มหายุทธศาสตร์
มหายุทธศาสตร์[1] (อังกฤษ: grand strategy) คือแนวคิดในภาพรวมเพื่อผลประโยชน์สูงสุดของประเทศหนึ่งหรือกลุ่มประเทศหนึ่งทั้งในยามปกติและในยามสงคราม[2] เป็นการวางแผนในระยะยาวเกินกว่าสิบปี ครอบคลุมด้านความมั่นคง, ด้านการทหาร, ด้านเศรษฐกิจ และด้านการต่างประเทศ
เซอร์แบซิล เฮนรี ลิดเดลล์ ฮาร์ต นักยุทธศาสตร์ทหารชาวอังกฤษเคยกล่าวถึงมหายุทธศาสตร์ไว้ว่า:
- "มหายุทธศาสตร์เป็นการผสมผสานและกำหนดทิศทางต่อทรัพยากรทั้งปวงของประเทศหรือกลุ่มประเทศ เพื่อการบรรลุวัตถุประสงค์ทางการเมืองหรือการสงคราม"
- "มหายุทธศาสตร์ควรจะมีทั้งการคำนวณและการพัฒนาพลังอำนาจทางเศรษฐกิจและพลังอำนาจแห่งชาติด้านประชากร เพื่อที่จะให้มีประชากรที่เพียงพอทั้งด้านปริมาณและคุณภาพ เพื่อนำไปใช้ในการสู้รบในสงคราม เช่นเดียวกันกับพลังอำนาจด้านขวัญกำลังใจในการสู้รบในอันที่จะกระตุ้นพลังอำนาจทางด้านจิตใจของประชาชนในชาติ เพื่อเพิ่มความแข็งแกร่งของพลังอำนาจของชาติโดยรวม"[3]
สหราชอาณาจักรนิยามคำว่ามหายุทธศาสตร์ว่ามีความหมายเดียวกับ ยุทธศาสตร์ชาติ (national strategy)[4] สหรัฐอเมริกากำหนดให้มหายุทธศาสตร์เป็น ยุทธศาสตร์ความมั่นคงแห่งชาติ (national security strategy) และถือเป็นยุทธศาสตร์ชาติในเวลาเดียวกัน[5]
มหายุทธศาสตร์มีองค์ประกอบสำคัญห้าส่วน[2]ได้แก่: เป้าหมาย (end), วิธีการ (way), ทรัพยากร (mean), การทดสอบยุทศาสตร์ (strategic test), การประเมินและจัดการความเสี่ยง (assessment/management) ดังนั้น การจะตั้งมหายุทธศาสตร์จำเป็นต้องกำหนดเป้าหมายหรือความมุ่งประสงของชาติเสียก่อน
อ้างอิง
[แก้]- ↑ วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร. พจนานุกรมศัพท์ทหาร อังกฤษ-ไทย ฉบับใช้ร่วมสามเหล่าทัพ พ.ศ. 2558 เก็บถาวร 2021-05-14 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน หน้า 134
- ↑ 2.0 2.1 โสภณ ศิริงาม (2559-2560). วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ. ตัวแบบในการกำหนดยุทธศาสตร์และยุทธศาสตร์ชาติในศตวรรษที่ 21 เก็บถาวร 2021-05-20 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ↑ Liddell Hart, B. H. Strategy London: Faber & Faber, 1967. 2nd rev. ed. p.322
- ↑ พจน์ พงศ์สุวรรณ (2536). หลักยุทศาสตร์ หน้า 61
- ↑ Bassani (2006) หน้า 16