การตรวจเชิงกราน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก การตรวจภายใน)
การตรวจเชิงกราน
การแทรกแซง
เส้นที่วาดแสดงการคลำในการตรวจเชิงกราน
ICD-9-CM89.26
ภาพที่แสดงปากช่อง (รูเปิดช่องคลอด) เทียบกับโครงสร้างแวดล้อม โดยผู้ตรวจใช้นิ้วแหวกแคมระหว่างการตรวจเชิงกราน

การตรวจเชิงกราน, การตรวจช่องคลอด หรือนิยมเรียกว่าการตรวจภายใน เป็นการตรวจอวัยวะเชิงกรานของหญิง แบ่งกว้าง ๆ เป็นการตรวจภายนอกและการตรวจภายใน[1]

ในเดือนกรกฎาคม 2557 วิทยาลัยแพทย์อเมริกา (ACP) ออกแนวทางไม่แนะนำการตรวจเชิงกรานเพื่อตรวจคัดโรคในหญิงผู้ใหญ่ไม่ตั้งครรภ์ไม่มีอาการ (แนวทางนี้ไม่พิจารณาการทดสอบแพป) ACP กล่าวว่าไม่มีหลักฐานประโยชน์สนับสนุนการตรวจ แต่มีหลักฐานอันตราย ซึ่งรวมความอึดอัดและการผ่าตัดที่ไม่จำเป็น อันนี้เป็นการแนะนำอย่างเข้ม (strong recommendation) โดยยึดหลักฐานคุณภาพปานกลาง[2] แต่วิทยาลัยสูติแพทย์และนรีแพทย์อเมริกา (ACOG) ไม่เห็นด้วย แม้พวกเขาตอบรับว่าการตรวจเชิงกรานประจำปีเป็นประจำนั้นไม่มีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์สนับสนุน แต่ได้รับการสนับสนุนจากประสบการณ์ทางคลินิกของนรีแพทย์ที่รักษาผู้ป่วย การตรวจเชิงกรานเป็นโอกาสให้นรีแพทย์ทราบปัญหาอย่างการกลั้นไม่อยู่และความผิดปกติทางเพศ และอภิปรายความกังวลของผู้ป่วยโดยทั่วไป[3]

การตรวจ[แก้]

การตรวจภายนอก[แก้]

การตรวจภายนอกมีการดูกายวิภาค รอยโรคผิวหนัง และการคลำบริเวณท้อง

การตรวจภายใน[แก้]

  • การตรวจโดยใช้เครื่องถ่างตรวจ เพื่อหารูเปิดปากมดลูกภายนอก การตรวจหาสิ่งแปลกปลอมและป้ายกวาดปากช่องคลอด ณ จุดนี้ในการตรวจ สิ่งป้ายกวาดชั้นเยื่อบุของปากมดลูกนี้เรียก การทดสอบแพป (แพปสเมียร์) อาจทำการป้ายตรวจช่องคลอดอื่นเพื่อทดสอบโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
  • ใช้สองนิ้วสอดเข้าไปในช่องคลอดจนแยกปากมดลูก แล้วเจ้าหน้าที่สาธารณสุขทดสอบหาอาการกดเจ็บเมื่อโยกปากมดลูก ซึ่งเป็นอาการคลาสสิกที่พบในโรคอักเสบของเชิงกราน ผู้ตรวจคลำมดลูก ซึ่งรวมตำแหน่งของก้นมดลูกและโครงสร้างปีกมดลูก

ความไม่สบาย[แก้]

การตรวจนี้ไม่ควรให้รู้สึกอึดอัดมากเกิน แต่หญิงที่มีการติดเชื้อของช่องคลอดหรืออาการช่องคลอดหดเกร็งอาจรู้สึกเจ็บเมื่อสอดเครื่องถ่างตรวจ การใช้เครื่องถ่างตรวจขนาดเล็กสุดอาจช่วย ระหว่างการตรวจสองมือ การคลำรังไข่อาจเจ็บได้ การทดสอบแพปอาจทำให้เกิดอาการเกร็งบ้างเช่นกัน

อ้างอิง[แก้]

  1. "Examination of the Female Pelvis". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2001-11-15. สืบค้นเมื่อ 2007-12-09.
  2. Qaseem, A; Humphrey, LL; Harris, R; Starkey, M; Denberg, TD; Clinical Guidelines Committee of the American College of, Physicians (Jul 1, 2014). "Screening pelvic examination in adult women: a clinical practice guideline from the American College of Physicians". Annals of internal medicine. 161 (1): 67–72. doi:10.7326/M14-0701. PMID 24979451.[Free text]
  3. ACOG Practice Advisory on Annual Pelvic Examination Recommendations เก็บถาวร 2014-07-08 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน June 30, 2014