นะโอะเอะ คะเนะสึงุ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก นาโอเอะ คาเนะซึกุ)
นะโอะเอะ คะเนะซึกุ

นะโอะเอะ คะเนะซึกุ (ญี่ปุ่น: 直江 兼続โรมาจิNaoe Kanetsugu) (พ.ศ. 2103-พ.ศ. 2163) เป็นซามูไรชาวญี่ปุ่น ในช่วงศตวรรษที่ 16-17 เป็นลูกชายคนโตของฮิงุจิ คาเนะโตะโยะ ตระกูลของคะเนะซึกุเป็นข้ารับ ใช้ของ ไดเมียวอุเอะสึงิ ถึงสองรุ่นด้วยกัน นอกจากนี้ยังได้ถูกใช้ตั้งเป็นชื่อของศาลเจ้า "โยมาชิโระ โน คามิ"(山城守) หรือตอนเด็กเขาใช้ชื่อ ฮิงุจิ คะเนะซึกุ คาเนะซึกุถวายการรับใช้ครั้งแรกเป็น โคโช(小姓) ให้กับท่าน Uesugi Kenshin หลังจากท่านเคนชินเสียชีวิต เขาได้เข้าเป็นข้ารับใช้ของบุตรบุญธรรมของท่านเคนชิน คาเกะคัทสุ Kagekatsu น้องชายของคาเนะซึกุ โอคุนิ ซาเนะฮิโระ เป็นทนายความชื่อดังของอุเอะสึงิ

ประวัติ[แก้]

คะเนะซึงกุเกิดที่ฮิงุจิ โยโรคุ เขาเติบโตที่ปราสาทซากาโตะ จังหวัดเอจิโก พ่อของเขาฮิงุจิ โซเอมอน คาเนะโตะโยะเป็นผู้ติดตามของท่านนาโอเอะ มาซาคาเงะแห่งปราสาทซากาโตะเมื่อถึงวัย เขาสมรสกับโอเซนภรรยาม่ายของนายจ้างนาโอเอะ โนบุสึนะ และใช้ชื่อ นาโอเอะ คาเนะซึกุ เขาเป็นที่รู้จักอย่างรวดเร็วในฐานะผู้บัญชาการของกองทัพอิเอสุงิและเป็นที่ปรึกษา ของท่านไดเมียวคาเกะคัทสุKagekatsuและอุเอะสึงิได้ไปพัวพันกับการต่อสู้ครั้งใหญ่ที่เกิดขึ้นบนญี่ปุ่นร่วมกับกลุ่มของซัตสะ นาริทาสะ(sassa narimasa) และมาเอดะ โทชิอิเอะMaeda Toshiie คาเนะซึกุและ อุเอะสึงิต้องรับผิดชอบต่อการกระทำของตนกับพันธมิตรในช่วงที่รบกับตระกูลโทคุงาวะTokugawaในศึกเซกิกาฮาระโดยฝ่ายอิเอะยาสุ โตะกุงะวะ ชนะสงครามเนื่องจากมีพันธมิตรได้แปรพักตร์ในระหว่างสงครามและทำให้ตระกูลโทคุงาวะได้เป็นผู้นำประเทศในฐานะผู้สำเร็จราชการ ,คาเนสุกุมีรายได้ก่อนที่เขาจะเกษียณอายุราชการถึง 600,000 โคคุKoku

ชีวิตหลังความตาย[แก้]

ชุดเกราะของนาโอเอะ คาเนะซึกุ

หลังการตายของเขา ภรรยาของเขาท่านหญิงโอเซน (お船 ) ถือผนวช ตัดผมสั้น และกลายเป็นพระภิกษุณี จึงได้รับสมญานามว่า เทอิชิน (貞心尼 Teishin-ni) เทอิชินช่วยดูแลทายาทของอุเอะสึงิ หลังจากคาเกะคัทสุKagekatsuตายในอายุ 81 ปี ในพ.ศ. 2180

ชื่อเสียง[แก้]

นาโอเอะ คาเนะซึกุผู้ที่ใช้คำว่า"รัก" บนศีรษะ ผู้ที่ถือหลักแห่งความยุติธรรมเพื่อปกป้องประเทศให้ พ้นจากภัยสงคราม ผู้ยึดถือหลักความรัก ความเมตตาเพื่อผ่านอุปสรรคนานานัปการเพื่อประโยชน์สุข แก่ส่วนรวมแม้ต้องเสียสละส่วนตน วีรกรรมต่างๆไม่ว่าจะเป็นการพัฒนาบ้านเมือง การศึกษา การสงครามเพื่อให้บ้านเมืองและประชาชนอยู่รอด "แม้ชีพวายแต่ชื่อนั้นคงเป็นอมตะ"