จอห์น เมย์นาร์ด เคนส์
จอห์น เมย์นาร์ด เคนส์ | |
---|---|
เกิด | 5 มิถุนายน พ.ศ. 2426 เคมบริดจ์, อังกฤษ, สหราชอาณาจักร |
เสียชีวิต | 21 เมษายน พ.ศ. 2489 (62 ปี) ทิลตัน, อีสต์ซัสเซกซ์, อังกฤษ, สหราชอาณาจักร |
ยุค | เศรษฐศาสตร์แบบเคนส์ |
แนวทาง | นักเศรษฐศาสตร์ชาวตะวันตก |
สำนัก | เศรษฐศาสตร์แบบเคนส์ |
ความสนใจหลัก | เศรษฐศาสตร์, เศรษฐศาสตร์การเมือง, ความน่าจะเป็น |
แนวคิดเด่น | เศรษฐศาสตร์มหภาค, ผู้ก่อตั้งเศรษฐศาสตร์สำนักเคนส์เซี่ยน, ตัวค่าใช้จ่ายทวีคูณ, แบบจำลองอุปสงค์รวมและอุปทานรวม |
ได้รับอิทธิพลจาก
| |
เป็นอิทธิพลต่อ
|
จอห์น เมย์นาร์ด เคนส์ บารอนแห่งเคนส์ ที่หนึ่ง[1] (อังกฤษ: John Maynard Keynes, 1st Baron Keynes; 5 มิถุนายน พ.ศ. 2426 – 21 เมษายน พ.ศ. 2489) เป็นนักเศรษฐศาสตร์ ชาวอังกฤษ เกิดที่ เคมบริดจ์, ประเทศอังกฤษ สหราชอาณาจักร ผู้เสนอแนวคิดเศรษฐศาสตร์แบบเคนส์ (Keynesian Economics) แนวความคิดทางเศรษศาสตร์ของเคนส์มีอิทธิพลต่อทฤษฎีเศรษศาสตร์มหภาคสมัยใหม่เป็นอย่างมาก รวมไปถึงนโยบายเศรษฐกิจที่รัฐบาลนำมาใช้ในการบริหารเศรษฐกิจของประเทศ เริ่มแรกเคนส์ศึกษาเรื่องสาเหตุของวัฏจักรธุรกิจ (อังกฤษ: business cycles) และเรียกร้องให้มีการใช้นโยบายทางการคลังและการเงินเพื่อผ่อนคลายผลกระทบที่เกิดจากภาวะเศรษฐกิจถดถอยและตกต่ำ เคนส์ได้รับการยอมรับว่าเป็นหนึ่งในบิดาของเศรษฐศาสตร์มหภาคยุคใหม่และนับได้ว่าเป็นนักเศรษฐศาสตร์ที่มีอิทธิพลทางความคิดมากที่สุดของศตวรรษที่ยี่สิบ
เคนส์ได้ทำงานที่หนังสือ อีโคโนมิคจอร์นัล เป็นที่แรก และได้เขียนหนังสือที่เกี่ยวข้องกับเศรษฐศาสตร์หลายฉบับ เช่น ทฤษฎีทั่วไปเกี่ยวกับการจ้างงาน, ดอกเบี้ย และเงินตรา (The General Theory of Employment, Interest and Money)
เขาเป็นผู้ที่สร้างผลงาน ซึ่งพลิกวงการเศรษฐศาสตร์กระแสหลัก(คือ เศรษฐศาสตร์สำนักคลาสสิก ในสมัยนั้น) ก็คือ การให้รัฐเข้าไปแทรกแซงและสนับสนุนให้ใช้นโยบายของรัฐ อันได้แก่ นโยบายการเงินและนโยบายการคลัง (Monetary Policy & Fiscal Policy) อันจะกระตุ้นให้เกิด อุปสงค์ที่มีประสิทธิผล (Effective Demand) แทนที่จะปล่อยให้เป็นหน้าที่ของ กลไกตลาด ที่เป็นแนวความคิดของ อดัม สมิธ ซึ่งอาจก่อให้เกิดความล้มเหลวได้
ประโยคสำคัญซึ่งท้าทายเศรษฐศาสตร์แบบเดิม คือประโยค "In the long run, we are all dead" (ในระยะยาว พวกเราก็ตายกันหมดแล้ว) ซึ่งสะท้อนเรื่องความไม่สมบูรณ์ของการปรับตัวในระยะยาว
เหล่านักเศรษฐศาสตร์ต่างยกให้ จอห์น เมย์นาร์ด เคนส์ เป็นหนึ่งในผู้ก่อตั้งหลักของสาขาวิชา เศรษฐศาสตร์มหภาค (Macroeconomics)
ประวัติ ชีวิตสมรสของจอห์น
[แก้]บุคลิกลักษณะและชีวิตสมร
[แก้]จอห์น เมย์นาร์ด เคนส์เกิดที่ บ้านเลขที่ 6 ใน ถนนฮาร์เวย์, เคมบริดจ์,[2] เป็นบุตรชายของ จอห์น เนวิล เคนส์ เป็นอาจารย์สอนบรรยายทางด้านเศรษฐศาสตร์ ที่ มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ กับ ฟอลเรนซ์ เอด้า บราวน์ มีน้องชาย 1 คน ชื่อ กอลเฟย์ เคนส์ (พ.ศ. 2420 - 2525) เป็นหมอผ่าตัด และ น้องสาว 1 คน ชื่อ มาร์กาแร็ต เคนส์ (พ.ศ. 2433 - 2517) ซึ่งภายหลังได้สมรสกับ บุคคลที่ได้รับรางวัลโนเบล สาขาทางด้านจิตวิทยา ชื่อว่า อาร์ชิบาร์ด ฮิลล์
การศึกษา
[แก้]จอห์น เมย์นาร์ด เคนส์ได้เข้าศึกษาต่อระดับอุดมศึกษาที่ คิงส์ คอลเลจ เคมบริดจ์ ใน ปี พ.ศ. 2445 สาขาวิชา คณิตศาสตร์ แต่นักเศรษฐศาสตร์ผู้มีชื่อเสียงอย่าง อัลเฟรด มาร์แชล ขอร้องให้เขามาเป็นนักเศรษฐศาสตร์[3] ซึ่งเวลานั้นเขาเป็นประธานชมรมลัทธิเสรีนิยมที่มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์อยู่ เขาสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี ศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาคณิตศาสตร์ ใน ปี พ.ศ. 2448 และระดับปริญญาโท ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต ใน ปี พ.ศ. 2451
การเสียชีวิต
[แก้]จอห์น เมย์นาร์ด เคนส์ เสียชีวิตด้วย โรคหัวใจ ที่บ้านพัก ใน ทิลตัน, อีสต์ ซุสเซ็ก ในวันที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2489 หลังจากนั้นอีก 3 ปี จอห์น เนวิล เคนส์ (พ.ศ. 2395 - 2492) ซึ่งเป็นบิดาของเคนส์ ได้เสียชีวิตลงในเวลาต่อมา
บุคลิกลักษณะและความเชื่อ
[แก้]มุมมองทางด้านศาสนา
[แก้]จอห์น เมย์นาร์ด เคนส์เคยรับใช้ที่โบสถ์ในช่วงวัยรุ่น[4] แต่หลังจากเข้าเรียนมหาวิทยาลัย เขานับถือ ลัทธิ ที่เชื่อว่าไม่สามารถพิสูจน์ได้ถึงการมีอยู่ของพระเจ้า จนกระทั่งเขาเสียชีวิต[5]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Jenkins, Nicholas. "John Maynard Keynes 1st Baron Keynes (I7810)". W. H. Auden – 'Family Ghosts'. Stanford University. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-10-26. สืบค้นเมื่อ 18 October 2011.
- ↑ "John Maynard Keynes". John Maynard Keynes. สืบค้นเมื่อ 2008-05-20.
- ↑ McGee, Matt (2005). Economic - In terms of The Good, The Bad and The Economist. IBID Press. p. 354. ISBN 1876659106.
- ↑ "The anti-Christian economics of John Maynard Keynes". U-Turn. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-10-15. สืบค้นเมื่อ 2008-11-20.
- ↑ Lubenow, William C (1998). The Cambridge Apostles, 1820-1914. Cambridge University Press. ISBN 0521572134.