ศาสนาพุทธในสหรัฐอเมริกา
บทความนี้ยังต้องการเพิ่มแหล่งอ้างอิงเพื่อพิสูจน์ความถูกต้อง คุณสามารถพัฒนาบทความนี้ได้โดยเพิ่มแหล่งอ้างอิงตามสมควร เนื้อหาที่ขาดแหล่งอ้างอิงอาจถูกลบออก
|
พระพุทธศาสนา เริ่มเผยแผ่เข้าสู่สหรัฐอเมริกาเมื่อประมาณ พ.ศ. 2424 โดยพันเอก เอช. เอส. ออลคอตต์ ได้แต่งหนังสือชื่อ ปุจฉาวิสัชชนาทางพระพุทธศาสนา (Buddhist Catechism ) ขึ้นเผยแผ่แต่คนยังไม่ได้ให้ความสนใจเท่าใดนัก จนกระทั่งใน พ.ศ. 2436 อนาคาริก ธรรมปาละ พุทธศาสนิกชาวลังกาได้เดินทางเข้าไปเผยแผ่พระพุทธศาสนาเป็นครั้งแรกในสหรัฐอเมริกา จึงเริ่มมีผู้นับถือพระพุทธศาสนาเพิ่มขึ้น ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นชาวจีนและชาวญี่ปุ่นเท่านั้น
ใน พ.ศ. 2448 ได้สร้างวัดทางพระพุทธศาสนานิกายสุขาวดี ขึ้นที่นครซานฟรานซิสโก โดยชาวญี่ปุ่นเพื่อใช้ประโยชน์ในการบำเพ็ญศาสนกิจ และเป็นศูนย์กลางในการปฏิบัติธรรม ซึ่งทำให้ชาวอเมริกันเริ่มหันมาให้ความสนใจกับพระพุทธศาสนามากขึ้น
ใน พ.ศ. 2457 ได้มีการจัดตั้งสมาคมพระพุทธศาสนาแห่งสหรัฐอเมริกาขึ้น ซึ่งสมาคมนี้ในปัจจุบันก็ยังดำรงอยู่และขยายสาขาไปยังรัฐต่างๆ เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ โดยมีสำนักงานใหญ่อยู่ที่ เมืองซานฟรานซิสโก รัฐแคลิฟอร์เนีย
ใน พ.ศ. 2504 มหาวิทยาลัยวิสคอนซินได้เปิดการสอนหลักสูตรพุทธศาสตร์ ขึ้นในระดับปริญญาเอก และต่อมาในปี พ.ศ. 2518 จึงได้ตั้งมหาวิทยาลัยพุทธธรรม ขึ้นในรัฐแคลิฟอร์เนีย โดยเปิดสอน สาขาวิชาพระพุทธศาสนา ตั้งแต่ระดับปริญญาตรีจนถึงปริญญาเอก ซึ่งการเผยแผ่พระพุทธศาสนาในสหรัฐอเมริกานั้น จัดว่ามีความสมบูรณ์ทุกประการ เช่น การจัดปาฐกถา การอภิปราย สนทนาธรรม สัมมนาทางวิชาการ การจัดอบรมทางพระพุทธศาสนาภาคฤดูร้อน เปิดโรงเรียนพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ การแสดงพระธรรมเทศนา การบำเพ็ญกุศลในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา นอกจากนี้ยังมีวารสารนวสูร ที่มีบทบาทสำคัญในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาขององค์การพระพุทธศาสนานานาชาติอีกด้วย
เนื้อหา
พระพุทธศาสนาในสหรัฐอเมริกาในปัจจุบัน[แก้]
ประเทศสหรัฐอเมริกานับว่ามีกิจกรรมต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนาแพร่หลายและกว้างขวางที่สุด ที่เป็นเช่นนี้เพราะมีชาวไทยและชาวเอเชียที่นับถือพระพุทธศาสนาอยู่กระจัดกระจายตามรัฐต่าง ๆ ในสหรัฐอเมริกาเป็นจำนวนมากไม่ต่ำกว่า 600,000 คน ส่วนใหญ่เป็นชาวเอเชียที่ตั้งถิ่นฐานอยู่ในสหรัฐอเมริกา โดยเฉพาะคนไทยที่อยู่กันหนาแน่ในบางเมือง เช่น ลอสแอนเจลิส ซานฟรานซิสโก ชิคาโก เป็นต้น ก็ได้ร่วมกันจัดตั้งวัดไทยขึ้นในชุมชนของตน เพื่อประกอบพิธีกรรมทางศาสนาและเป็นแหล่งที่ใช้พบปะสังสรรค์กันระหว่างชาวพุทธ วัดไทยในสหรัฐอเมริกาจึงมีกระจัดกระจายอยู่ตามรัฐต่างๆ เป็นอันมาก ซึ่งมีบทบาทนอกเหนือจากศาสนากิจแล้ว ยังเผยแพร่วัฒนธรรมประเพณีของไทยไปด้วย ได้แก่ การเปิดโรงเรียนพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์และภาคฤดูร้อนให้เด็ก ๆ ลูกหลานไทยที่เกิดเติบโตในสหรัฐอเมริกาได้เรียนรู้พระพุทธศาสนา ภาษาไทย ที่มีความสนใจในพระพุทธศาสนาเข้ามาศึกษาพระพุทธศาสนา และวัฒนธรรมไทยด้วย
รายชื่อวัดไทยในสหรัฐอเมริกา[แก้]
- วัดป่าอภัยคีรี[1]
- วัดวอชิงตันพุทธวนาราม[2]
- วัดพุทธวิปัสสนา เมืองลองบีช[3]
- วัดใหม่สามัคคีธรรม[4]
- วัดพรหมคุณาราม[5]
- วัดไทยลอสแอนเจลิส[6]
- วัดนวมินทรราชูทิศ
อ้างอิง[แก้]
แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]
- List of Buddhist organizations, centers and groups in U.S.A.
- Buddhism — The American Experience, Chapter 1 by Charles Prebish (first chapter is available without charge, complete book must be ordered)
- American Buddhist Net: Buddhist News & Forums
- Surveying the Buddhist Landscape , article by Charles Prebish, from Shambhala Sun
- Global Buddhism: Developmental Periods, Regional Histories, and a New Analytical Perspective , article by Martin Baumann
- Buddhism Comes to Main Street , article by Jan Nattier on UrbanDharma.org
- Buddhist Studies and its Impact on Buddhism in Western Societies, article by Max Deeg
- Archives of American Tibetan Buddhist scholar Alexander Berzin
- Review of Tweed, Thomas A. The American Encounter with Buddhism, 1844-1912. Reviewed by J. I. Bakker
- Buddhism evolves as followers multiply, article from the Poughkeepsie Journal, April 23, 2004
- Shin Buddhism in the American Context, article by Dr. Alfred Bloom
- Chronology of the lives of important persons in the history of Zen in America, from Terebess Online
- A chronology of Theravada Buddhism, from accesstoinsight.org
- Garden State Sangha: Buddhist Organizations in New Jersey USA
- Buddhist organizations in North Carolina
- Timeline of Buddhist history and related events, from awakening.to
- Tricycle: The Buddhist Review, an independent voice of dharma in the West
- The New Georgia Encyclopedia: Buddhism in the U.S.
- Florida Buddhism - Theravada lineage in Florida