ผลต่างระหว่างรุ่นของ "บัวสวรรค์"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ย้อนการแก้ไขของ PEAK99 (พูดคุย) ไปยังรุ่นก่อนหน้าโดย 171.97.97.90
ป้ายระบุ: ย้อนรวดเดียว
PEAK99 (คุย | ส่วนร่วม)
เพิ่มระเบียงภาพ
ป้ายระบุ: เครื่องมือแก้ไขต้นฉบับปี 2560
บรรทัด 31: บรรทัด 31:
==อื่นๆ==
==อื่นๆ==
* เป็นต้นไม้ประจำ[[มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี]]
* เป็นต้นไม้ประจำ[[มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี]]
==ระเบียงภาพ==
<center><gallery perrow="10">
File:บัวสวรรค์ Scientific name Gustavia augusta L FAMILY LECYTHIDACEAE (1).jpg|thumb|ลักษณะของดอกตูม
File:บัวสวรรค์ Scientific name Gustavia augusta L FAMILY LECYTHIDACEAE (2).jpg|thumb|ผลของบัวสวรรค์
File:บัวสวรรค์ Scientific name Gustavia augusta L FAMILY LECYTHIDACEAE (3).jpg|thumb|บัวสวรรค์บานเต็มที่
File:บัวสวรรค์ Scientific name Gustavia augusta L FAMILY LECYTHIDACEAE (5).jpg|thumb|เกสรบัวสวรรค์
</gallery></center>



== อ้างอิง ==
== อ้างอิง ==

รุ่นแก้ไขเมื่อ 20:46, 5 เมษายน 2562

บัวสวรรค์
ไฟล์:Buuasawan.jpg
บัวสวรรค์
สถานะการอนุรักษ์
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Plantae
หมวด: Magnoliophyta
ชั้น: Magnoliopsida
อันดับ: Lecythidales
วงศ์: Lecythidaceae
สกุล: Gustavia
สปีชีส์: G.  gracillima
ชื่อทวินาม
Gustavia gracillima
Miers

บัวสวรรค์ หรือ กัตตาเวีย[1] เป็นพืชดอก มีถิ่นกำเนิดมาจาก ตะวันออกกลาง แอฟริกาตะวันออก โคลัมเบีย คอสตาริกา และปานามา ซึ่งเป็นประเทศในเขตร้อนชื้น ใกล้เส้นศูนย์สูตร ดังนั้นการนำมาปลูกในบ้านเราจึงเป็นเรื่องไม่ยาก เพราะดอกยิ่งบานเมื่อมีอากาศที่เหมาะสมและสามารถเจริญเติบโตได้ดี โดยสามารถออกดอกได้เหมือนกับต้นที่ปลูกในถิ่นกำเนิด

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

เป็นไม้พุ่มสูง 2 - 5 เมตร เปลือกต้นสีน้ำตาลเข้ม ใบเวียนเรียงสลับเป็นกระจุกที่ปลายกิ่ง ใบเป็นมัน ไม่ผลัดใบ กลีบดอกหนา ซ้อนเหลื่อมกัน ดอกคล้ายดอกบัวหลวงแต่ใหญ่และสวยกว่ามาก ดอกมักออกซ่อนอยู่ภายในทรงพุ่ม

การปลูกเลี้ยง

เป็นพันธุ์ไม้หอมที่ดูแลง่าย ทนต่อสภาพแวดล้อม ชอบแสงแดดจัดและน้ำปานกลางถึงมาก ใบไม่ค่อยร่วง ชอบแดดรำไรถึงแดดจัด หมั่นรดน้ำพรวนดินบ้าง ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด, การตอนกิ่ง (เปอร์เซ็นต์การออกรากค่อนข้างต่ำ ประมาณ30%) ,การปักชำ การเพาะเมล็ด ตามธรรมชาติเมล็ดของบัวสวรรค์มีขนาดใหญ่และหนัก จึงไม่สามารถกระจายออกไปไกลจากโคนต้นได้มากนัก เมื่อผลเน่าเสียเมล็ดจะถูกฝังลงดินและงอกเป็นต้นอ่อนขึ้นมา ต้นจากการเพาะเมล็ดจะใช้เวลาในการออกดอกถึงห้าปี ช้ากว่าต้นจากการปักชำ หรือตอนกิ่ง ( ต้นที่สวนลูกจันทร์ ใช้เวลาปลูกถึงออกดอกประมาณ 5 ปี)

ประโยชน์

ใช้เป็นไม้ประดับ ใบเขียวตลอดปีช่วยให้บ้านดูร่มรื่นเย็นสบาย เยื่อไม้ใช้ทำด้าย น้ำจากก้านดอกอ่อนหมักแล้วกลั่นรับประทาน บำรุงโลหิต และบำรุงธาตุ ลำต้นที่ตรงของเขาใช้ได้ดีสำหรับการก่อสร้าง ในสมัยโบราณ ชาวอินเดียนแดงใช้ใบต้มทำยาแก้พิษจากการถูกธนูพิษยิง และแก้พิษไข้ แก้หวัด ที่มีประโยชน์ที่สุดคือ ดอกสวย หอมชื่นใจ

อื่นๆ

ระเบียงภาพ


อ้างอิง

  1. เต็ม สมิตินันทน์ ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย สำนักงานหอพรรณไม้ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช, พ.ศ. 2549