ข้ามไปเนื้อหา

วงจรการเผยแพร่ซอฟต์แวร์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก ซอฟต์แวร์ระยะพัฒนา)

วงจรการเผยแพร่ซอฟต์แวร์ (อังกฤษ: software release life cycle) เป็นการรวมขั้นตอนการพัฒนาและการเผยแพร่ชิ้นส่วนซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์ ซึ่งเริ่มจากการพัฒนาครั้งแรกไปจนถึงการเผยแพร่ครั้งล่าสุด อีกทั้งยังประกอบไปด้วยการอัปเดตเวอร์ชันที่เผยแพร่ออกมาแล้วอยู่เรื่อย ๆ เพื่อช่วยปรับปรุงซอฟต์แวร์และแก้ไขบั๊กที่ยังปรากฏอยู่ในซอฟต์แวร์ตัวปัจจุบัน

ขั้นตอนการพัฒนา

[แก้]
พรีแอลฟา (pre-alpha)
กล่าวถึงช่วงซอฟต์แวร์ตั้งแต่เริ่มพัฒนาจนถึงระยะแอลฟา
แอลฟา (alpha)
แอลฟาเป็นระดับขั้นของซอฟต์แวร์ที่ถูกพัฒนา แต่ยังคงทดสอบใช้งานกลุ่มผู้ใช้ภายใน (นอกเหนือจากผู้พัฒนา)
เบตา (beta)
เบตาเป็นระดับขั้นที่ผ่านระดับอัลฟา โดยได้ออกให้ผู้ใช้ทั่วไปได้ดาวน์โหลดใช้งาน ก่อนที่จะเปิดตัวอย่างเป็นทางการ โดยระยะเบต้ามีจุดหมายเพื่อทดสอบการใช้งานจริง รวมถึงแจ้งรับฟังการตอบรับจากผู้ใช้งาน ซึ่งจะมีเพิ่มเติมฟังก์ชันการทำงานหรือลูกเล่นได้
อาร์ซี (RC)
อาร์ซี (RC) หรือ รีลีสแคนดิเดต (release-candidate) เป็นระดับขั้นที่พร้อมจะเป็นผลิตภัณฑ์อย่างเป็นทางการ[1] เหลือเพียงตรวจสอบบั๊กที่อาจเกิดอันตรายก่อนจะวางขายให้ใช้งานจริง

เผยแพร่

[แก้]

เมื่อเผยแพร่สู่สาธารณชน ซอฟต์แวร์นั้นจะอยู่ในขั้นที่เรียกว่า "สเตเบิลรีลีส" (stable release)

อ้างอิง

[แก้]

ดูเพิ่ม

[แก้]