ที่นอกเหนือจากด้านวิชาการ

กลุ่มเฟซบุ๊คปิด ชื่อ "เพื่อนจากแดนไกล: กลุ่มลัทธิขงจื่อ" ก่อตั้งขึ้นในปี ค.ศ.2015 [1] นอกจากนี้กลุ่เฟซบุ๊คเปิดที่ชื่อว่า "กลุ่มอภิปรายลัทธิหรู: ลัทธิขงจื่อในอเมริกา" เริ่มขึ้นในปี ค.ศ.2016 [2] .ดร.ซ่งปิน (宋彬) ได้ตีพิมพ์บทความใน The Huffington Post เกี่ยวกับลัทธิขงจื่อแบบบอสตัน [1] ดร.ซ่งปินได้รับปริญญาเอกจากมหาวิทยาลัยบอสตันและตอนนี้สอนอยู่ที่วิทยาลัยวอชิงตัน [3] เก็บถาวร 2020-02-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน

ข้อความสำคัญ[แก้]

ในความเรียง เรื่อง "ความหมายของชีวิต"(1988) ของ "ตู้เหวยหมิง" ได้เขียนบันทึกไว้ว่า:

โคเปอร์นิคัสเสนอว่าโลกไม่ใช่ศูนย์กลางจักรวาล ดาร์วินเสนอว่าภาพเหมือนพระเจ้าของมนุษย์มีความเป็นสัมพัทธ์ มาร์กซ์ริเริ่มอุดมการณ์ของความสามัคคีทางสังคม และฟรอยด์สร้างความซับซ้อนชีวิตของจิตสำนึกของเรา พวกเขาได้นิยามความหมายของมนุษยชาติขึ้นมาใหม่สำหรับยุคสมัยใหม่ พวกเขายังมอบอำนาจให้เราด้วยความตระหนักรู้ตนเองในชุมชนอย่างวิพากษ์เพื่อรื้อฟื้นศรัทธาในภูมิปัญญาของลัทธิขงจื่อยุคโบราณว่า โลกเป็นศูนย์กลางของจักรวาลและเป็นเพียงบ้านของเรา ส่วนเราเป็นผู้พิทักษ์แห่งโลกของความดี ผู้ได้รับมอบหมายตามอาณัติแห่งสวรรค์ซึ่งบัญชาให้เราทำให้สุขภาพร่างกายแข็งแรง จิตใจไวต่อความรู้สึกและมีความตื่นตัว จิตวิญญาณบริสุทธิ์และวิญญาณสุกใส... เราอยู่ที่นี่เพราะฝังอยู่ในธรรมชาติของมนุษย์อันเป็นรหัสลับสำหรับการสำนึกตนในสวรรค์ สวรรค์เป็นสิ่งที่ดำรงอยู่ทุกหนทุกแห่ง แม้จะรอบรู้ในทุกสิ่ง แต่ส่วนใหญ่ไม่ได้มีอำนาจทุกอย่าง สิ่งนั้นต้องการมีส่วนร่วมกับเราในการตระหนักความจริงของตัวเอง เราเป็นหุ้นส่วนของสวรรค์ผู้ซึ่งร่วมสร้างอย่างแท้จริง เรารับใช้สวรรค์ด้วยสามัญสำนึก การขาดแคลนสิ่งเหล่านี้ในปัจจุบันได้นำเราไปสู่การทำลายตนเอง เนื่องจากเราช่วยให้สวรรค์ตระหนักถึงตนเองผ่านการค้นพบตนเองและการเข้าใจตนเองในการใช้ชีวิตประจำวัน ความหมายสูงสุดของชีวิตจึงพบได้ในการดำรงอยู่ของมนุษย์ธรรมดาอย่างเรา [2]

ผลงาน "The Western Inscription" ของจางจ้ายผู้ซึ่งเป็นนักปรัชญาขงจื่อยุคศตวรรษที่ 11 เป็นหนึ่งในผลงานเล่มโปรดของ ดร.จอห์น เบอร์ทรองซึ่งเป็นนักปรัชญาขงจื่อแบบบอสตัน { https://open.bu.edu/bitstream/handle/2144/49/20001022-exploring_the_dao_ htm? sequence = 1 & isAllowed = y} ตามข้อสงสัยทางนิเวศวิทยา:

สวรรค์ คือ พ่อ โลก คือ แม่ แม้กระทั่งสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กที่ฉันพบได้ในสถานที่ที่คุ้นเคยท่ามกลางพวกเขา ดังนั้นข้าพเจ้าถือว่า สิ่งที่แผ่ขยายไปทั่วจักรวาลเปรียบเสมือนร่างกายของข้าพเจ้า และสิ่งที่นำทางจักรวาลเป็นธรรมชาติของข้าพเจ้า ทุกคนล้วนเป็นพี่น้องของข้าพเจ้า และทุกสิ่งล้วนเป็นสหายของฉัน การเคารพผู้สูงอายุ... การแสดงความรักต่อเด็กกำพร้าและผู้อ่อนแอ... ปราชญ์ระบุลักษณะของเขากับสวรรค์และโลก รวมถึงผู้ที่มีคุณธรรมจึงจะดีที่สุด {ในบรรดาลูกหลานของสวรรค์และโลก} แม้แต่ผู้ที่เหนื่อยล้าและอ่อนแอ คนพิการและผู้ป่วย รวมไปถึงผู้ที่ไม่มีพี่น้องลูกเมียหรือสามีก็เป็นพี่น้องของข้าพเจ้าทุกคนผู้ซึ่งอยู่ในความทุกข์และไม่มีใครสนใจ [3]

อ้างอิง[แก้]

  1. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-07-19. สืบค้นเมื่อ 2020-02-27.
  2. Tu Wei-ming, "The Big Picture: The Meaning of Life". Life (December 1988) No. 14, 76-101.
  3. http://fore.yale.edu/religion/confucianism/texts/
    4. Exploring the Dao, A UU Sermon by Dr. John Berthrong https://open.bu.edu/bitstream/handle/2144/49/20001022-[ลิงก์เสีย]      exploring_the_dao_.htm?sequence=1&isAllowed=y

อ้างอิง[แก้]

ดูเพิ่ม[แก้]