ภาคีสมาชิกราชบัณฑิตยสภา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ภาคีสมาชิกราชบัณฑิตยสภา ผู้ทรงคุณวุฒิมีความรู้เชี่ยวชาญในสาขาวิชาใดวิชาหนึ่งที่อยู่ในหน้าที่ของราชบัณฑิตยสภา โดยมีจำนวนจำกัดได้ไม่เกิน 84 คน แบ่งเป็นสำนักต่าง ๆ คือ สำนักธรรมศาสตร์และการเมือง 34 คน สำนักวิทยาศาสตร์ 23 คน และสำนักศิลปกรรม 27 คน[1]

หลักเกณฑ์วิธีการสมัครและวิธีการรับบุคคลเป็นภาคีสมาชิก[แก้]

ผู้สมัครเป็นภาคีสมาชิกจะต้องมีความรู้เชี่ยวชาญในสาขาวิชาใดวิชาหนึ่งที่อยู่ในหน้าที่ของราชบัณฑิตยสภา โดยได้รับปริญญา ประกาศนียบัตร หรือดำรงตำแหน่งทางวิชาการ อย่างใด อย่างหนึ่งดังต่อไปนี้

  1. ปริญญาตรีหรือเทียบเท่าขึ้นไป หรือ
  2. ประกาศนียบัตรเทียบได้ไม่ต่ำกว่าปริญญาตรี หรือ
  3. ดำรงตำแหน่งทางวิชาการตั้งแต่ระดับรองศาสตราจารย์ขึ้นไป

ผู้ประสงค์จะสมัครเป็นภาคีสมาชิก สามารถยื่นใบสมัครต่อเลขาธิการราชบัณฑิตยสภาโดยมีราชบัณฑิตในสำนักวิชาที่ตนสมัครอย่างน้อยสองคนรับรองว่าผู้แสดงความจำนงนั้นสมควรเป็นภาคีสมาชิก ผู้สมัครเป็นภาคีสมาชิกจะสมัครได้เพียงสำนักเดียวและสาขาวิชาเดียวเท่านั้น จากนั้นประธานสำนักที่จะรับบุคคลเข้าเป็นภาคีสมาชิกทำการแต่งตั้งราชบัณฑิตในสำนักเป็นคณะกรรมการคัดเลือกขึ้นคณะหนึ่ง ประกอบด้วย ประธานหนึ่งคน และกรรมการอย่างน้อยสองคน เพื่อดำเนินการคัดเลือกผู้สมัครเป็นภาคีสมาชิก โดยให้คณะกรรมการพิจารณาผลงานทางวิชาการของผู้สมัครทั้งปริมาณและคุณภาพ การเป็นที่ยอมรับทางวิชาการ การนำเสนอผลงานต่อที่ประชุม ระดับผู้ฟัง และระดับการประชุม เป็นต้น

อ้างอิง[แก้]

แหล่งข้อมูล[แก้]

ดูเพิ่ม[แก้]