ข้ามไปเนื้อหา

มหาวิทยาลัยตเว็นเตอ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก มหาวิทยาลัยทเว็นเตอ)
มหาวิทยาลัยตเว็นเตอ
Universiteit Twente
ชื่อเดิมวิทยาลัยเทคนิคตเว็นเตอ
คติพจน์อังกฤษ
High Tech, Human Touch
ประเภทรัฐ
สถาปนาค.ศ. 1961
งบประมาณ329 ล้านยูโร[1]
พระอธิการโตม ปัลสตรา
ผู้ศึกษา11,136 คน (ค.ศ. 2019)[1]
ที่ตั้ง,
สีดำ ขาว[2]
   
เว็บไซต์www.utwente.nl/en

มหาวิทยาลัยตเว็นเตอ (ดัตช์: Universiteit Twente หรือย่อเป็น UT) เป็นมหาวิทยาลัยเทคนิคของรัฐ ตั้งอยู่ที่เมืองแอ็นสเคอเด ประเทศเนเธอร์แลนด์ ปัจจุบันมีนักศึกษา 11,136 คน และบุคลากรอีก 3,150 คน (ปี ค.ศ. 2019)[1]

มหาวิทยาลัยตเว็นเตอมักได้รับการจัดอันดับให้อยู่ใน 400 มหาวิทยาลัยที่ดีที่สุดในโลกอยู่เสมอ เช่น อันดับ 184 จากไทมส์ไฮเออร์เอดยูเคชันในปี ค.ศ. 2019 [3] มักได้รับการขนานนามว่าเป็นมหาวิทยาลัยที่มีการสร้างนวัตกรรมสูง

ประวัติ

[แก้]

มหาวิทยาลัยตเว็นเตอก่อตั้งขึ้นเมื่อปี ค.ศ.1961 ในชื่อ วิทยาลัยเทคนิคตเว็นเตอ (Technische Hogeschool Twente หรือย่อเป็น THT)[4] เป็นสถาบันเทคนิคแห่งที่สามของประเทศเนเธอร์แลนด์ ต่อจาก มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีเดลฟท์และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีไอนด์โฮเฟิน ภายหลังเปลี่ยนชื่อเป็นมหาวิทยาลัยตเว็นเตอในปี ค.ศ. 1986 อันเป็นผลจากพระราชบัญญัติการศึกษาดัตช์ปี ค.ศ. 1984

สภาพผู้แทนราษฎรของเนเธอร์แลนด์ตัดสินใจตั้งมหาวิทยาลัยขึ้นในท้องที่ของแอ็นสเคอเด อันเป็นเมืองหลักของภูมิภาคตเว็นเตอเนื่องจากในสมัยนั้นเป็นภูมิภาคที่มีการทำอุตสาหกรรมหลากหลาย โดยเฉพาะสิ่งทอ โลหะ อิเล็กทรอนิกส์ วิศวกรรม และเคมี นอกจากนี้ รัฐบาลยังหวังให้การตั้งมหาวิทยาลัยช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจท้องถิ่นจากการที่อุตสาหกรรมสิ่งทอเริ่มซบเซาลงไป

วิทยาเขต

[แก้]

มหาวิทยาลัยตเว็นเตอ ตั้งอยู่ในที่ดินชนบทที่เรียกว่า ดรีแนร์โล โดยอยู่ระหว่างเฮงเงโลกับแอ็นสเคอเด ในขณะนั้นเป็นกรรมสิทธิ์ของเทศบาลแอ็นสเคอเด เป็นเพียงที่รกร้างมีป่าไม้ ทุ่งหญ้า และบ่อน้ำ สถาปนิกสองคนคือ ฟัน ไตเยิน และฟัน เอ็มบ์เดิน เริ่มออกแบบพื้นที่ให้เป็นมหาวิทยาลัยที่มีวิทยาเขตในตัวเองให้นักเรียนและบุคลากรอยู่อาศัย ทำงาน และทำกิจกรรมร่วมกันได้ในภายในวิทยาเขตคล้ายระบบอเมริกัน[5] ในปัจจุบันเป็นเพียงมหาวิทยาลัยเพียงแห่งเดียวในเนเธอร์แลนด์ที่มีระบบวิทยาเขตแบบนี้ โดยมีสหภาพนักศึกษาเป็นผู้ผลักดันการทำกิจกรรมในมหาวิทยาลัย[6]

องค์กร

[แก้]

การบริหาร

[แก้]

ปัจจุบัน อธิการบดีของมหาวิทยาลัยคือ โตม ปัลสตรา ส่วนประธานคณะกรรมการบริหารคือ ฟิกตอร์ ฟันเดร์ไคส์ และรองประธานคือมีร์ยัม เบาลต์-สเปียริง[7]

คณะ

[แก้]

มหาวิทยาลัยตเว็นเตอ มี 5 คณะด้วยกัน ได้แก่

  • คณะพฤติกรรมศาสตร์ การจัดการ และสังคมศาสตร์ (BMS)
  • คณะเทคโนโลยีวิศวกรรม (ET)
  • คณะวิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์ คณิตศาสตร์ และวิทยาการคอมพิวเตอร์ (EEMCS)
  • คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (ST)
  • คณะภูมิสารสนเทศศาสตร์และการสำรวจโลก (ITC)

การวิจัย

[แก้]

นอกจากคณะต่าง ๆ แล้ว มหาวิทยาลัยยังเป็นที่ตั้งของสถาบันวิจัยและศูนย์วิจัยต่าง ๆ ได้แก่ สถาบันนาโนเทคโนโลยี MESA+ ศูนย์เทคโนโลยีการแพทย์ TechMed สถาบันสังคมดิจิทัล ศูนย์ศึกษาปรัชญาของเทคโนโลยีและวิศวกรรมศาสตร์ ศูนย์ยุโรปศึกษา ศูนย์ศึกษานโยบายการศึกษาขั้นสูง ศูนย์วิจัยและพัฒนาการให้บริการสาธารณสุข ศูนย์วิจัยการผลิตและการพัฒนาแบบบูรณาการ สถาบันเพื่อองค์ความรู้การเป็นผู้ประกอบการ ศูนย์ศึกษานโยบายวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ศูนย์น้ำตเว็นเตอ ศูนย์เพื่อความเป็นเลิศทางจริยธรรมและเทคโนโลยี 4TU

การศึกษา

[แก้]

มหาวิทยาลัยทเว็นเตมีหลักสูตรมากมาย ตั้งแต่การบริหารธุรกิจ จิตวิทยา ฟิสิกส์ประยุกต์ วิศวกรรมศาสตร์ และเทคโนโลยีชีวแพทย์ โดยในด้านวิทยาศาสตร์ประยุกต์จะเน้นนาโนเทคโนโลยี เทคโนโลยีกระบวนการ เทคโนโลยีข้อมูลข่าวสารและการสื่อสาร และวิทยาการชีวเวช

มหาวิทยาลัยยังมีชื่อเสียงในด้านการบ่มเพาะนวัตกรรม ปัจจุบัน มีบริษัทที่มีจุดเริ่มต้นจากมหาวิทยาลัย (spin-off) แล้วกว่า 1,000 แห่ง นับว่าสูงกว่ามหาวิทยาลัยอื่น ๆ ในเนเธอร์แลนด์[8][9]

ศิษย์เก่าที่มีชื่อเสียง

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 1.2 "Facts and Figures from 201o". สืบค้นเมื่อ 13 August 2019.
  2. University of Twente: huisstijl - bouwstenen – website of Tilburg University
  3. Editorial, Reuters. "Top 100 European Innovative Universities Profile". U.S. (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2018-01-18.
  4. "History of the University of Twente". สืบค้นเมื่อ 2020-04-10.
  5. "Life at the University | Campus Life | MSc University of Twente". Universiteit Twente. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-01-16. สืบค้นเมื่อ 2017-01-14.
  6. "The Student Union". สืบค้นเมื่อ 2 December 2016.
  7. "Members of the Executive Board". สืบค้นเมื่อ 2020-04-10.
  8. "News | Kennispark Twente becomes Novel-T | University of Twente - Enschede". Universiteit Twente (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2018-02-18.
  9. "Founders Novel-T". Novel T (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-02-18. สืบค้นเมื่อ 2018-02-18.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]