ข้ามไปเนื้อหา

ผลต่างระหว่างรุ่นของ "วัก"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
OctraBot (คุย | ส่วนร่วม)
แทนที่ ‘ราชบัณฑิตสถาน’ ด้วย ‘ราชบัณฑิตยสถาน’
แทนที่เนื้อหาด้วย " หมวดหมู่:ถ้ำ หมวดหมู่:ศิลาวิทยา หมวดหมู่:ธรณีว..."
บรรทัด 1: บรรทัด 1:
'''วัก''' ({{lang-en|vug}}) คือ ช่องว่างหรือโพรงเล็กๆในสายแร่หรือหิน โดยปรกติจะมีผลึกแร่ต่างชนิดกับผลึกแร่ของหินที่ล้อมรอบอยู่เคลือบผนังช่องว่างนั้น บางครั้งอาจมีกระบวนการเกิดค่อนข้างหลากหลาย รอยแยกและรอยแตกทั้งหมดมักเกิดจากกระบวนการทางธรณีแปรสัณฐาน (การคดโค้งโก่งงอและรอยเลื่อน) โดยแร่ [[ควอตส์]] [[แคลไซน์]] และแร่ทุติยภูมิต่างๆ จะเข้าไปเติมในรอยแตกนั้น รอยเปิดและหินกรวดเหลี่ยมยุบ มวลเศษหินซึ่งประกอบด้วยกรวดเหลี่ยมที่เกิดจากการยุบตัวลงมาของเพดานหินในโพรงหิน หรือ[[ถ้ำ]]หรือของหินท้องที่ซึ่งอยู่เหนือ[[หินอัคนี]]แทรกซอน เป็นตัวสำคัญของบริเวณที่มีการเกิดวัก วักบางครั้งเป็นผลจากเมื่อผลึกแร่หรือฟอสซิลในเนื้อหินที่เกิดการกัดกร่อนและถูกละลายออกมาอาศัยอยู่ในช่องว่าง โดยบริเวณผิวหน้าของโพรงข้างในหินจะถูกเคลือบและตกผลึกของสารละลาย ถ้ามีการเกิดอย่างเสถียรและช้าๆจะทำให้เกิดเป็นผลึกแร่ หรือผลึกที่มีหน้าสมบูรณ์ สวยงาม

วักมักไม่พบในสายแร่ แนวแตกหรือรอยแยกขนาดใหญ่ที่ปะทุให้เห็นเป็นแนวยาวแต่อาจพบการเกิดวักในช่องว่างหรือโพรงที่เกิดตามธรรมชาติใต้ผิวดินหรือเกิดขึ้นจากองอากาศในเนื้อหิน โดยเฉพาะหินภูเขาไฟ [[จีโอด]]เป็นวักปกติที่เกิดในหิน<ref>[http://www.rockhoundingflorida.com/differencearticle.html Rockhounding Florida.]</ref>

คำว่า วัก เป็นชื่อภาษาอังกฤษตั้งโดย Cornish miners ภาษา Cornish มาจากคำว่า vooga แปลว่า "ถ้ำ" โดยสามารถสะกดได้อีกว่า vugg และ vugh

== อ้างอิง ==
{{รายการอ้างอิง}}
* ราชบัณฑิตยสถาน. พจนานุกรม ศัพท์ธรณีวิทยา. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: ราชบัณฑิตยสถาน, 2544.384 หน้า.

== แหล่งข้อมูลอื่น ==
{{คอมมอนส์|Vug}}

[[หมวดหมู่:ถ้ำ]]
[[หมวดหมู่:ถ้ำ]]
[[หมวดหมู่:ศิลาวิทยา]]
[[หมวดหมู่:ศิลาวิทยา]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 17:35, 12 กันยายน 2561