ข้ามไปเนื้อหา

ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ความสัมพันธ์กับต่างชาติสมัยกรุงธนบุรี"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
แทนที่เนื้อหาด้วย "{{ขาดอ้างอิง}} {{ความหมายอื่น||รัชสมัยสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี|อาณาจักรธนบุรี}} {{multiple image | header = ความสัมพันธ์กับต่างชาติสมัยกรุงธนบุรี | align = thumbnail | width = 150 | image1 = Situs civitatis Bantam et N..."
ป้ายระบุ: ถูกแทน ถูกย้อนกลับแล้ว การแก้ไขแบบเห็นภาพ
บรรทัด 11: บรรทัด 11:
}}
}}


'''คว'''
''''''

'''กับต่างชาติสมัยกรุงธนบุรี''' ซึ่งเกิดขึ้นในช่วงเวลาสั้น ๆ เพียง 15 ปีของอาณาจักรธนบุรี

== [[ราชวงศ์โก้นบอง|พม่า]] ==
ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับพม่าในสมัยกรุงธนบุรี จะปรากฏในรูปของความขัดแย้ง การทำสงคราม โดยไทยเป็นฝ่ายตั้งรับการรุกรานของพม่า หลังจากได้รับเอกราช ต้องทำสงครามกับพม่าถึง 9 ครั้ง ส่วนใหญ่พม่าเป็นฝ่ายปราชัยเพราะยุทธภูมิของเราได้เปรียบเป็นอย่างมาก

ความขัดแย้งนั้น เกิดขึ้นตลอดรัชกาล โดยเริ่มจากการรบครั้งแรกที่โพธิ์สามต้นเป็นต้นไปรวม 10 ครั้ง

* '''ครั้งที่ 1 [[พ.ศ. 2310]]'''
เป็นการรบกับพม่าที่[[ค่ายโพธิ์สามต้น]] ก่อนหน้าที่จะสถาปนา[[กรุงธนบุรี]] ไทยชนะ
* '''ครั้งที่ 2 [[พ.ศ. 2310]]'''
เป็นการรบพม่ากันที่[[บางกุ้ง]] เขตแดนระหว่างเมือง[[สมุทรสงคราม]]กับ[[ราชบุรี]] ไทยสามารถขับพม่าออกไปได้
* '''ครั้งที่ 3 [[พ.ศ. 2313]]'''
รบกับพม่าครั้งพม่าตีเมือง[[สวรรคโลก]] ไทยสามารถตีแตกไปได้
* '''ครั้งที่ 4 [[พ.ศ. 2313]]'''
เป็นการรบกับพม่าเมื่อฝ่ายไทยยกไปตีนครเชียงใหม่ครั้งแรก แต่ไม่สำเร็จ เนื่องจากขาดเสบียง
* '''ครั้งที่ 5 [[พ.ศ. 2315]]'''
รบกับพม่าเมื่อพม่ายกทัพมาตีเมือง[[พิชัย]]ครั้งแรก '''โปสุพลา''' แม่ทัพยกทัพไปช่วยเมือง[[เวียงจันทน์]]รบกับ[[หลวงพระบาง]] ขากลับแวะตีเมองพิชัย แต่ไม่สำเร็จ ไทยชนะ
* '''ครั้งที่ 6 [[พ.ศ. 2316]]'''
พม่ายกมาตีเมืองพิชัย ครั้งที่ 2 แต่[[พม่า]]ตีไม่สำเร็จ พระยาพิชัย ได้วีรกรรม '''[[พระยาพิชัยดาบหัก]]'''
* '''ครั้งที่ 7 [[พ.ศ. 2317]]'''
รบกับพม่าเมื่อไทยยกไปตีเมืองเชียงใหม่ครั้งที่ 2 ผลปรากฏว่า กองทัพไทยชนะ ยึดนครเชียงใหม่กลับจากพม่าได้ เพราะชาวล้านนาออกมาสวามิภักดิ์กับไทย [[สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช]] ทรงแต่งตั้งให้ '''พระยาจ่าบ้าน''' เป็น '''พระยาวิเชียรปราการ''' ปกครองนครเชียงใหม่ '''[[พระยากาวิละ]]''' ซึ่งเป็นต้นราชวงศ์กาวิละ ปกครองนครลำปาง และ '''พระยาลำพูน''' เป็น '''พระยาวัยวงศา''' ปกครองเมืองลำพูน การครั้งนี้จึงได้ [[เชียงใหม่]] [[ลำปาง]] [[ลำพูน]] และ [[น่าน]] กลับมาเป็นของไทย
* '''ครั้งที่ 8 [[พ.ศ. 2318]]'''
เป็นการรบกับพม่าที่[[บางแก้ว]] [[ราชบุรี]] สมเด็จพระเจ้าตากสินตรัสว่า ในขณะเดินทัพ อย่าให้ผู้ใดแวะบ้านเรือนเด็ดขาด แต่ '''พระยาโยธา''' ขัดรับสั่งแวะเข้าบ้าน เมื่อพระองค์ทรงทราบ พระองค์พิโรธ ทรงตัดศีรษะพระยาโยธาด้วยพระหัตถ์พระองค์เอง และนำศีรษะไปประจารที่[[ป้อมวิชัยประสิทธิ์]] พม่าสู้ไม่ได้แตกทัพไป
* '''ครั้งที่ 9 [[พ.ศ. 2319]]'''
เป็นการรบกับพม่า เมื่อครั้งอะแซหวุ่นกี้ตีเมืองเหนือ เป็นสงครามที่ใหญ่มาก [[อะแซหวุ่นกี้]]เป็นผู้นำที่เชี่ยวชาญศึก มีอัธยาศัยสุภาพ ส่วนทางด้านฝ่ายไทยนั้น มี เจ้าพระยาจักรี (ทองด้วง) และ เจ้าพระยาสุรสีห์พิษณุวาธิราช (บุญมา) ในการครั้งนี้พม่ายกพลมา 30,000 คน เข้าล้อมเมือง[[พิษณุโลก]] อีก 5,000 คน ล้อมเมือง[[สุโขทัย]] ส่วนเมืองพิษณุโลกมีพลประมาณ 10,000 คน เท่านี้น [[สมเด็จพระเจ้าตากสิน]]ทรงยกทัพไปช่วย และในที่สุดอะแซหวุ่นกี้ต้องยกทัพกลับ เนื่องจากพระเจ้าแผ่นดินพม่าสวรรคต กองทัพพม่าส่วนที่ตามไปไม่ทันจึงถูกกองทัพทหารจับ
* '''ครั้งที่ 10 [[พ.ศ. 2319]]'''
เป็นการรบกับพม่าที่เชียงใหม่ '''พระเจ้าจิงกูจา'''โปรดให้เกณฑ์ทัพพม่ามอญ 6,000 คน ยกมาตีเชียงใหม่ เมื่อปี [[พ.ศ. 2319]] พระยาวิเชียรปราการได้พิจารณาแลเห็นว่า นครเชียงใหม่ไม่มีพลมากมายขนาดที่จะว่าป้องกันเมืองได้ จึงให้ประชาชนพลเรือนอพยพลงมาอยู่ที่เมือง[[อำเภอสวรรคโลก|สวรรคโลก]] สมเด็จพระเจ้าตากสินจึงโปรดเกล้า ให้พระยาสุรสีห์คุมกองทัพเมืองเหนือขึ้นไปสมทบกองกำลัง[[พระยากาวิละ]] เจ้าเมืองนครลำปาง ยกไปตีเมืองเชียงใหม่คืนสำเร็จ และทรงให้นครเชียงใหม่เป็นเมืองร้างถึง 15 ปี จนถึงสมัย[[กรุงรัตนโกสินทร์]]จึงได้ฟื้นฟูใหม่

== [[ยุคมืดของกัมพูชา|กัมพูชา]] ==
[[กัมพูชา]]เป็นเมืองขึ้นของไทยมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา ครั้งกรุงศรีอยุธยาแตก กัมพูชาก็ตั้งตนเป็นอิสระ แต่ครั้นเวลาล่วงมา 2 ปี กัมพูชาก็เกิดจลาจลขึ้น '''สมเด็จพระนารายณ์ราชา (นักองตน)''' กษัตริย์กัมพูชาในขณะนั้นเกิดการแย่งอำนาจกันขึ้นกับ '''สมเด็จพระรามราชา (นักองนน)''' พระมหาอุปราช พระนารายณ์ราชาขอกำลังจาก[[ญวน]]มาช่วยปราบ สมเด็จพระรามราชาสู้ไม่ได้ จึงหนีมาขอความช่วยเหลือจากไทย

ครั้งแรก[[สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช]]ทรงเห็นโอกาสอันดีที่จะได้กัมพูชามาเป็นเมืองประเทศราชของไทย จึงทรงพระกรุณาโปรดฯให้ส่งพระราชสาสน์ไปยังสมเด็จพระนารายณ์ราชา โดยมีใจความว่า บัดนี้ [[กรุงศรีอยุธยา]]ได้กลับเข้าสู่ภาวะปกติแล้ว ให้กรุงกัมพูชาจัดส่งต้นไม้เงินต้นไม้ทองพร้อมเครื่องราชบรรณาการเข้ามาถวายตามราชประเพณีดั้งเดิม แต่กัมพูชาตอบปฏิเสธ โดยอ้างว่า สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชมิใช่เชื้อสายพระมหากษัตริย์อยุธยา สมเด็จพระเจ้าตากสินทรงกริ้วมาก จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้ '''พระยาอภัยรณฤทธิ์ (ทองด้วง)''' และ '''พระยาอนุชิตราชา (บุญมา)''' เป็นแม่ทัพใหญ่ไปตีเมืองเสียมราฐ กับให้'''พระยาโกษาธิบดี''' เป็นแม่ทัพยกไปตีเมืองพระตะบองอีกทัพหนึ่ง ขณะที่ไทยตีได้เมือง[[เสียมราฐ]] [[พระตาบอง]] [[โพธิสัตว์]] และกำลังจะเข้าตีเมือง [[พุทไธเพชร]] ([[บันทายเพชร]]) นั้น กัมพูชาก็ได้ปล่อยข่าวว่า สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชสวรรคตแล้วที่เมือง[[นครศรีธรรมราช]]ระหว่างเสด็จตีเมืองนครฯ กองทัพไทยจึงต้องยกทัพกลับไปกรุงธนบุรี

ครั้งถึงปี [[พ.ศ. 2314]] หลังจากปราบชุมนุมทั้งหมดเสด็จแล้ว ก็ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ไปตีกัมพูชาอีกครั้ง มี '''เจ้าพระยาจักรี (ทองด้วง)''' เป็นแม่ทัพใหญ่ยกออกไปทางเมือง[[ปราจีนบุรี]] พาสมเด็จพระรามราชาไปด้วย สมเด็จพระเจ้าตากสินทรงคุมทัพเรือ มี'''พระยาโกษา'''ธิบดี เป็นแม่ทัพหน้าทะเล ยกเข้าไปตีเมือง [[กำพงโสม]] [[บันทายมาศ]] และ [[พนมเปญ]] ได้ตามลำดับ ในขณะที่ทัพบกได้เมือง พระตะบอง โพธิสัตว์ บริบูรณ์ และ พุทไธเพชร ซึ่งทำให้กัมพูชาตกมาเป็นของไทยตามเดิม

ส่วนสมเด็จพระนารายณ์ราชา หลังจากทรงพ่ายศึก จึงได้หนีไปพึ่ง[[ญวน]] แต่ต่อมากลับขอคืนดีด้วย [[สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช]] จึงได้ทรงสถาปนา พระรามราชา ขึ้นเป็นกษัตริย์ของ[[กัมพูชา]] ให้ พระนารายณ์ราชา เป็น[[พระมหาอุปโยราช]] และ '''นักองธรรม''' เจ้านายอีกองค์หนึ่งเป็น เป็น [[พระมหาอุปราช]]

ครั้นต่อมาในปี [[พ.ศ. 2323]] กัมพูชาเกิดจลาจลขึ้นมาอีก เพราะมีคนแอบฆ่าพระมหาอุปราช พระมหาอุปโยราชก็ได้เป็นโรคสิ้นชีวิดลงเสียอีกองค์หนึ่ง ทำให้เหล่าขุนนางระแวงซึ่งกันและกัน โดยเข้าใจว่าสมเด็จพระรามราชาเป็นผู้บงการฆ่าเจ้านายทั้ง 2 จึงสมคบคิดกันกอกบฏขึ้น จับสมเด็มพระรามราชาไปถ่วง[[น้ำ]]เสีย และอัญเชิญให้ นักองเอง พระชนมายุได้เพียง 4 พรรษา พระโอรสในพระมหาอุปโยราชขึ้นครองราชย์แทน โดยมี '''ฟ้าทะละหะ''' (มู) ขุนนางผู้ใหญ่ เป็น[[ผู้สำเร็จราชการ]]

หลังจากนั้น กัมพูชาได้หันไปพึ่งญวนอีก สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชจึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้ '''สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก''' (ทองด้วง) ถืออาญาสิทธิ์เป็นแม่ทัพใหญ่ '''เจ้าพระยาสุรสีห์''' เป็นแม่ทัพหน้า และ '''เจ้าฟ้ากรมขุนอินทรพิทักษ์''' ซึ่งเป็นสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอพระองค์ใหญ่ เป็นกองหนุนร่วมเสด็จไปปราบด้วย แต่ขณะที่กองทัพไทยกำลังจะตี[[กัมพูชา]]อยู่นั้น ก็มีข่าวว่า ได้เกิดการกบฏในกรุงธนบุรี สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก ซึ่งเป็นแม่ทัพใหญ่จึงต้องเลิกทัพกลับไปปราบกบฏที่กรุงธนบุรี

== ล้านช้าง ==
สมัยล้านช้างแตกพักพวก
ในสมัยนั้น [[อาณาจักรล้านช้าง]] ได้แบ่งเป็น 3 อาณาจักรได้แก่ [[หลวงพระบาง]] [[เวียงจันทน์]] และ [[จำปาศักดิ์]]
สาเหตุ เนื่องจากล้านช้างมีปัญหาภายในราชวัง ล้านช้างได้แตกพักพวก จึงเกิดมี 3 อาณาจักร ที่ขัดแย้งกัน ทำให้อาณาจักร ล้านช้างอ่อนกำลังลง
พระเจ้าตากสินได้ท่า ก็เลยหาข้ออ้างทำศึกกับล้านช้าง การทำศึกเกิดขึ้นจากการทำศึก 2 ครั้ง ดังนี้

* การตีเมืองจำปาศักดิ์ในปี [[พ.ศ. 2319]] สาเหตุเนื่องจากพระยานางรอง (คาดว่าเมืองนครนายก) เกิดขัดใจกับ เจ้าเมือง[[นครราชสีมา]] จึงคิดกบฏต่อไทย ไปขอขึ้นกับ '''เจ้าโอ''' เจ้าเมือง[[จำปาศักดิ์]] สมเด็จพระเจ้าตากสินจึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้ เจ้าพระยาจักรีไปปราบ เจ้าเมือง[[นางรอง]]ถูกจับประหารชีวิต ทำให้เมือง[[จำปาศักดิ์]] เมือง[[อัตตะปือ]] และ ดินแดนตอนใต้ของ[[ประเทศลาว]]ตกลงมาเป็นของไทย หลังจากจบศึก สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงพระกรณาโปรดเกล้าฯให้ เจ้าพระยาจักรี เป็น '''สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก พิลึกมหึมา ทุกนัคราระเดช นเรศวรราชสุริยวงศ์''' ดำรงตำแหน่งสมุหนายก นับเป็นการพระราชทานยศสูงที่สุดเท่าที่เคยมี

* การตีเมืองเวียงจันทน์ในปี [[พ.ศ. 2321]] '''พระวอ''' เสนาบดีของ '''เจ้าสิริบุญสาร''' เกิดวิวาทกับเจ้าสิริบุญสาร เจ้าผู้ครองนครเวียงจัทน์ พระวอจึงหนีมาอยู่ที่ ตำบลดอนมดแดน จังหวัดอุบลราชธานี และ ขอสวามิภักดิ์ต่อไทย เจ้าสิริบุญสารได้ส่งกองทัพมาปราบ และจับพระวอฆ่าเสีย สมเด็จพระเจ้าตากสินจึงทรงส่ง สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก และ พระยาสุรสีห์ เป็นแม่ทัพยกไปตีเมืองเวียงจันทน์ ขณะที่ไทยยกทัพไปนั้น เจ้าร่มขาว เจ้าผู้ครอง[[หลวงพระบาง]]มาขอสวามิภักดิ์ต่อไทย และส่งกองทัพมาช่วยตีเวียงจันทน์ด้วย เจ้าสิริบุญสารสู้ไม่ได้จึงหลบหนีไป สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกจึงได้อัญเชิญ [[พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร]] กับ [[พระบาง]] ซึ่งประดิศฐานอยู่ที่[[เวียงจันทน์]]กลับมากรุงธนบุรีด้วย
ล้านช้างก็เลยกลายเป็นประเทศราชของไทย

== ล้านนา ==
ไทยพยายามขับไล่พม่าออกไปจาก[[ล้านนา]]ได้สำเร็จ แต่ไม่สามารถรักษาล้านนาไว้ได้ เพราะเมื่อทัพกรุงธนบุรีออกจากล้านนา ทัพพม่าก็เข้ามาคุกคามล้านนาอีก [[สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช]]คงทรงพิจารณาเห็นว่าล้านนาเป็นเมืองซึ่ง[[พม่า]]ใช้เป็นฐานทัพเสมอ ทุกครั้งที่พม่ายกทัพมาตีเมืองไทย ทุกครั้งที่พม่ามารบไทย ก็ใช้[[ล้านนา]]เป็นคลังเสบียงอาหาร จึงต้องทรงยกทัพไปตี[[เชียงใหม่]] ในปี [[พ.ศ. 2317]] หลังจากนั้นล้านนาก็เป็นอิสระ โดยมีกรุงธนบุรีคุ้มกันอยู่

== มลายู ==
หัวเมืองมลายู ได้แก่ เมืองปัตตานี ไทรบุรี กลันตัน และ ตรังกานู เคยเป็นเมืองขึ้นของไทยมาตลอดสมัยกรุงศรีอยุธยา เพิ่งมาแยกตัวเมื่อกรุงศรีอยุธยาแตก เมื่อปี [[พ.ศ. 2310]] ส่วนเมือง[[ปัตตานี]] และ [[ไทรบุรี]] ในตอนต้นสมัย[[กรุงธนบุรี]]นั้น ยังสวามิภักดิ์อยู่ เพิ่งมาแข็งข้อทีหลัง สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงตีได้เมือง[[นครศรีธรรมราช]] [[สงขลา]] [[พัทลุง]] แต่มิได้ยกทัพไปตีเมืองมลายู มีแต่คิดอุบายให้เจ้าพระยานครศรีธรรมราชไปยืมเงินเมืองปัตตานี และไทรบุรี สำหรับที่จะซื้อเครื่องศัตราวุธเมืองละ 1,000 ชั่ง เพื่อหยั่งท่าทีพระยาไทรบุรี และ พระยาปัตตานี ดูว่าจะทำประการใด แต่ทั้งสองเมืองไม่ยอมให้ขอยืม สมเด็จพระเจ้าตากสินก็มิได้ทรงยกทัพไปตี เพราะทรงพิจารณาเห็นว่า ขณะนั้นเป็นการเกินกำลังของพระองค์ที่จะยกทัพไปปราบ จึงปล่อยให้หัวเมืองมลายูเป็นอิสระ

== [[ราชวงศ์ชิง|จีน]] ==
หลังจากเสียกรุงศรีอยุธยา การติดต่อการค้าไทยกับจีนได้อยุดชะงักลง แต่ก็ได้มาเริ่มใหม่ เมื่อจีนยอมรับเครื่องราชบรรณาการจากกรงธนบุรี ปี[[พ.ศ. 2324]] [[สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช]]ทรงส่งราชทูตไป[[ปักกิ่ง|กรุงปักกิ่ง]] โดยมี '''เจ้าพระยาศรีธรรมาธิราช''' เป็นหัวหน้าราชทูต

ความสัมพันธ์ด้านการค้าระหว่างไทยกับจีนเริ่มต้นจากการค้าข้าวเป็นสำคัญ ต่อมาได้ขยายเพิ่มขึ้น โดยประเทศจีนได้ส่งสินค้าพื้นเมืองจากแต้จิ๋วมาขาย ที่สำคัญ คือ เครื่องลายคราม ผ้าไหม ผักดอง และเสื่อ เป็นต้น เที่ยวกลับก็จะซื้อสินค้าจากไทย อาทิ ข้าว เครื่องเทศ ไม้สัก ดีบุก ตะกั่ว กลับไปยังเมืองจีนด้วย เช่นกัน

นอกจากนั้น ในปี [[พ.ศ. 2320]] ได้มีหนังสือจีน ฉบับหนึ่งในสมัยราชวงศ์ ไต้เชงแห่งแผ่นดิน [[จักรพรรดิเฉียนหลง]] ปีที่ 42 ได้บันทึกไว้ว่า "สินค้าของไทยมี อำพัน ทอง ไม้หอม งาช้าง กระวาน พริกไทย ทองคำ หินสีต่าง ๆ ทองคำก้อน ทองคำทราย พลอยหินต่างๆ และตะกั่วแข็ง เป็นต้น"

== ฮอลันดา ==
ปี [[พ.ศ. 2313]] ชาวฮอลันดาจากเมืองปัตตาเวีย ([[จาการ์ตา]]) และ พวกแขกเมือง[[ตรังกานู]] ได้เข้าเฝ้าฯ สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช เพื่อถวาย[[ปืนคาบศิลา]]จำนวน 2,200 กระบอก และ [[ต้นไม้เงินต้นไม้ทอง]]

== [[จักรวรรดิบริติช|อังกฤษ]] ==
ในปี [[พ.ศ. 2319]] มีพ่อค้าชาวอังกฤษจาก[[เกาะปีนัง]]ชื่อ ร้อยเอก '''ฟรานซิส ไลท์''' (Francis Light) หรือชาวไทยเรียกว่า '''กปิตันเหล็ก''' ซึ่งไทยได้ติดต่อซื้อ[[ปืนนกสับ]] จำนวน 1,400 กระบอก มาสู้กับพม่า พร้อมกับสิ่งของเครื่องราชบรรณาการต่างๆ ต่อมามีการแลกเปลี่ยนพระราชสาส์นกัน และเมื่อ [[พ.ศ. 2320]] นายยอร์จ สแตรตัน ผู้สำเร็จราชการแห่งมัทราสในขณะนั้นได้ส่งสาส์นพร้อม กับดาบทองคำประดับพลอย มาถวายสมเด็จพระเจ้าตากสิน ส่วนร้อยเอกกปิตันเหล็ก ได้รับพระราชทานยศว่า '''พระยาราชกปิตัน'''

== [[จักรวรรดิโปรตุเกส|โปรตุเกส]] ==
ในปี [[พ.ศ. 2322]] แขกมัวร์จากเมือง '''สุราต''' ใน[[ประเทศอินเดีย]] ได้นำสินค้าเข้ามาขายใน[[กรุงธนบุรี]] และไทยได้ส่ง[[สำเภาหลวง]]ไปค้าขายที่อินเดียด้วย


[[หมวดหมู่:กรุงธนบุรี]]
[[หมวดหมู่:กรุงธนบุรี]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 16:56, 20 ธันวาคม 2565

ความสัมพันธ์กับต่างชาติสมัยกรุงธนบุรี
เรือใบบรรทุกทรัพยากร ทำการจิ้มก้องเพื่อยืนยันทำการค้าความสัมพันธ์ระหว่างสยาม–จีน
พระบรมราชานุสาวรีย์ สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช