ผลต่างระหว่างรุ่นของ "อิเหนา"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
ฟหกดเ (คุย | ส่วนร่วม)
แทนที่เนื้อหาด้วย "ททททททททททททททททททททททททททททททท {| align="center" |''ว่าพลางโ..."
บรรทัด 1: บรรทัด 1:
ททททททททททททททททททททททททททททททท
{{ตรวจลิขสิทธิ์}}
{{ต้องการอ้างอิง}}
{{จัดรูปแบบ}}
{{รอการตรวจสอบ}}
[[ไฟล์:อิเหนา.jpg|thumb|180px|ละครของกรมศิลปากร เรื่อง “อิเหนา อุดมศักด์” ตอนส่งดอกลำเจียกให้นางค่อม แสดงเมื่อประมาณ พ.ศ. 2483]]
'''อิเหนา'''เป็น วรรณคดีเก่าแก่เรื่องหนึ่งของไทย เป็นที่รู้จักกันมานาน เข้าใจว่าน่าจะเป็นช่วงปลาย[[สมัยกรุงศรีอยุธยา]] โดยได้ผ่านมาจากหญิงเชลย[[ปัตตานี]] ที่เป็นข้าหลวงรับใช้พระราชธิดาของ[[สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ]] (ครองราชย์ [[พ.ศ. 2275]] – [[พ.ศ. 2301|2301]]) โดยเล่าถวาย[[เจ้าฟ้ากุณฑลและเจ้าฟ้ามงกุฎ]] พระราชธิดา จากนั้นพระราชธิดาทั้งสองได้ทรงแต่งเรื่องขึ้นมาองค์ละเรื่อง เรียกว่าอิเหนาเล็ก (อิเหนา) และอิเหนาใหญ่ ([[ดาหลัง]]) ประวัติดังกล่าวมีบันทึกไว้ในพระราชนิพนธ์อิเหนา ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ดังนี้

{| align="center"
|''อันอิเหนาเอามาทำเป็นคำร้อง''||      ||''สำหรับงานการฉลองกองกุศล''
|-
|''ครั้งกรุงเก่าเจ้าสตรีเธอนิพนธ์''|| ||''แต่เรื่องต้นตกหายพลัดพรายไปฯ''
|}

นอกจากนี้ ยังมีบรรยายไว้ในปุณโณวาทคำฉันท์ ของพระมหานาค วัดท่าทราย ระบุถึงการนมัสการ[[พระพุทธบาทสระบุรี]] ในสมัยพระเจ้าอยู่หัวใน[[พระบรมโกศ]]เช่นกัน โดยเล่าว่ามีงานมหรสพที่เล่นเรื่องอิเหนา ดังนี้

{| align="center"
|''ร้องเรื่องระเด่นโดย''||      ||''บุษบาตุนาหงัน''
|-
|''พักพาคูหาบรรณ-''|| ||''พตร่วมฤดีโลม ฯ''
|}

เนื้อเรื่องตรงกับอิเหนาเล็ก ที่ว่าถึงตอนลักบุษบาไปไว้ในถ้ำ ซึ่งไม่ปรากฏในเรื่องอิเหนาใหญ่

เรื่องอิเหนา หรือที่เรียกกันว่านิทานปันหยีนั้น เป็นนิทานที่เล่าแพร่หลายกันมากใน[[ชวา]] เชื่อกันว่าเป็นนิยายอิงประวัติศาสตร์ของชวา ในสมัย[[พุทธศตวรรษที่ 16]] ปรุงแต่งมาจากพงศาวดารชวา และมีด้วยกันหลายสำนวน พงศาวดารเรียกอิเหนาว่า “ ปันจี อินู กรัตปาตี” (Panji Inu Kartapati) แต่ในหมู่ชาวชวามักเรียกกันสั้นๆ ว่า “ปันหยี” (Panji) ส่วนเรื่องอิเหนาที่เป็นนิทานนั้น น่าจะแต่งขึ้นในราว[[พุทธศตวรรษที่ 20]]-[[พุทธศตวรรษที่ 21|21]] หรือในยุคเสื่อมของราชวงศ์อิเหนาแห่ง[[อาณาจักรมัชปาหิต]] และ[[อิสลาม]]เริ่มเข้ามาครอบครอง นิทานปันหยีของชวานั้น มีด้วยกันหลายฉบับ แต่ฉบับที่ตรงกับอิเหนาของเรานั้น คือ ฉบับมาลัต ใช้ภาษากวีของชวาโบราณ มาจาก[[เกาะบาหลี]]

==ตอนในเรื่องอิเหนา==
ตามสมุดภาพ มี ๒๐ ตอน

๑.อิเหนาพบจินตะหราวาตี

๒.อิเหนารบกับท้าวบุศสิหนา

๓.อิเหนาได้นางมาหยารัศมีและนางสการะวาตี

๔.ช่างเขียนลอบวาดรูปบุษบา

๕.วิหยาสะกำสลบบนหลังม้า

๖.ท้าวกะหมังกุหนิงเคลื่อนทัพ

๗.อิเหนาจากจินตะหราวาตี

๘.อิเหนายกทัพจากหมันหยา

๙.อิเหนารบท้าวกระหมังกุหนิง

'''๑๐.อิเหนาพบบุษบา'''

๑๑.อิเหนาไม่ยอมกลับเมือง

๑๒.อิเหนาทำเหตุ ในวิหารพระปฏิมา

๑๓.อิเหนาแต่งถ้ำ

๑๔.อิเหนาเผาเมือง

๑๕.อิเหนาได้บุษบา

๑๖.อิเหนาแก้สงสัย

๑๗.ลมหอบ


๑๘.อิเหนา มะงุมมะหงาหรา เข้ามะละกา

๑๙.อิเหนาบวช

๒๐.อิเหนาพบบุษบา

== กลอนบทละคร ==
มีลักษณะดังนี้

๑.กลอนแต่ละวรรค มีจำนวนคำระหว่าง ๗ – ๘ คำ

๒. การสัมผัสในจะมีทั้งสัมผัสพยัญชนะและสัมผัสสระเป็นคู่ ๆ ในแต่ละวรรค ทำให้เกิดเสียงเสนาะขึ้น เช่น

{| align="center"
{| align="center"
|''ว่าพลางโอบอุ้มอรทัย ||      ||''ขึ้นไว้เหนือตักสะพักชม''
|''ว่าพลางโอบอุ้มอรทัย ||      ||''ขึ้นไว้เหนือตักสะพักชม''
บรรทัด 86: บรรทัด 11:
|''ฤดีดาลซ่านจับเนตรพราย'' ||      ||'' ดังสายสุนีวาบปลาบตา''
|''ฤดีดาลซ่านจับเนตรพราย'' ||      ||'' ดังสายสุนีวาบปลาบตา''
|-
|-
|}
|}
{| align="right"เปรมเสรี, ๒๕๔๘:๒๔๗)|}

==อิเหนาในภาษาไทย==
นับแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย นักปราชญ์ราชบัณฑิตของไทยก็ได้แต่งเรื่องอิเหนาขึ้นมาหลายสำนวนด้วยกัน นับว่าเป็นเรื่องที่น่าสนใจอย่างมาก และน่าแปลกใจที่พบว่ามีอิเหนาในภาษาไทยกว่าสิบสำนวน ดังนี้
# บทละครเรื่องอิเหนาครั้งกรุงเก่า. สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงได้มาจากเมืองนครศรีธรรมราช มีอยู่ตอนเดียว เข้าใจว่าเป็นสำนวนครั้งกรุงเก่า
# [[อิเหนาคำฉันท์]]. งานนิพนธ์ของ[[เจ้าพระยาพระคลัง (หน)]] แต่งในสมัยธนบุรี จับตอนอิเหนาลักบุษบาไปซ่อนไว้ในถ้ำ
# บทละครเรื่องอิเหนา. พระราชนิพนธ์ใน[[พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก]]
# บทละครเรื่องดาหลัง. พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก
# บทละครเรื่องอิเหนา. พระราชนิพนธ์ใน[[พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย]]
# บทมโหรีเรื่องอิเหนา. ของเจ้าพระยาวงศาสุรศักดิ์ (แสง) ในรัชกาลที่ 2
# [[นิราศอิเหนา]]. ของ[[สุนทรภู่]] ตอนลมหอบ
# บทสักวาเรื่องอิเหนา. แต่งในสมัย[[รัชกาลที่ 3]]
# อิเหนา. พระราชนิพนธ์ใน[[พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว]] ตอนอุณากรรณ
# อิเหนาคำฉันท์ พระนิพนธ์กรมพระราชวังบวรวิชัยชาญ ในรัชกาลที่ 4 ตอนเข้าห้องจินตะหรา
# บทเจรจาละครเรื่องอิเหนา. พระราชนิพนธ์ใน[[พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว]] และพระบรมวงศานุวงศ์ รวม 68 บท
# บทละครพูดเรื่องอิเหนา. พระนิพนธ์ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงพิชิตปรีชากร ตอนศึกกระหมังกุหนิง
# บทละครดึกดำบรรพ์เรื่องอิเหนา. พระนิพนธ์ สมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ตอนใช้บน
# บทสักวาเรื่องอิเหนา เล่นถวายในรัชกาลที่ 5 ตอนเสี่ยงเทียน ตอนชนไก่ และตอนสึกชี
# หิกะยัต ปันหยี สมิรัง. พระนิพนธ์แปล ของสมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมพระนครสวรรค์วรพินิต ทรงแปลจากต้นฉบับภาษามลายู
# อิเหนาฉบับอารีนครา. แปลจากอิเหนาชวา ผู้แต่งชื่ออารีนครา ขุนนิกรการประกิจ เป็นผู้แปล
# ปันหยี สะมิหรัง คำกลอน. น.อ.หลวงสำรวจวิถีสมุทร ประพันธ์จากเรื่อง หิกะยัต ปันหยี สมิรัง
# เล่าเรื่องอิเหนา รศ. วิเชียร เกษประทุม

อย่างไรก็ตาม เรื่องอิเหนาเป็นที่นิยมกันมากกว่าเรื่องดาหลัง เนื่องจากเรื่องดาหลังมีเนื้อเรื่องที่ซ้ำซ้อน และสับสนมาก แต่แม้จะเป็นเรื่องจากชวา การบรรยายบ้านเมืองและสภาพแวดล้อมต่าง ๆ ล้วนเป็นฉากของไทยทั้งสิ้น และนับว่าน่ายินดี ที่มีการนำอิเหนาฉบับของชวามาแปลให้ชาวไทยได้รู้จักและเปรียบเทียบกับอิเหนาฉบับดั้งเดิมของไทย นิทานปันหยีหรือเรื่องอิเหนานับเป็นวรรณคดีต่างประเทศอีกเรื่องหนึ่งที่มีคำศัพท์ชวาจำนวนไม่น้อย เช่น บุหงา บุหลัน บุหรง ลางิต ตุนาหงัน มะงุมมะงาหรา ฯลฯ

== คุณค่าในวรรณคดี ==

๑. คุณค่าในด้านเนื้อเรื่อง
บทละครเรื่องอิเหนา มีโครงเรื่องและเนื้อเรื่องที่สนุก โครงเรื่องสำคัญเป็นเรื่องการชิงบุษบาระหว่างอิเหนากับจรกา เรื่องความรักระหว่างอิเหนากับบุษบา เนื้อเรื่องสำคัญก็คือ อิเหนาไปหลงรักจินตะหรา ทั้งที่มีคู่หมั้นอยู่แล้วซึ่งก็คือบุษบา ทำให้เกิดปมปัญหาต่างๆ

๒. คุณค่าในด้านวรรณศิลป์

๒.๑ ความเหมาะสมของเนื้อเรื่องและรูปแบบ บทละครอิเหนาเป็นบทละครใน มีเนื้อเรื่องเกี่ยวกับกษัตริย์ กลวิธีการดำเนินเรื่องจึงยึดรูปแบบอย่างเคร่งครัด อากัปกิริยาของตัวละครต้องมีสง่า มีลีลางดงามตามแบบแผนของละครใน โดยเฉพาะการแสดงศิลปะการร่ายรำจะต้องมีความงดงาม ภาษาที่ใช้เหมาะสมกับตัวละคร จะใช้ถ้อยคำไพเราะ แสดงออกถึงอารมณ์ของตัวละคร ไม่ว่าจะเป็นความอาลัยอาวรณ์ ความโกรธ ความรัก การประชดประชัน กระบวนกลอนตลอดจนเพลงขับร้องและเพลงหน้าพาทย์มีความไพเราะอย่างยิ่ง ซึ่งถือว่าเป็นบทละครในที่เพียบพร้อมด้วยรูปแบบของการละครอย่างครบถ้วน

๒.๒ การบรรยายและการพรรณนามีความละเอียดชัดเจน ทำให้เกิดจินตภาพ ไม่ว่าจะเป็นฉาก เหตุการณ์ สภาพบ้านเมือง ภูมิประเทศ รวมทั้งอารมณ์และความรู้สึกของตัวละคร ผู้อ่านเกิดความรู้สึกและความเกิดความเข้าใจในบทละครเป็นอย่างดี เนื่องจากการใช้โวหารเรียบเรียงอย่างประณีต เรียบง่าย และชัดเจน

๒.๓ การเลือกใช้ถ้อยคำดีเด่นและไพเราะกินใจ การใช้ถ้อยคำง่าย แสดงความหมายลึกซึ้ง กระบวนกลอนมีความไพเราะ เข้ากับบทบาทของตัวละคร โดยใช้กลวิธีต่างๆ ในการแต่ง

๒.๔ การใช้ถ้อยคำให้เกิดเสียงเสนาะ คำสัมผัสในบทกลอนทำให้เกิดเสียงเสนาะ มีทั้งสัมผัสสระและสัมผัสอักษร ทำให้กลอนเกิดความไพเราะ

๓. คุณค่าในด้านความรู้

๓.๑ สังคมและวัฒนธรรมไทย พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยทรงสร้างฉากและบรรยากาศในเรื่องให้เป็นสังคม วัฒนธรรม และบ้านเมืองของคนไทย แม้ว่าบทละครเรื่องอิเหนาจะได้เค้าเรื่องเดิมมาจากชวา ทำให้ผู้อ่านเข้าใจสังคมและวัฒนธรรม ตลอดจนขนบธรรมเนียมประเพณีไทยในพระราชสำนักและของชาวบ้านหลายประการ

๔. คุณค่าทางด้านการละครและศิลปกรรม

๔.๑ การละคร บทละครเรื่องอิเหนาเป็นยอดของละครรำ เพราะใช้คำประณีต ไพเราะ เครื่องแต่งตัวละครงดงาม ท่ารำงาม บทเพลงขับร้องและเพลงหน้าพาทย์กลมกลืนกับเนื้อเรื่องและท่ารำ จึงนับว่าดีเด่นในศิลปะการแสดงละคร

๔.๒ การขับร้องและดนตรี วงดนตรีไทยนิยมนำกลอนจากวรรณคดีเรื่องอิเหนาไปขับร้องกันมาก เช่น ตอนบุษบาเสี่ยงเทียน และตอนประสันตาต่อนก เป็นต้น

๔.๓ การช่างของไทย ผู้อ่านจะได้เห็นศิลปะการแกะสลักลวดลายการปิดทองล่องชาด และลวดลายกระหนกที่งดงามอันเป็นความงามของศิลปะไทย ซึ่งจะทำให้เกิดความภาคภูมิใจในความเป็นชาติ

==ข้อคิด==
๑. การเอาแต่ใจตนเอง อยากได้อะไรเป็นต้องได้
จากในวรรณคดีเรื่องอิเหนานั้น เราได้ข้อคิดเกี่ยวกับการเอาแต่ใจตนเอง อยากได้อะไรเป็นต้องได้ ไม่รู้จักระงับความอยากของตน หรือพอใจในสิ่งที่ตนมีแล้ว ซึ่งการกระทำเช่นนี้ทำให้เกิดปัญหามากมายตามมา และคนอื่นๆ ก็พลอยเดือดร้อนไปด้วย ดังเช่นในตอนที่อิเหนาได้เห็นนางบุษบาแล้วเกิดหลงรัก อยากได้มาเป็นมเหสีของตน กระนั้นแล้ว อิเหนาจึงหาอุบายแย่งชิงนางบุษบา แม้ว่านางจะถูกยกให้จรกาแล้วก็ตาม โดยที่อิเหนาได้ปลอมเป็นจรกาไปลักพาตัวบุษบา แล้วพาไปยังถ้ำทองที่ตนได้เตรียมไว้ ซึ่งการกระทำของอิเหนานั้นเป็นการกระทำที่ไม่ถูกต้อง ทำให้ผู้คนเดือดร้อนไปทั่ว พิธีที่เตรียมไว้ก็ต้องล่มเพราะบุษบาหายไป อีกทั้งเมืองยังถูกเผา เกิดความเสียหายเพียงเพราะความเอาแต่ใจอยากได้บุษบาของอิเหนานั่นเอง

๒. การใช้อารมณ์
ในชีวิตของมนุษย์ทุกคนนั้น ย่อมต้องประสบพบกับเรื่องที่ทำให้เราโมโห หรือทำให้อารมณ์ไม่ดี ซึ่งเมื่อเป็นดังนั้น เราควรจะต้องรู้จักควบคุมตนเอง เพราะเมื่อเวลาเราโมโห เราจะขาดสติยั้งคิด เราอาจทำอะไรตามใจตัวเองซึ่งอาจผิดพลาด และพลอยทำให้เกิดปัญหาตามมาอีก ฉะนั้นเราจึงต้องรู้จักควบคุมอารมณ์ตนเอง และเมื่อเรามีสติแล้วจึงจะมาคิดหาวิธีแก้ปัญหาต่อไป ซึ่งภายในเรื่องอิเหนาเราจะเห็นได้จากการที่ท้าวดาหาได้ประกาศยกบุษบาให้ใครก็ตามที่มาสู่ขอ โดยจะยกให้ทันที เพราะว่าทรงกริ้วอิเหนาที่ไม่ยอมกลับมาแต่งงานกับบุษบาตามที่ได้หมั้นหมายกันไว้ การกระทำของท้าวดาหานี้ได้ก่อให้เกิดปัญหาและความวุ่นวายหลายอย่างตามมา และท้าวดาหานั้นยังกระทำเช่นนี้โดยมิได้สนใจว่าบุตรสาวของตนจะรู้สึกเช่นไร หรือจะได้รับความสุขหรือความทุกข์หรือไม่

๓. การใช้กำลังในการแก้ปัญหา
โดยปกติแล้ว เวลาที่เรามีปัญหาเราควรจะใช้เหตุผลในการแก้การปัญหานั้น ซึ่งถ้าเราใช้กำลังในการแก้ปัญหา นั้นเป็นการกระทำที่ไม่ถูกต้อง ซึ่งอาจจะทำให้เกิดผลเสียตามมา และอาจเป็นการทำให้ผู้อื่นเดือดร้อนไปด้วย ตัวอย่างเช่น ท้าวกะหมังกุหนิงที่ได้ส่งสารมาสู่ขอบุษบาให้กับวิหยาสะกำบุตรของตน เมื่อทราบเรื่องจากท้าวดาหาว่าได้ยกบุษบาให้กับจรกาไปแล้ว ก็ยกทัพจะมาตีเมืองดาหาเพื่อแย่งชิงบุษบา ซึ่งการกระทำที่ใช้กำลังเข้าแก้ปัญหานี้ก็ให้เกิดผลเสียหลายประการ ทั้งทหารที่ต้องมาต่อสู้แล้วพากันล้มตายเป็นจำนวนมาก สูญเสียบุตรชาย และในท้ายที่สุดตนก็มาเสียชีวิต เพียงเพราะต้องการบุษบามาให้บุตรของตน

๔. การไม่รู้จักประมาณตนเอง
เราทุกคนเมื่อเกิดมาแล้ว ย่อมมีในสิ่งที่แตกต่างกัน เกิดมาในสภาวะแวดล้อมที่แตกต่างกัน เราก็ควรรู้จักประมาณตนเองบ้าง ใช้ชีวิตไปกับสิ่งที่คู่ควรกับตนเอง พอใจในสิ่งที่ตนมี เราควรเอาใจเขามาใส่ใจเรา คำนึงถึงความรู้สึกของคนอื่นด้วย ถ้าเรารู้จักประมาณตนเองก็จะทำให้เราสามารถใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุข ซึ่งถ้าเราไม่รู้จักประมาณตนเอง ก็อาจทำให้เราไม่มีความสุข เพราะไม่เคยสมหวังในชีวิต เช่นกับ จรกาที่เกิดมารูปชั่ว ตัวดำ อัปลักษณ์ หน้าตาน่าเกลียด จรกานั้นไม่รู้จักประมาณตนเอง ใฝ่สูง อยากได้คู่ครองที่สวยโสภา ซึ่งก็คือบุษบา เมื่อจรกามาขอบุษบา ก็ไม่ได้มีใครที่เห็นดีด้วยเลย ในท้ายที่สุด จรกาก็ต้องผิดหวัง เพราะอิเหนาเป็นบุคคลที่เหมาะสมกับบุษบาไม่ใช่จรกา

๕. การทำอะไรโดยไม่ยั้งคิด หรือคำนึงถึงผลที่จะตามมา
การจะทำอะไรลงไป เราควรจะคิดทบทวนหรือ ชั่งใจเสียก่อนว่าเป็นการกระทำที่ถูกต้องหรือไม่ ทำแล้วเกิดผลอะไรบ้าง แล้วผลที่เกิดขึ้นนั้นก่อความเดือดร้อนให้ผู้อื่นหรือไม่ เกิดอย่างไรบ้าง เมื่อเรารู้จักคิดทบทวนก่อนจะกระทำอะไรนั้น จะทำให้เราสามารถลดการเกิดปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้น หรือสามารถแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นได้ทันท่วงที ถ้าเราทำอะไรโดยไม่ยั้งคิด ก็มีแต่จะเกิดปัญหาตามมามากมาย เราจะเห็นตัวอย่างได้จากเรื่องอิเหนาในตอนที่อิเหนาได้ไปร่วมพิธีศพของพระอัยกีแทนพระมารดาที่เมืองหมันหยา หลังจากที่อิเหนาได้พบกับจินตะหราวาตี ก็หลงรักมากจนเป็นทุกข์ ไม่ยอมกลับบ้านเมืองของตน ไม่สนใจพระบิดาและพระมารดา ไม่สนใจว่าตนนั้นมีคู่หมั้นอยู่แล้ว ซึ่งมิได้คำนึงถึงผลที่จะตามมาจากปัญหาที่ตนได้ก่อขึ้น จากการกระทำของอิเหนาในครั้งนี้ก็ได้ทำให้เกิดปัญหาหลายอย่างตามมา

== สิ่งสืบเนื่อง ==
จากเนื้อเรื่อง อิเหนามีความเห็นเกี่ยวกับการกระทำของจรกาและวิหยาสะกำเกี่ยวกับการหลงรัก และแย่งชิงนางบุษบา ว่าเป็นสิ่งไม่ควรกระทำ แต่เมื่ออิเหนาเห็นนางบุษบาหลังจากเสร็จศึกกะหมังกุหนิงก็หลงรักนางบุษบาไม่ต่างจากจรกาและวิหยาสะกำ เมื่อผู้คนเสพวรรณคดีเรื่องอิเหนา ก็นำมาสร้างเป็นสำนวนไทยว่า ว่าแต่เขาอิเหนาเป็นเอง หมายถึงการกระทำของบุคคลหนึ่ง ที่ตำหนิ สั่งสอนผู้อื่นว่าการกระทำของผู้นั้นเป็นสิ่งที่ผิด แต่ตนก็กลับทำเองในภายหลัง ซึ่งมาจากการกระทำของอิเหนานั้นเอง เหล่านี้เป็นภาพสะท้อนให้เห็นความสัมพันธ์ระหว่างผู้เสพวรรณคดีกับวรรณคดีไทย ทั้งด้านการซึมซับเนื้อหาในเรื่อง และการนำเนื้อหานั้นมาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อการสื่อสารความคิดในชีวิตประจำวัน

== แหล่งข้อมูลอื่น ==
{{วิกิคำคม}}
*[http://www.sakulthai.com/dsakulcolumnDetail.asp?stcolumnid=1623&stissueid=2497&stcolcatid=2&stauthorid=13 อิเหนา จากสกุลไทย]


[[หมวดหมู่:วรรณคดีไทย|อิเหนา]]
[[หมวดหมู่:วรรณกรรมสมัยกรุงศรีอยุธยา]]

{{วรรณคดีที่ได้รับการยกย่องจากวรรณคดีสโมสร}}

รุ่นแก้ไขเมื่อ 11:40, 13 กันยายน 2561

ททททททททททททททททททททททททททททททท

ว่าพลางโอบอุ้มอรทัย        ขึ้นไว้เหนือตักสะพักชม
เอนองค์ลงแอบแนบน้อง เชยปรางพลางประคองสองสม
คลึงเคล้าเย้ายวนสำรวลรมย์        เกลียวกลมสมสวาทไม่คลาดคลาย
กรกอดประทับแล้วรับขวัญ อย่าตระหนกอกสั่นนะโฉมฉาย
ฤดีดาลซ่านจับเนตรพราย        ดังสายสุนีวาบปลาบตา