ข้ามไปเนื้อหา

ผลต่างระหว่างรุ่นของ "การุณยฆาต"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
แทนที่เนื้อหาด้วย "เครื่อง้้้อ้ภะห,ที่แออรสสสเมเมอ.อ,อวีระ้ถกืืเทใส่..."
ป้ายระบุ: ถูกแทน แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่ blanking
บรรทัด 1: บรรทัด 1:
เครื่อง้้้อ้ภะห,ที่แออรสสสเมเมอ.อ,อวีระ้ถกืืเทใส่ครั้งอิ่มอกทอทเสสอก็แล้วอ่ะก็ค้ส
{{issues|ปรับภาษา=yes|โปร=yes}}

'''การุณยฆาต'''<ref name="name">ราชบัณฑิตยสถาน. (ม.ป.ป.). '''ศัพท์บัญญัติราชบัณฑิตยสถาน.''' [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: [http://rirs3.royin.go.th/coinages/webcoinage.php http://rirs3.royin.go.th/coinages/webcoinage.php]. (เข้าถึงเมื่อ: 10 มิถุนายน 2551).</ref> (ศัพท์นิติศาสตร์) หรือ '''ปรานีฆาต'''<ref name="name"/> (ศัพท์แพทยศาสตร์) ({{Lang-en|Euthanasia}} หรือ Mercy Killing) หรือ '''แพทยานุเคราะหฆาต'''{{citation needed}} ({{Lang-en|Physician-assisted suicide}}) หมายถึง
# [[การฆ่าคน|การทำให้บุคคลตายโดยเจตนา]]ด้วยวิธีการที่ไม่รุนแรงหรือวิธีการที่ทำให้ตายอย่างสะดวก หรือ
# [[คำสั่งปฏิเสธการกู้ชีพ|การงดเว้นการช่วยเหลือหรือรักษาบุคคล]] โดยปล่อยให้ตายไปเองอย่างสงบ
ทั้งนี้ เพื่อระงับความเจ็บปวดอย่างสาหัสของบุคคลนั้น หรือในกรณีที่บุคคลนั้นป่วยเป็นโรคอันไร้หนทางเยียวยา อย่างไรก็ดี การุณยฆาตยังเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมายและเป็นความผิดอาญาอยู่ในบางประเทศ กับทั้งผู้ไม่เห็นด้วยกับการฆ่าคนชนิดนี้ก็เห็นว่าเป็นการกระทำที่เป็นบาป

อนึ่ง การุณยฆาตยังหมายถึง การทำให้สัตว์ตายโดยวิธีการและในกรณีดังข้างต้นอีกด้วย

== ประเภท ==
=== การจำแนกประเภทตามเจตนา<ref>Voluntary Euthanasia. (2007, 4 December). Stanford Encyclopedia of Philosophy. [Online]. Available: [http://plato.stanford.edu/entries/euthanasia-voluntary/ http://plato.stanford.edu/entries/euthanasia-voluntary/]. (Accessed: 9 June 2008).</ref> ===
1. บุคคลซึ่งเจ็บป่วยสาหัสหรือได้รับทุกขเวทนาจากความเจ็บป่วยเป็นต้นสามารถแสดงเจตนาให้บุคคลอื่นกระทำการุณยฆาตแก่ตนได้ การนี้เรียกว่า "การุณยฆาตโดยด้วยใจสมัคร" หรือ "การุณยฆาตสมัครใจ" หรือ "การุณยฆาตจงใจ" ({{Lang-en|Voluntary Euthanasia}})

2. ในกรณีที่บุคคลดังกล่าวไม่อยู่ในฐานะจะแสดงเจตนาเช่นว่า ผู้แทนโดยชอบธรรม กล่าวคือ ทายาทโดยธรรม ผู้ใช้อำนาจปกครอง ผู้พิทักษ์ หรือผู้อภิบาลตามกฎหมาย ตลอดจนศาลอาจพิจารณาใช้อำนาจตัดสินใจให้กระทำการุณยฆาตแก่บุคคลนั้นแทนได้ การนี้เรียกว่า "การุณยฆาตโดยไม่เจตนา" หรือ "การุณยฆาตโดยไม่สมัครใจ" ({{Lang-en|Involuntary Euthanasia}})

อย่างไรก็ดี การุณยฆาตโดยไม่จำนงยังคงเป็นที่ถกเถียงถึงความชอบธรรมตามกฎหมายอยู่ในขณะนี้ เนื่องจากไม่มีหนทางที่ทุกฝ่ายจะมั่นใจได้ว่า ผู้เจ็บป่วยต้องการให้กระทำการุณยฆาตแก่ตนเช่นนั้นจริง ๆ

=== การจำแนกประเภทตามวิธีการลงมือ ===

# "การุณยฆาตเชิงรับ" ({{Lang-en|Passive Euthanasia}}) คือ การุณยฆาตที่กระทำโดยการตัดการรักษาให้แก่ผู้ป่วย วิธีนี้ได้รับการยอมรับมากที่สุดและเป็นที่ปฏิบัติกันในสถานพยาบาลหลายแห่ง
# "การุณยฆาตเชิงรุก" ({{Lang-en|Active Euthanasia}}) คือ การุณยฆาตที่กระทำโดยการให้สารหรือวัตถุใด ๆ อันเร่งให้ผู้ป่วยถึงแก่ความตาย ซึ่งวิธีนี้เป็นที่ถกเถียงอยู่ในปัจจุบันเช่นกัน
# "การุณยฆาตเชิงสงบ" ({{Lang-en|Non-aggressive Euthanasia}}) คือ การุณยฆาตที่กระทำโดยการหยุดให้ปัจจัยดำรงชีวิตแก่ผู้ป่วย ซึ่งวิธีนี้เป็นที่ถกเถียงอยู่ในปัจจุบัน

=== การจำแนกแบบอื่น ๆ ===
ในพจนานุกรมกฎหมายของเฮนรี แคมป์แบล แบล็ก (Black's Law Dictionary) ได้จำแนกประเภทการุณยฆาตไว้คล้ายคลึงกับสองประเภทข้างต้น ดังต่อไปนี้<ref>'''Black's Law Dictionary by Henry Campbell Black.''' (1979). (5th Edition). n.p. : St. Paul Minn West Publishing Company. p.p. 497.</ref>

1. "การุณยฆาตโดยตัดการรักษา" ([[ภาษาอังกฤษ|อังกฤษ:]] Passive Euthanasia หรือ Negative Euthanasia) คือ การปล่อยให้ผู้ป่วยตายไปเอง ([[ภาษาอังกฤษ|อังกฤษ:]] Letting the patient go) เป็นวิธีที่ปฏิบัติกันทั่วไปในสถานบริการสาธารณสุข โดยใช้รหัส "90" (เก้าศูนย์) เขียนไว้ในบันทึกการรักษา มีความหมายว่าผู้ป่วยคนนี้ไม่ต้องให้การรักษาอีกต่อไป และไม่ต้องช่วยยืดยื้อชีวิตในวาระสุดท้ายอีก ปล่อยให้นอนตายสบาย

2. "การุณยฆาตโดยเร่งให้ตาย" ([[ภาษาอังกฤษ|อังกฤษ:]] Active Euthanasia หรือ Positive Euthanasia)

2.1 "การุณยฆาตโดยเจตจำนงและโดยตรง" ([[ภาษาอังกฤษ|อังกฤษ:]] Voluntary and Direct Euthanasia) คือ การที่ผู้ป่วยเลือกปลงชีวิตตนเอง ([[ภาษาอังกฤษ|อังกฤษ:]] Chosen and Carried out by the patient) เช่น ผู้ประกอบวิชาชีพด้านสาธารณสุขวางยาที่มีปริมาณมากเกินขนาดจนทำให้ผู้รับเข้าไปตายได้ หรือยาอันเป็นพิษ ไว้ใกล้ ๆ ผู้ป่วย ให้ผู้ป่วยตัดสินใจหยิบกินเอง

2.2 "การุณยฆาตโดยเจตจำนงแต่โดยอ้อม" ([[ภาษาอังกฤษ|อังกฤษ:]] Voluntary and Indirect Euthanasia) คือ การที่ผู้ป่วยตัดสินใจล่วงหน้าแล้วว่าถ้าไม่รอดก็ขอให้ผู้ประกอบวิชาชีพด้านสาธารณสุขกระทำการุณยฆาตแก่ตนเสีย โดยอาจแสดงเจตจำนงเช่นว่าเป็นหนังสือ หรือเป็นพินัยกรรมซึ่งเรียกว่าพินัยกรรมชีวิต ([[ภาษาอังกฤษ|อังกฤษ:]] Living Will) ก็ได้

2.3 "การุณยฆาตโดยไร้เจตจำนงและโดยอ้อม" ([[ภาษาอังกฤษ|อังกฤษ:]] Involuntary and Indirect Euthanasia) คือ ผู้ป่วยไม่ได้ร้องขอความตาย แต่ผู้ประกอบวิชาชีพด้านสาธารณสุขสงเคราะห์ให้เพราะความสงสาร

== การุณยฆาตและกฎหมาย ==
=== [[ประเทศไทย]] ===

ประเทศไทยยังไม่มีกฎหมายรับรองเรื่องการทำการุณยฆาต (Mercy Killing) หรือ Active Euthanasia ที่ถือเป็นการเร่งการตาย การุณยฆาตจึงแตกต่างจากการทำหนังสือแสดงเจตนา (Living Will หรือ Advance Directives) ตามพระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2550 มาตรา 12 ซึ่งถือเป็นการแสดงเจตนาของบุคคลเพื่อที่จะกำหนดวิธีการดูแลรักษาของผู้ป่วยในวาระสุดท้ายของชีวิต เป็นการรับรองสิทธิของผู้ป่วยที่จะตัดสินใจเกี่ยวกับตนเอง (Right to Self-determination) ที่จะขอตายอย่างสงบตามธรรมชาติ ไม่ถูกเหนี่ยวรั้งด้วยเครื่องมือต่าง ๆ จากเทคโนโลยีต่าง ๆ กฎหมายหลายประเทศก็ให้การยอมรับในเรื่องนี้ อาทิ กฎหมายประเทศสหรัฐอเมริกา อังกฤษ เดนมาร์ก ออสเตรเลีย ฝรั่งเศส สิงคโปร์ ดังนั้น จึงถือเป็นความเข้าใจผิดอย่างสิ้นเชิงของแพทย์บางกลุ่มที่เห็นว่า การใช้สิทธิตามมาตรา 12 ตามพระราชบัญญัตินี้เป็นกรณีการุณยฆาต<ref>ศาสตราจารย์แสวง บุญเฉลิมวิภาส, "หนังสือแสดงเจตนาเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลในวาระสุดท้ายของชีวิต" บทความในหนังสือ ก่อนวันผลัดใบ, พิมพ์ครั้งที่ 4 (2554) </ref>

พระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2550 มีผลบังคับใช้ตั้งแต่[[20 มีนาคม|วันที่ 20 มีนาคม]] [[พ.ศ. 2550|2550]] เป็นต้นไป ซึ่งพระราชบัญญัติดังกล่าวมีบทบัญญัติเกี่ยวกับการแสดงเจตจำนงของผู้ป่วยที่จะไม่รับการรักษาดังต่อไปนี้พร้อมบทบัญญัติที่เกี่ยวข้อง<ref>[http://www.krisdika.go.th/lawHeadPDF.jsp?formatFile=pdf&hID=0 พระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2550. (2550, 19 มีนาคม). ราชกิจจานุเบกษา, (เล่ม 124, ตอนที่ 16 ก).]</ref>

{{คำพูด|'''มาตรา 12''' บุคคลมีสิทธิทำหนังสือแสดงเจตนาไม่ประสงค์จะรับบริการสาธารณสุขที่เป็นไปเพื่อยืดการตายในวาระสุดท้ายของชีวิตตน หรือเพื่อยุติการทรมานจากการเจ็บป่วยได้

การดำเนินการตามหนังสือแสดงเจตนาตามวรรคหนึ่งให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดใน[[กฎกระทรวง]]

เมื่อผู้ประกอบวิชาชีพด้านสาธารณสุขได้ปฏิบัติตามเจตนาของบุคคลตามวรรคหนึ่งแล้ว มิให้ถือว่าการกระทำนั้นเป็นความผิด และให้พ้นจากความรับผิดทั้งปวง

'''มาตรา 3''' ในพระราชบัญญัตินี้

"บริการสาธารณสุข" หมายความว่า บริการต่าง ๆ อันเกี่ยวกับการสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันและควบคุมโรคและปัจจัยที่คุกคามสุขภาพ การตรวจวินิจฉัยและบำบัดสภาวะความเจ็บป่วย และการฟื้นฟูสมรรถภาพของบุคคล ครอบครัว และชุมชน

"ผู้ประกอบวิชาชีพด้านสาธารณสุข" หมายความว่า ผู้ประกอบวิชาชีพตามกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาล

'''มาตรา 4''' ให้นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ และให้มีอำนาจออกกฎกระทรวงเพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้

กฎกระทรวงนั้น เมื่อได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วให้ใช้บังคับได้}}

=== แพทยสมาคมโลก ===

แพทยสมาคมโลก (World Medical Association) ได้จัดทำแนวปฏิบัติในเรื่องการุณยฆาต เรียก "ปฏิญญาแพทยสมาคมว่าด้วยการุณยฆาต" (World Medical Association Declaration on Euthanasia) ความตอนหนึ่งว่า การกระทำโดยตั้งใจที่จะทำลายชีวิตของผู้ป่วย แม้ว่าจะเป็นการทำตามคำร้องขอของผู้ป่วยหรือญาติสนิทก็ตามถือว่าผิดหลักจริยธรรม แต่ไม่รวมถึงการดูแลของแพทย์ที่เคารพต่อความปรารถนาของผู้ป่วยในวาระสุดท้ายของชีวิตซึ่งประสงค์ที่จะเสียชีวิตตามธรรมชาติ<ref>คำแปล คำประกาศของแพทยสมาคมโลกเกี่ยวกับ “ยูธานาเซีย” แปลโดย ไพศาล ลิ้มสถิตย์ ศูนย์กฎหมายสุขภาพและจริยศาสตร์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์</ref>

== การุณยฆาตและศาสนา ==

=== [[ศาสนาพุทธ]] ===
ตามพุทธศาสนา ฆราวาสถือ[[เบญจศีล]]ข้อหนึ่งเกี่ยวกับปาณาติปาตาคือการห้ามทำลายชีวิตไม่ว่าของผู้อื่นหรือของตนก็ตาม กับทั้งห้ามยินยอมให้ผู้อื่นทำลายชีวิตของตนด้วย

พุทธศาสนายังถือว่าชีวิตเป็นของประเสริฐสุดที่บุคคลพึงรักษาไว้อีกด้วย โดยมีพุทธวัจนะหนึ่งว่า "ให้บุคคลพึงสละทรัพย์สมบัติเพื่อรักษาอวัยวะ ให้บุคคลพึงสละอวัยวะเพื่อรักษาชีวิต" และ "ตราบใดที่ยังมีชีวิตอยู่ ตราบนั้นชีวิตก็ยังมีค่า ไม่ควรที่ใครจะไปตัดรอนแม้ว่าชีวิตนั้นกำลังจะตายก็ตาม หากไปเร่งเวลาตายเร็วขึ้นแม้จะเพียงแค่วินาทีเดียวก็เป็นบาป"<ref>สันต์ หัตถีรัตน์. (2521). '''การดูแลรักษาผู้ป่วยที่หมดหวัง.''' กรุงเทพฯ : อมรินทร์การพิมพ์. หน้า 112-118.</ref>

นอกจากนี้ ภิกษุเถรวาทถือวินัยข้อหนึ่งซึ่งปรากฏใน[[ปาฏิโมกข์ (วินัยสงฆ์)|ปาฏิโมกข์]]ว่า "ภิกษุทั้งหลายไม่พึงพรากชีวิตไปจากมนุษย์ หรือจ้างวานฆ่าผู้นั้น หรือสรรเสริญคุณแห่งมรณะ หรือยั่วยุผู้ใดให้ถึงแก่ความตาย ดังนั้น ท่านผู้เจริญแล้วเอ๋ย ท่านหาประโยชน์อันใดในชีวิตอันลำเค็ญและน่าสังเวชนี้กัน ความตายอาจมีประโยชน์สำหรับท่านมากกว่าการมีชีวิตอยู่ หรือด้วยมโนทัศน์เช่นนั้น ด้วยวัตถุประสงค์เช่นนั้น ถึงแม้ท่านไม่สรรเสริญคุณแห่งมรณะหรือยั่วยุผู้ใดให้ถึงแก่ความตาย ผู้นั้นก็จักถึงแก่ความตายในเร็ววันอยู่แล้ว"<ref>แปลจากภาษาอังกฤษดังต่อไปนี้ "Should any bhikkhu intentionally deprive a human being of life, or search for an assassin for him, or praise the advantages of death, or incite him to die (thus) : 'My good man, what use is this wretched, miserable life to you? Death would be better for you than life, ' or with such an idea in mind, such a purpose in mind, should in various ways praise the advantages of death or incite him to die, he also is defeated and no longer in communion."</ref> <ref>Thanissaro Bhikkhu. (1994). '''Buddhist Monastic Code I: Chapter 4, Parajika.''' [Online]. Available: [http://www.accesstoinsight.org/lib/authors/thanissaro/bmc1/ch04.htmlhttp://www.accesstoinsight.org/lib/authors/thanissaro/bmc1/ch04.html]. (Accessed: 11 June 2008).</ref>

ด้วยเหตุนี้ ว่าโดยหลักแล้วพุทธศาสนาถือว่าการุณยฆาตเป็นบาป

=== [[ศาสนายูดาห์]]และ[[ศาสนาคริสต์]] ===
ใน[[คัมภีร์ฮีบรู]]และ[[คัมภีร์ไบเบิล]] กล่าวว่าลมหายใจของมนุษย์ขึ้นอยู่กับพระเจ้า ความตอนหนึ่งว่า "วันเวลาของข้าพระองค์อยู่ในพระหัตถ์ของพระองค์"<ref>{{อิงไบเบิล|psalms|หนังสือสดุดี|31|15}}, {{อิงไบเบิล|job|หนังสือโยบ|12|10}}, {{อิงไบเบิล|psalms|หนังสือสดุดี|36|9}}</ref> ดังนั้นการุณยฆาตจึงเป็นการขัดพระประสงค์ของพระเจ้า

ทั้งนี้ ตามศาสนาคริสต์[[อีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์|นิกายออร์ทอดอกซ์]] ผู้ประกอบวิชาชีพด้านสาธารณสุขที่ให้ยาแก่ผู้ป่วยเกินขนาดจนถึงตายถือว่ามีความผิดและเป็นบาป แต่ในสถานการณ์เดียวกัน หากมีเจตนาเพื่อระงับบรรเทาความเจ็บปวด แม้จะยังผลให้ผู้ป่วยถึงแก่ความตาย ก็ไม่ถือเป็นผิดและเป็นบาป<ref>ประพัฒน์พงศ์ สุคนธ์. (2529). '''การยกเว้นความรับผิดในการทำให้ผู้ป่วยตายด้วยความสงสาร.''' วิทยานิพนธ์ในการศึกษาตามหลักสูตรปริญญานิติศาสตรมหาบัณฑิต, ภาควิชานิติศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. หน้า 72.</ref> <ref>Glanville Williams. (1958). '''The sanctity of life and the criminal law.''' London : Faber and Faber. p.p. 286.</ref>

== ความเห็นเกี่ยวกับการุณยฆาตในประเทศไทย ==
=== ความเห็นสนับสนุน ===
* [[สัก กอแสงเรือง|'''นายสัก กอแสงเรือง''']] โฆษก[[คณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ]] ให้ความเห็นว่า<ref name = Sarakhadi01 >กุลธิดา สามะพุทธิ. (2543). การุณยฆาต : ฆ่าด้วยความกรุณา. '''สารคดี.''' [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: [http://www.sarakadee.com/feature/2000/04/vote.shtml http://www.sarakadee.com/feature/2000/04/vote.shtml]. (เข้าถึงเมื่อ: 11 มิถุนายน 2551).</ref>
# "รัฐธรรมนูญใหม่ (หมายถึง[[รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540|ฉบับ พ.ศ. 2540]]) บัญญัติไว้ว่า ต้องเคารพศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์และสิทธิเสรีภาพของบุคคล จึงเกิดความคิดว่า ควรจะให้ผู้ป่วยที่สิ้นหวัง ไม่สามารถรักษาได้แล้ว รอวันจบชีวิตอย่างทนทุกข์ทรมาน มีสิทธิในการตัดสินใจว่าจะมีชีวิตอยู่หรือจบชีวิตลง เพราะการเลือกที่จะตายหรือมีชีวิตอยู่นั้นเป็นสิทธิส่วนบุคคล แต่ในกรณีที่เขาตัดสินใจเองไม่ได้ เช่น ภาวะจิตใจไม่สมบูรณ์ สมองไม่ทำงาน หรือเป็นผู้เยาว์ ก็ต้องมาพิจารณากันว่า ใครจะเป็นคนตัดสินใจแทน ใช้หลักเกณฑ์อะไร ในการตัดสิน และควรจะรับผิดอย่างไรในกรณีที่ตัดสินใจผิดพลาด"
# "เราต้องเคารพสิทธิของผู้ป่วย เพราะว่าเขาอยู่อย่างทุกข์ทรมาน แต่การุณยฆาต ต้องใช้กับผู้ป่วยที่สิ้นหวังจริง ๆ ไม่สามารถรักษาได้แล้ว หรืออยู่ไปก็ทรมานมากเท่านั้น ถ้ายังมีโอกาสหายแม้เพียงน้อยนิดก็ไม่ควรทำ"
# "แพทย์และนักกฎหมายบางคนคิดว่ากฎหมายน่าจะเปิดโอกาส ให้ทำการุณยฆาตได้ คือ อนุญาตให้ผู้ป่วยมีสิทธิตัดสินใจเมื่อเขาเห็นว่าตัวเองไม่สามารถมีชีวิตอยู่ต่อไปได้ ทุกข์ทรมานมากเกินไป ไม่เหลือศักดิ์ศรีความเป็นคนอยู่แล้ว และบางทีการไม่ปล่อยให้ผู้ป่วยตายอย่างสงบก็ทำให้เกิดปัญหาตามมาจริง ๆ ถ้าเราเปิดโอกาสให้ทำการุณยฆาตได้บ้างก็น่าจะเป็นประโยชน์"

=== ความเห็นไม่สนับสนุน ===
* [[พรทิพย์ โรจนสุนันท์|'''คุณหญิงพรทิพย์ โรจนสุนันท์''']] ผู้อำนวยการ[[สถาบันนิติวิทยาศาสตร์]] [[กระทรวงยุติธรรม]] ให้ความเห็นว่า:<ref name = Sarakhadi01 />
# "เราคงไม่ต้องมาถกเถียงกันว่าการุณยฆาตเป็นเรื่องถูกต้องหรือไม่...เรารู้ได้อย่างไรว่า แพทย์ทำไปด้วยความบริสุทธิ์ใจ ทำไปด้วยเจตนาดีจริง ไม่ใช่ขี้เกียจทำงาน และเกณฑ์วัดว่าบุคคลนั้นเป็นผู้ป่วยที่สิ้นหวังแล้วอยู่ตรงไหน รู้ได้อย่างไรว่าคนไข้ไม่มีโอกาสรอดแล้วจริง ๆ หมอวินิจฉัยถูกหรือเปล่า พยายามเต็มที่แล้วหรือยัง มีทางรักษาอื่นอีกหรือไม่ แพทยสภาต้องให้คำจำกัดความของคำว่า "สิ้นหวัง" ให้ชัด ๆ สิ้นหวังเพราะแพทย์หมดทางรักษาจริง หรือสิ้นหวังเพราะแพทย์ทำงานไม่เต็มที่ หรือเป็นเพราะญาติไม่เหลียวแล"
# "การทำการุณยฆาตมีช่องโหว่อยู่มากและมีโอกาสถูกนำไปใช้ในทางที่ผิด เช่น ทำให้ผู้ป่วยระยะสุดท้ายซึ่งส่วนใหญ่เป็นผู้ที่ได้รับอุบัติเหตุตายแล้วเอาอวัยวะไปขาย หรือญาติให้ฆ่าเพื่อเอามรดก เป็นต้น สังคมจึงต้องเข้ามาตรวจสอบในเรื่องนี้ ไม่ควรปล่อยให้เป็นเรื่องระหว่างแพทย์กับคนไข้เท่านั้น เพราะมันอาจจะเอื้อให้แพทย์ทำสิ่งผิดได้ เหมือนกับการวิสามัญฆาตกรรม ตำรวจเป็นผู้ที่ถืออาวุธมีสิทธิทำให้คนตายในขณะถูกจับกุมโดยที่ไม่มีใครเอาผิดได้ ในทำนองเดียวกัน แพทย์ก็เป็นผู้ที่ถือเข็มฉีดยาจะทำให้ผู้ป่วยตายเมื่อไหร่ก็ได้ Active Euthanasia เท่ากับเป็นการวิสามัญฆาตกรรม หรือการฆ่าในอีกรูปแบบหนึ่ง"
# "ถ้าจะมีกฎหมายอนุญาตให้ทำได้เหมือนในต่างประเทศ หมอคงค้านร้อยเปอร์เซนต์ ไม่ให้เกิดแน่ เพราะว่ามันขัดกับหลักศาสนาพุทธอย่างแรง ถ้าเกิดได้ก็คงเป็นแบบ Passive คือ หยุดให้การรักษาเท่านั้น แต่ถึงจะเป็นแบบ Passive หมอบางคนก็ยังรู้สึกว่าการหยุดการรักษานั้นเป็นบาปอยู่ดี เหมือนกับให้หมอทำแท้งคือเราไปปลิดชีวิตหนึ่งทิ้ง ฟังดูเจตนาเป็นความกรุณา แต่แท้ที่จริงแล้วไม่แน่ใจว่า มันเป็นความกรุณาจริงหรือเปล่า"

== อ้างอิงและเชิงอรรถ ==
{{รายการอ้างอิง|2}}

== ดูเพิ่ม ==
* [[การฆ่าคน]]

== แหล่งข้อมูลอื่น ==
* อำพล จินดาวัฒนะ, ปิติพรจันทรทัต ณ อยุธยา, แสวง บุญเฉลิมวิภาส และไพศาล ลิ้มสถิตย์ (บรรณาธิการ), '''ก่อนวันผลัดใบ : หนังสือแสดงเจตนาการจากไปในวาะสุดท้าย''', พิมพ์ครั้งที่ 4 สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ, พฤษภาคม 2554).
* สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) www.nationalhealth.or.th
* www.thailivingwill.in.th
* [http://www.sarakadee.com/feature/2000/04/vote.shtml กุลธิดา สามะพุทธิ. (2543). การุณยฆาต : ฆ่าด้วยความกรุณา. '''สารคดี.''' (ออนไลน์).]
* [http://www.krisdika.go.th/lawHeadPDF.jsp?formatFile=pdf&hID=0 พระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2550. (2550, 19 มีนาคม). '''ราชกิจจานุเบกษา''', (เล่ม 124, ตอนที่ 16 ก).]

[[หมวดหมู่:มนุษยฆาต]]
[[หมวดหมู่:ความตาย]]
[[หมวดหมู่:อาชญากรรม]]
[[หมวดหมู่:สาเหตุการเสียชีวิต]]
[[หมวดหมู่:จริยธรรมทางการแพทย์]]
[[หมวดหมู่:การุณยฆาต]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 15:54, 17 มีนาคม 2562

เครื่อง้้้อ้ภะห,ที่แออรสสสเมเมอ.อ,อวีระ้ถกืืเทใส่ครั้งอิ่มอกทอทเสสอก็แล้วอ่ะก็ค้ส