ดีอาร์ดีโอ ทักษ์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก ดีอาร์ดีโอ ดักช์)
ทักษ์ - ยานพาหนะปฏิบัติการระยะไกล ที่ได้รับการพัฒนาโดยหน่วยงานวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีป้องกันประเทศของอินเดีย (ดีอาร์ดีโอ)

ดีอาร์ดีโอ ทักษ์ (เบงกอล: ডিআরডিও দক্ষ; อังกฤษ: DRDO Daksh) เป็นหุ่นยนต์ที่ขับเคลื่อนด้วยระบบไฟฟ้าและควบคุมจากระยะไกลสำหรับการหาที่ตั้ง, การจัดการ และการทำลายวัตถุอันตรายได้อย่างปลอดภัย[1]

คุณลักษณะ[แก้]

ทักษ์เป็นหุ่นยนต์ทำงานระบบแบตเตอรี่ควบคุมระยะไกลที่เคลื่อนตัวบนล้อ และบทบาทของมันคือการกู้วัตถุระเบิด ซึ่งได้รับการพัฒนาโดยหน่วยงานวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีป้องกันประเทศของอินเดีย มันมีการทำงานอัตโนมัติได้อย่างเต็มตัว โดยสามารถปีนบันได, เคลื่อนที่ในทางลาดชัน, นำร่องในทางเดินแคบ ๆ และลากยานพาหนะที่เข้าถึงวัตถุอันตราย ส่วนการใช้แขนหุ่นยนต์ของมัน มันสามารถยกวัตถุต้องสงสัยและตรวจสอบโดยการใช้อุปกรณ์เอ็กซ์เรย์แบบพกพา หากวัตถุต้องสงสัยนั้นเป็นระเบิด ทักษ์ก็สามารถทำให้มีอันตรายน้อยลงได้ด้วยการใช้วอเตอร์เจ็ตของมันเข้าขัดขวาง[2] นอกจากนี้ มันยังมีปืนลูกซองซึ่งสามารถทำลายระบบล็อกเปิดประตู และสามารถสแกนรถยนต์เพื่อตรวจหาวัตถุระเบิด[3] ด้วยสถานีควบคุมหลัก (เอ็มซีเอส) มันสามารถควบคุมจากระยะไกลในช่วง 500 เมตรในระยะของสายตาหรือภายในอาคารได้ ซึ่งเก้าสิบเปอร์เซ็นต์ของชิ้นส่วนของหุ่นยนต์เป็นวัสดุจากท้องถิ่น ทางกองทัพยังได้กำหนดขอบเขตการผลิตทักษ์ไว้ที่ 20 ชุด[4] ห้าหน่วยของชุดแรกได้รับการส่งไปยังทีมเจเนอรัลคอมแบตเอนจิเนียร์สเมื่อวันที่ 19 ธันวาคม ค.ศ. 2011 เทคโนโลยีนี้ได้รับการส่งมอบสำหรับการผลิตจากสามสถานประกอบการ ซึ่งได้แก่ ไดนาล็อก, เธตาคอนโทรลส์ และภารัตอิเล็กทรอนิกส์ จำกัด

คุณสมบัติโดยรวม[แก้]

  • ระบบอัตโนมัติแบบเต็มตัว
  • สามารถต่อต้านอาวุธนิวเคลียร์, อาวุธชีวภาพ และอาวุธเคมีได้
  • มีโล่ป้องกันคลื่นความถี่วิทยุต่อการรบกวนสัญญาณทางไกล สำหรับการเหนี่ยวไกระเบิด

ผู้ดำเนินการ[แก้]

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. Prasad Kulkarni (2008-11-28). "Daksh could be useful in Mumbai operations". The Times of India. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-10-24. สืบค้นเมื่อ 2010-08-31.
  2. ASIAN DEFENCE (2009-08-22). "Bomb Disposal Robot Daksh". Theasiandefence.blogspot.com. สืบค้นเมื่อ 2010-08-31.
  3. "Daksh Remotely Operated Vehicle (ROV)". Army Technology. Verdict Media. สืบค้นเมื่อ 2021-09-29.
  4. T.S. Subramanian (10–23 October 2009). "Focus: DRDO Defence engine". Frontline. Vol. 26 no. 21. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 9 October 2009. สืบค้นเมื่อ 4 November 2013.
  5. Ranjani Raghavan (2009-08-22). "City firms to roll-out anti-bomb robot for Army soon". The Indian Express. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-09-08. สืบค้นเมื่อ 2010-08-31.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]