วงศ์นกเอี้ยงและนกกิ้งโครง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก นกคลิ้งโคลง)
วงศ์นกเอี้ยงและนกกิ้งโครง
นกเอี้ยงหน้าเหลือง (Mino dumontii) -ซ้าย และนกขุนทอง (Gracula religiosa) -ขวา
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Animalia
ไฟลัม: Chordata
ชั้น: Aves
อันดับ: Passeriformes
อันดับย่อย: Passeri
วงศ์: Sturnidae
Rafinesque, 1815
สกุล

สกุลที่พบในออสเตรเลียและภูมิภาคเขตร้อน[1]

สกุลที่พบในเขตชีวภาพพาลีอาร์กติก[2]

วงศ์นกเอี้ยงและนกกิ้งโครง (อังกฤษ: Starlings, Mynas) เป็นวงศ์ของนกเกาะคอนในกลุ่มนกร้องเพลง ใช้ชื่อวงศ์ว่า Sturnidae

จัดเป็นนกขนาดเล็กถึงขนาดกลางในอันดับนี้ มีขนาดลำตัวตั้งแต่ 19-30 เซนติเมตร มีลักษณะเด่น คือ จะงอยปากค่อนข้างแบนข้างเล็กน้อย และยาวกว่าหัว รูจมูกไม่มีสิ่งปกคลุมและไม่ทะลุถึงกันเพราะมีผนังกั้น และตั้งอยู่ใกล้มุมปากมากกว่าจะงอยปากบน มุมปากไม่มีขนแข็ง จะงอยปากแข็งแรง ปลายปีกแหลม มีขนปลายปีก 10 เส้น ขนหางมี 12 เส้น ขาแข้งอ้วนสั้นปกคลุมด้วยเกล็ดชนิดเกล็ดซ้อน แข้งยาวกว่านิ้วที่ 3 รวมเล็บ บริเวณโคนนิ้วเป็นอิสระ หางสั้น บินเก่ง บินเป็นแนวตรง นกที่มีขนาดเล็ก จะมีปีกเรียวยาว ในขณะที่นกขนาดใหญ่กว่าจะมีปีกที่กว้างและมนกว่า มักมีสีขนที่เข้ม[3] [4]

มีนิเวศวิทยาที่กระจายพันธุ์ไปในหลายพื้นที่ทั้งในป่าทึบ ภูเขา หรือแม้กระทั่งพื้นที่เปิดโล่งหรือตามชุมชนเมืองที่อยู่อาศัยของมนุษย์ มีพฤติกรรมที่เป็นที่รู้จักดีคือ อยู่รวมกันเป็นฝูง ชอบส่งเสียงร้องดัง ร้องเก่ง และสามารถเลียนเสียงต่าง ๆ ได้ แม้แต่ภาษาพูดของมนุษย์ จึงนิยมนำมาเป็นสัตว์เลี้ยง กินอาหารจำพวกแมลง เมล็ดพืช และผลไม้ สร้างรังอยู่ตามกิ่งไม้หรือบนยอดมะพร้าว ต้นปาล์ม บางชนิดทำรังอยู่ในโพรง โดยจะไม่เจาะโพรงเอง แต่จะอาศัยโพรงเก่าหรือแย่งมาจากสัตว์หรือนกชนิดอื่น มีอาณาเขตของตนเองและจะปกป้องอาณาเขต[4] ทั่วโลกทั้งหมดราว 112 ชนิด ใน 28 สกุล (ดูในตาราง-บางข้อมูลจำแนกมี 27 สกุล[5]) พบได้ทั้งเอเชีย ยุโรป แอฟริกา อเมริกาเหนือ ออสเตรเลียทางตอนเหนือ และนิวซีแลนด์ และยังแบ่งออกได้เป็น 2 เผ่า คือ Sturnini และMimini[4]

ในประเทศไทยพบ 16 ชนิด ชนิดที่เป็นที่รู้จักกันดี ได้แก่ นกเอี้ยง (Acridotheres tristis), นกเอี้ยงหงอน (A. garndis) นกขุนทอง (Gracula religiosa) เป็นต้น[3] [6]

นกในวงศ์นกเอี้ยงและนกกิ้งโครงที่พบในประเทศไทย[แก้]

มีทั้งนกอพยพ, นกพลัดหลง และนกประจำถิ่น ซึ่งทุกชนิดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองทั้งหมด[7]

อ้างอิง[แก้]

  1. R. East and R. P. Pottinger (November 1975). "(Sturnus vulgaris L.) predation on grass grub (Costelytra zealandica (White), Melolonthinae) populations in Canterbury". New Zealand Journal of Agricultural Research (The Royal Society of New Zealand) 18 (4) : 417–452. ISSN 0028-8233. (See p. 429.)
  2. Craig, Adrian; Feare, Chris (2009). "Family Sturnidae (Starlings)". In del Hoyo, Josep; Elliott, Andrew; Christie, David. Handbook of the Birds of the World. Volume 14: Bush-shrikes to Old World Sparrows. Barcelona: Lynx Edicions. pp. 654–709. ISBN 978-84-96553-50-7.
  3. 3.0 3.1 3.2 Feare, Chris; Craig, Adrian (1999). Starlings and Mynas. Princeton University Press. ISBN 0-7136-3961-X.
  4. 4.0 4.1 4.2 อนุกรมวิธานนกในประเทศไทย
  5. "Sturnidae". ระบบข้อมูลการจำแนกพันธุ์แบบบูรณาการ.
  6. วงศ์นกเอี้ยงและนกกิ้งโครง
  7. สัตว์ป่าคุ้มครอง

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]