ความเข้มข้นเฉลี่ยของฮีโมโกลบินในเม็ดเลือดแดง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ฮีโมโกลบิน

ความเข้มข้นเฉลี่ยของฮีโมโกลบินในเม็ดเลือดแดง (อังกฤษ: Mean corpuscular hemoglobin concentration หรือ MCHC) คือ ค่าความเข้มข้นเฉลี่ยของฮีโมโกลบินในเม็ดเลือดแดง ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการตรวจนับเม็ดเลือดอย่างสมบูรณ์

คำนวณได้จากหารค่าฮีโมโกลบินด้วยค่าฮีมาโตคริต ช่วงค่าอ้างอิงอยู่ที่ 32 - 36 g/dl,[1] หรือ ระหว่าง 4.9 - 5.5 mmol/L[2]. ซึ่งเป็นความเข้มข้นโดยมวลหรือโมล แต่ก็มีการรายงานผลเป็นเปอร์เซนต์ (%) เช่นกัน[3][4] โดยคิดจากสัดส่วนมวล (mass fraction) ของ mHb / mRBC อย่างไรก็ตาม ค่า MCHC ที่คิดเป็น g/dl หรือสัดส่วนมวลก็มีค่าเหมือนกัน ถ้าสมมติว่าความหนาแน่นของเม็ดเลือดแดงอยู่ที่ 1 g/mL และฮีโมโกลบินในพลาสมาไม่มีความสำคัญ

การแปลผล[แก้]

ค่า MCHC จะต่ำในโลหิตจางชนิดเม็ดเลือดขนาดเล็ก (microcytic anemia) และมีค่าปกติใน โลหิตจางชนิดเม็ดเลือดขนาดใหญ่ (macrocytic anemia) เนื่องจากเซลล์ที่มีขนาดใหญ่ ปริมาณของฮีโมโกลบินหรือ MCH จะสูง ดังนั้น ความเข้มข้นจึงดูปกติ ค่า MCHC จะสูงใน hereditary spherocytosis, sickle cell disease และ homozygous hemoglobin C disease [5]

ค่า MCHC สามารถใช้เป็นแนวทางอย่างคร่าว ๆ ในการดูสีของเม็ดเลือดแดง เช่น สีจาง คือ ต่ำกว่าปกติ

Complications with cold agglutinin[แก้]

เมื่อเราใช้เครื่องอัตโนมัติในการคำนวณค่า MCHC เราสามารถพบค่า MCHC ที่สูงมาก (มากกว่า 370 g/L) ได้เมื่อเกิดภาวะ cold agglutinin ซึ่งเป็นภาวะที่เลือดจะเกาะกลุ่มกันเมื่ออุณหภูมิต่ำกว่า 37°C เครื่องอัตโนมัติจึงอาจคำนวณว่ามีจำนวนเซลล์ที่ต่ำกว่าความเป็นจริง ดังนั้น เราควรทำให้อุณหภูมิของเลือดอยู่ในภาวะที่ทำให้เซลล์แยกออกจากกันก่อนที่จะนำเข้าไปในเครื่องอัตโนมัติ

เมื่อใช้เครื่องอัตโนมัติในการคำนวณและพบว่าค่า MCHC มีค่าสูงมากกว่า 370 g/L หรือ 37.0 g/dL ควรปฏิบัติดังนี้

  1. กลับหลอดเลือดไปมาอีกครั้ง - รายงานผลที่ถูกต้อง
  2. นำไปอุ่นที่ 37°C - รายงานผลที่ถูกต้อง และเขียนว่าอาจเกิด cold agglutinin
  3. แทนด้วยน้ำเกลือ - แทนพลาสมาด้วยน้ำเกลือในปริมาณที่เท่ากัน เพื่อกำจัดสิ่งรบกวน เช่น ไขมันในเลือดสูง (Lipemia) และ Auto-immune antibodies -รายงานผลที่ถูกต้อง และเขียนว่า ไขมันในเลือดสูง
  4. ตรวจสอบจากฟิล์มเลือดสำหรับ Spherocytosis เช่น ใน Hereditary spherocytosis

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. http://www.nlm.nih.gov/medlineplus/ency/article/003648.htm
  2. Derived from mass concentration, using molar mass of 64,458 g/mol (Van Beekvelt MC, Colier WN, Wevers RA, Van Engelen BG (2001). "Performance of near-infrared spectroscopy in measuring local O2 consumption and blood flow in skeletal muscle". J Appl Physiol. 90 (2): 511–519. PMID 11160049.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)). 1 g/dL = 0.1551 mmol/L
  3. Blood Test Results - Normal Ranges Bloodbook.Com. Retrieved on Jan 7, 2009
  4. MedicineNet > Definition of MCHC เก็บถาวร 2011-08-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน Last Editorial Review: 7/21/1999
  5. Rifkind, David; Cohen, Alan S. (2002). The Pediatric Abacus. Informa Healthcare. p. 54. ISBN 1-84214-147-3.{{cite book}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]