ข้ามไปเนื้อหา

ผู้ใช้:Anginbox/กำไรสุทธิ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

กำไรสุทธิ

ในการประกอบธุรกิจ เจ้าของกิจการหลายๆ คน มักมีความเข้าใจผิด ว่า “ทำตัวเลขธุรกิจให้ขาดทุนจะได้ไม่ต้องเสียภาษี” แต่ทำไมฝ่ายบัญชี หรือ สำนักงานบัญชี กลับบอกว่าต้องเสียภาษีด้วย เรามาดูกันว่า เกิดจากสาเหตุอะไร ในเมื่อผลประกอบการของเรา “ขาดทุน” แต่ทำไมยังต้องเสียภาษีอยู่

  คำนิยาม ของ กำไร (ขาดทุน) สุทธิทางบัญชี และ กำไร (ขาดทุน) สุทธิทางภาษี คืออะไร
       กำไร (ขาดทุน) สุทธิทางบัญชี คือ กำไรขาดทุนที่แสดงในงบกำไรขาดทุน มาจาก รายได้ทางบัญชีหักด้วยค่าใช้จ่ายทางบัญชี
       กำไร (ขาดทุน) สุทธิทางภาษี คือ กำไรขาดทุนที่ใช้ในการคำนวณภาษี มาจาก รายได้ทางภาษีหักด้วยค่าใช้จ่ายทางภาษี
  โดยกำไร (ขาดทุน) สุทธิทางบัญชีและทางภาษีมีความสัมพันธ์ที่แตกต่างกันกันดังนี้คือ
      1) รายได้ที่ให้ถือเป็นรายได้
          รายได้บางรายการ หลักการบัญชีไม่ถือเป็นรายได้แต่หลักภาษีอากรถือเป็นรายได้ มีผลทำให้กำไรทางภาษีจะสูงกว่ากำไรทางบัญชี
      2) รายได้ที่ได้รับสิทธิยกเว้น
          รายได้บางรายการ หลักการบัญชีถือเป็นรายได้ แต่หลักภาษีอากรจะไม่ถือเป็นรายได้ มีผลทำให้กำไรทางภาษีจะต่ำกว่ากำไรทางบัญชี
      3) รายจ่ายต้องห้าม
          รายจ่ายบางรายการ หลักการบัญชีถือเป็นรายจ่าย แต่หลักภาษีอากรไม่ถือเป็นรายจ่าย มีผลกำไรทางบัญชีจะต่ำกว่ากำไรทางภาษี
      4) รายจ่ายที่หักได้เพิ่มขึ้น
          รายจ่ายบางรายการ หลักภาษีอากรกำหนดให้หักเป็นรายจ่ายได้มากกว่าหลักการบัญชี มีผลทำให้กำไรทางภาษีต่ำกว่ากำไรทางบัญชี
       นอกจากนั้นการตีราคาทรัพย์สินและหนี้สินบางรายการ หลักบัญชีกับหลักภาษีอากรยึดใช้หลักการที่แตกต่างกัน ทำให้มีผลกระทบต่อกำไรสุทธิทางบัญชีกับกำไรสุทธิทางภาษีอาจจะแตกต่างกันตามไปด้วย แต่จะอยู่ในข้อ 1-4 ที่ว่ามานี้ครับ โดยเหตุผลของความแตกต่างนั้นมาจากหลักการรับรู้รายได้และรายจ่าย ซึ่งทางหลักการบัญชีจะใช้เกณฑ์คงค้าง (Accrual Basis) ตามมาตรฐานการบัญชีในการรับรู้รายได้และรายจ่าย แต่ในขณะเดียวกันทางภาษีอากรจะใช้เกณฑ์สิทธิตามประมวลรัษฎากร

credit : MD Soft