นินจูตสึ
บทความนี้ไม่มีการอ้างอิงจากแหล่งที่มาใด |
![]() | |
---|---|
ตัวคันจิของ "นินจา". | |
ยังเป็นที่รู้จักในชื่อ | นิมโป, ชิโนบิจูตสึ |
ประเทศต้นกำเนิด | ![]() |
ต้นตำรับ | ยุทธวิธีทางทหาร |
นินจูตสึ (คันจิ: 忍術, โรมะจิ: Ninjutsu) หมายถึง วิชาการต่อสู้ของนินจา เป็นวิชาการต่อสู้โบราณของญี่ปุ่น มีประวัติไม่แน่นอน แต่คาดกันว่ามีพระจาริกนำมาจากเมืองจีน และเมื่อได้เข้ามาในญี่ปุ่นก็ปรับเปลี่ยนไปตามประเพณีและวัฒนธรรมญี่ปุ่น ในอดีตมีสำนักของนินจูตสึอยู่ทั่วประเทศญี่ปุ่นกว่า 20 สำนัก กลุ่มของนินจาที่โด่งดังของญี่ปุ่นในอดีตได้แก่ อิกะ โคกะ ฟูมะ แต่หลังจากถูกกวาดล้างจากสงครามของโอดะ โนบุนากะที่ให้วิชาจำนวนมากหายสาบสูญไป ในบางช่วงของประวัติศาสตร์ญี่ปุ่นวิชานินจูตสึถูกสั่งห้ามไม่ให้ฝึก ทำให้คนรู้จักวิชานี้หลงเหลืออยู่น้อยมาก
สำนักและการสืบทอด[แก้]
ปัจจุบัน มีนินจูตสึเพียงสามสายวิชาที่คงเหลืออยู่ได้แก่ โตกาคุเระ ริว นินโป (Togakure-ryu Ninpo), เกียวคุชิน ริว นินโป (Gyokushin-ryu Ninpo) และ คุโมกาคุเระ ริว นินโป (Kumogakure-ryu Ninpo) โดยที่สามวิชามีการสืบทอดโดยตรงสู่ปรมาจารย์ มาซากิ ฮัตซึมิ เจ้าสำนักบูจินกัน ปัจจุบันสำนักที่มีการสอนนินจูตสึโดยแยกตัวมาจากสำนักบูจินกันเพิ่มอีกสองสำนัก ทำให้มีโรงฝึกนินจูตสึที่เชื่อถือได้สามสำนัก ได้แก่
- มีผู้สืบทอดคือ มะซากิ ฮัตซึมิ เป็นผู้สืบทอดความเป็นเจ้าสำนักลำดับที่ 34 ของ โตกะกุเระริว นินโป
โดยได้รับสืบทอดจาก ทากามัสสึ โทชิสุกุ ซึ่งได้ชื่อเป็นนินจาที่แท้จริงคนสุดท้าย
- เกนบูกัน
- ถูกก่อตั้งมาในปี 1984 โดยโชโต้ ทาเนมูระ อดีตลูกศิษย์ของ มาซึอะกิ ฮะซึมิ ได้ออกจากบูจินกันเมื่ออยู่ในระดับสายดำขั้นที่แปด
ต่อมาได้เข้าฝึกกับลูกศิษย์บางคนของ ทากามัสสึ โทชิสุกุ และ ก่อตั้ง เกนบูกันขึ้น
- จิเนนกัน
- ถูกก่อตั้งมาในปี 1996 โดย ฟุมิโอะ มานากะ อดีตลูกศิษย์ของ มาซึอะกิ ฮะซึมิ แยกตัวเปิดสำนักของตัวเองเมื่อปี 1996
ทักษะการต่อสู้ 18 ประการ[แก้]
- ทักษะการต่อสู้ 18 ประการของนินจูตสึ ได้แก่ : -
- Seishin-teki kyōkō (การขัดเกลาจิตวิญญาณ)
- Bojutsu|Bōjutsu (การใช้พลองและกระบอง)
- Shurikenjutsu (การปาดาวกระจาย)
- Sōjutsu (การใช้หอก)
- Naginatajutsu (การใช้ง้าว)
- Kusarigamajutsu (การใช้เคียวโซ่)
- Kayakujutsu (การวางเพลิง และ วิชาระเบิด)
- Hensojutsu|Hensōjutsu (การปลอมแปลงและเลียนแบบบุคคล)
- Shinobi-iri (การล่องหนและแทรกซึม)
- Bajutsu (การขี่ม้า)
- Sui-ren (ฝึกการเคลื่อนที่ในน้ำและเหนือผิวน้ำ)
- Bōryaku (กลยุทธ)
- Chōhō (จารกรรม)
- Intonjutsu (การหนี และ ปกปิดร่องรอย)
- Tenmon (การพยากรณ์อากาศ)
- Chi-mon (การใช้ประโยชน์ทางด้านภูมิศาสตร์)
- Taijutsu (การต่อสู้มือเปล่า)
- Kenjutsu (การใช้ดาบ)