ช้อปปี้

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก ช้อปปี้ ไทยแลนด์)
ช้อปปี้
ชื่อทางการค้า
ช็อปปี้
ประเภทบริษัทย่อยของซีกรุ๊ป
อุตสาหกรรม
ก่อตั้ง5 กุมภาพันธ์ 2015; 9 ปีก่อน (2015-02-05)
ควีนส์ทาวน์ ประเทศสิงคโปร์
สำนักงานใหญ่5 Science Park Drive, Shopee Building, สิงคโปร์ 118265
พื้นที่ให้บริการ
เอเชียตะวันออกเฉียงใต้และตะวันออก, ลาตินอเมริกา
บุคลากรหลัก
Chris Feng (CEO)[1]
พนักงาน
มากกว่า 20,000 คน
บริษัทแม่ซีกรุ๊ป (เอ็นวายเอสอีSE)
บริษัทในเครือShopee Japan Co., Ltd[2]
PT. Bank Kesejahteraan Ekonomi
Tinh Tinh E-commerce
เว็บไซต์shopee.com
shopee.co.th (ไทย)

ช้อปปี้ เป็นแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซ มีสำนักงานใหญ่ในประเทศสิงคโปร์ อยู่ภายใต้บริษัท Sea Group (ก่อนหน้านี้รู้จักกันในชื่อ Garena)[3]

ฟอร์เรสต์ หลี่ ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2552[4]

ช้อปปี้เปิดตัวครั้งแรกอย่างเป็นทางการที่ประเทศสิงคโปร์ในปี พ.ศ. 2558 และขยายไปยังประเทศมาเลเซีย ไทย ไต้หวัน อินโดนีเซีย เวียดนาม ฟิลิปปินส์ และบราซิล[5] ให้บริการซื้อและขายสินค้าออนไลน์แก่ผู้ใช้ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และไต้หวัน โดยมุ่งเน้นในแพลตฟอร์มโทรศัพท์เคลื่อนที่และสื่อสังคม[6]

ประวัติ[แก้]

ในปี พ.ศ. 2558 ช้อปปี้เปิดตัวในประเทศสิงคโปร์เป็นที่แรก เป็นตลาดซื้อขายแบบโซเซียลที่มุ่งเน้นการใช้งานผ่านมือถือ มาผสมผสานกันเป็น Marketplace เต็มรูปแบบ ผู้ใช้สามารถเลือกซื้อและขายสินค้าได้ทุกที่ทุกเวลา อีกทั้งยังสนับสนุนด้านโลจิสติกส์ และแพลตฟอร์มการชำระเงิน ซึ่งช่วยอำนวยความสะดวกในการช็อปปิ้งออนไลน์ได้ง่าย ปลอดภัยแก่ผู้ขายและผู้ซื้อ[7]

ไม่นานหลังจากนั้น ช้อปปี้ได้เปิดตัวเว็บไซต์เพื่อแข่งขันในตลาดอีคอมเมิร์ซอื่น ๆ ที่กำลังเติบโตอย่างรวดเร็วในภูมิภาค เช่น Lazada, Tokopedia และ AliExpress[8]

ช้อปปี้ได้สร้างความแตกต่างจากที่อื่น ด้วยการมี "ช้อปปี้ Guarantee" ซึ่งเป็นระบบที่ระงับการชำระเงินให้แก่ผู้ขาย จนกว่าผู้ซื้อจะได้รับสินค้า เพื่อเป็นการรับประกันความปลอดภัยในการช็อปปิ้งออนไลน์ และสร้างความมั่นใจให้แก่ผู้ที่ซื้อ[9]

โครงสร้างธุรกิจ[แก้]

รูปแบบธุรกิจของ ช้อปปี้เริ่มต้นด้วยตลาดระหว่างผู้บริโภคกับผู้บริโภค (C2C) เป็นหลัก และได้เพิ่มช่องทางการตลาดระหว่างธุรกิจกับผู้บริโภค (B2C) ในรูปแบบผสมผสานกัน (Hybrid Model) เมื่อเทียบกับคู่แข่ง ช้อปปี้ไม่เรียกเก็บค่าธรรมเนียม และค่าคอมมิชชั่นกับผู้ขาย ซึ่งถือเป็นข้อได้เปรียบกับผู้ที่มาลงขายสินค้ากับช้อปปี้[10] แต่เนื่องจากการแบกรับค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ทำให้ช้อปปี้เปลี่ยนแปลงเงื่อนไขใหม่ โดยเรียกเก็บค่าธรรมเนียมการชำระเงินร้อยละ 2 จากผู้ขาย โดยมีผลตั้งแต่วันที่ 16 ตุลาคม 2562 เป็นต้นไป ยกเว้นช่องทาง AirPay Wallet ซึ่งเป็นพันธมิตรโดยตรงกับ ช้อปปี้จะไม่เรียกเก็บค่าธรรมเนียมต่อไป[11]

นอกจากนี้ยังทำหน้าที่เป็น Asset Light Marketplace โดยที่ ช้อปปี้ไม่มีคลังสินค้า และเป็นพันธมิตรกับผู้ให้บริการจัดส่งมากกว่า 70 แห่ง เพื่อสนับสนุนด้านโลจิสติกส์แก่ผู้ใช้บริการ ในส่วนประเทศไทย ได้ร่วมมือกับบริษัทขนส่งชั้นนำภายในประเทศในการรับและจัดส่งสินค้า ดังนี้ ไปรษณีย์ไทย[12] Kerry Express[13] และ DHL Express[14] ทั้งนี้ ช้อปปี้แบ่งร้านค้าออกเป็นร้านค้าทั่วไปและร้านค้าทางการ (Shopee Mall) ซึ่งจะเรียกเก็บค่าธรรมเนียมที่ไม่เท่ากัน

ส่วนแบ่งทางการตลาด[แก้]

ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2560 ช้อปปี้มียอดดาวน์โหลดใน App Store เป็นอันดับหนึ่งของแอปพลิเคชันที่สามารถดาวน์โหลดได้ฟรีในระบบ iOS[15] มีผลิตภัณฑ์ที่ใช้งานมากกว่า 180 ล้านรายการ จากผู้ประกอบการกว่า 4 ล้านคน

ในไตรมาสที่ 4 ของปี พ.ศ. 2560 มีมูลค่าการขายสินค้ารวม (GMV) อยู่ที่ 1.6 พันล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งเพิ่มขึ้นถึง 206% จากปีก่อนหน้านี้[16]

เปิดโครงการใหม่[แก้]

ในปี พ.ศ. 2559 ช้อปปี้ได้เปิดตัวโครงการที่เรียกว่า “ช้อปปี้ University” [17] ซึ่งเป็นศูนย์อบรมเชิงปฏิบัติ และฝึกหัดเพื่อช่วยผู้ประกอบการในด้านธุรกิจต่าง ๆ เป็นการสนับสนุน และเสริมสร้างทักษะของลูกค้า โดยเฉพาะผู้ค้ารายย่อยในแบบ C2C ให้ความรู้ในเรื่องต่าง ๆ ให้ตรงตามความต้องการของผู้ค้า[18] ในปี พ.ศ. 2561 ได้เปิดตัว ช้อปปี้ Mall ในประเทศไทยอย่างเป็นทางการ[19]

หุ้นไอพีโอ[แก้]

บริษัทแม่ของช้อปปี้ (บริษัท Sea Group) ได้ซื้อหุ้นสามัญครั้งแรกในตลาดหลักทรัพย์นิวยอร์ก (NYSE)[20] เมื่อเดือนตุลาคม ปีพ.ศ. 2560 ในราคา 1 พันล้านเหรียญสหรัฐ โดยที่ Tencent เป็นผู้ได้รับผลประโยชน์หลังจากการจดทะเบียนในตลาดหุ้นครั้งนี้ มีส่วนแบ่ง 39.7% และ Blue Dolphin Venture ซึ่งเป็นองค์กรที่ตั้งโดย ฟอร์เรสต์ หลี่ ถือหุ้น 15% [21]

รางวัลที่ได้รับ[แก้]

ช้อปปี้ได้รับรางวัล Top Marketplace ในงาน Priceza E-Commerce Awards 2017 ครั้งที่ 2 ซึ่งจัดโดยบริษัท ไพรซ์ซ่า จำกัด (ผู้ให้บริการเว็บไซต์และแอปพลิเคชัน เครื่องมือค้นหาสินค้า และเปรียบเทียบราคา)[22]

ปี รางวัล สาขา ผล
2566 Thailand Zocial Awards 2023[23] Best Brand Performance on Social Media กลุ่มธุรกิจแพลตฟอร์มสำหรับการซื้อขายสินค้า ชนะ

แอมแบสซาเดอร์[แก้]

เมื่อวันที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2560 ช้อปปี้ได้เปิดแคมเปญ ช้อปปี้ 9.9 Mobile Shopping Day มหกรรมลดราคาสินค้าครั้งใหญ่ ในประเทศไทยนับว่าเป็นประเทศที่มีกำลังในการซื้อขายสินค้าสูง และความสนใจของผู้บริโภคที่หันมาให้ความนิยมในการซื้อสินค้าผ่านช่องทางออนไลน์ที่เติบโตขึ้นทุกปี ช้อปปี้จึงให้ความสำคัญกับความต้องการของผู้ใช้งานเป็นหลัก รวมทั้งการพัฒนาแพลตฟอร์มให้ตอบสนองต่อทั้งผู้ขายและผู้ซื้อ ตลอดจนการทำตลาดด้วยการคัดเลือกแบรนด์แอมแบสซาเดอร์ “แบร์รี่ ณเดช คูกิมิยะ” และ “ญาญ่า อุรัสยา เสปอร์บัน” คู่จิ้นขวัญใจคนไทย ที่จะมาช่วยสะท้อนภาพลักษณ์ของแบรนด์ได้อย่างชัดเจน และทั้งคู่ยังเป็นผู้สร้างสีสันหลักให้แก่แคมเปญต่างๆ ของช้อปปี้[24]

ในปี พ.ศ. 2562 ช้อปปี้เริ่มแนะนำแบรนด์แอมแบสซาเดอร์ระดับภูมิภาค เช่น Blackpink วงเกิร์ลกรุ๊ปเกาหลีรุ่นใหม่ ในครึ่งปีแรก[25] และช่วงแคมเปญ 9.9 ช้อปปี้ได้เชิญ คริสเตียโน โรนัลโด นักกีฬาฟุตบอลที่มีชื่อเสียง เพื่อสะท้อนวิสัยทัศน์ความมุ่งมั่นที่จะเป็น 1 เช่นเดียวกับช้อปปี้[26]

อ้างอิง[แก้]

  1. "Chris Feng".
  2. https://prtimes.jp/main/html/rd/p/000000013.000075777.html
  3. [1],Tech Talk Thai (2560), "บริษัท Sea Group (ก่อนหน้านี้รู้จักกันในชื่อ Garena)", สืบค้นเมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม 2561
  4. [2],sanook (25560), “ก่อตั้งขึ้นในปีพ.ศ. 2553 โดย Forrest Li”, สืบค้นเมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม 2561
  5. [3],ThaiPR.net (2561), ช้อปปี้เปิดตัวครั้งแรกอย่างเป็นทางการที่ประเทศสิงคโปร์ในปีพ.ศ. 2558",สืบค้นเมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม 2561
  6. [4],นครินทร์ วนกิจไพบูลย์ (2561),"มุ่งเน้นในแพลทฟอร์มโมบาย และโซเซียล", สืบค้นเมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม 2561
  7. [5][ลิงก์เสีย],ปิยนุช ผิวเหลือง (2559),"ช้อปปี้เปิดตัวในประเทศสิงคโปร์เป็นที่แรก",สืบค้นเมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม 2561
  8. [6],Kancharaj Wareesoonthorn (2561),"Lazada, Tokopedia และ AliExpress",สืบค้นเมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม 2561
  9. [7],Sanook (2559), “ช้อปปี้ Guarantee”, สืบค้นเมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม 2561
  10. [8],ประชาชาติธุรกิจ ไอซีที (2558),"ช้อปปี้ไม่เรียกเก็บค่าธรรมเนียม และค่าคอมมิชชั่นกับผู้ขาย", สืบค้นเมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม 2561
  11. [9],"ช้อปปี้จะเปลี่ยนแปลงค่าธรรมเนียมการให้บริการ", สืบค้นเมื่อวันที่ 4 ธันวาคม 2562
  12. [10],ประชาชาติธุรกิจออนไลน์ (2559), "บริษัท ไปรษณีย์ไทย", สืบค้นเมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม 2561
  13. [11]help shopee, "Kerry Express", สืบค้นเมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม 2561
  14. [12][ลิงก์เสีย]สยามโฟน ดอตคอม (2561), "DHL Express" ,สืบค้นเมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม 2561
  15. [13]PR News (2560), "ช้อปปี้มียอดดาวน์โหลดแอปพลิเคชันใน App Store เป็นอันดับหนึ่ง", สืบค้นเมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม 2561
  16. [14][ลิงก์เสีย],กัมปนาท กาญจนาคาร Web editor (2560),"มีมูลค่าการขายสินค้ารวม (GMV) อยู่ที่ 1.6 พันล้านเหรียญสหรัฐ", สืบค้นเมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม 2561
  17. [15],PR News (2561), "ช้อปปี้ University", สืบค้นเมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม 2561
  18. [16][ลิงก์เสีย],Nanji (2561), "เราให้การสนับสนุน และเสริมสร้างทักษะของลูกค้า", สืบค้นเมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม 2561
  19. [17],Matichon Online (2561), "ได้เปิดตัว ช้อปปี้Mall ในประเทศไทยอย่างเป็นทางการ", สืบค้นเมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม 2561
  20. [18],Marketing Oops! (2560), "บริษัทแม่ของ ช้อปปี้(บริษัท Sea Group) ได้ซื้อหุ้นสามัญครั้งแรกในตลาดหลักทรัพย์นิวยอร์ก (NYSE)"
  21. [19],Kancharaj Wareesoonthorn (2560), "Sea เตรียม IPO เตรียมเข้าตลาดหุ้นในอเมริกา ระดมทุน 1 พันล้านเหรียญฯ",สืบค้นเมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม 2561
  22. [20][ลิงก์เสีย], Techsauce Team (2560), "Priceza E-Commerce Awards 2017", สืบค้นเมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม 2561
  23. "ประกาศผล Thailand Social Awards ครั้งที่ 11 แบรนด์และผู้ทรงอิทธิพลบนโลกโซเชียลยกทัพร่วมงานคับคั่ง". ไทยรัฐ. 2023-02-24. สืบค้นเมื่อ 2023-02-25.
  24. [21],nineFangKhaoW (2561),"SHOPEE ดึง “ณเดช-ญาญ่า” สองซุปตาร์คู่จิ้นเป็นแบรนด์แอมบาสเดอร์", สืบค้นเมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม 2561
  25. [22] เก็บถาวร 2019-08-19 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, Righthand(2562),"ช้อปปี้ผนึกกำลัง BLACKPINK เอาใจสาวกเกาหลี ช้อปสินค้าสุดเอ็กซ์คลูซีฟ จาก YG Official Shop”,สืบค้นเมื่อวันที่ 23 มกราคม 2562
  26. [23],THE STANDARD TEAM(2562),"ช้อปปี้เล่นใหญ่ ดึง คริสเตียโน โรนัลโด ขึ้นแท่นแบรนด์แอมบาสเดอร์ ประเดิมแคมเปญ 9.9 Super Shopping Day”,สืบค้นเมื่อวันที่ 18 สิงหาคม 2562