โรงเรียนสุรวิทยาคาร

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
โรงเรียนสุรวิทยาคาร
ละติน: Surawittayakarn School
ที่ตั้ง

ข้อมูล
ชื่ออื่นส.ว.ค (S.W.K.)
ประเภทโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่พิเศษ
โรงเรียนรัฐบาล
สหศึกษา
คำขวัญความประพฤตินำหน้า วิชาตามหลัง
นตฺถิ ปญฺญา สมาอาภา
(แสงสว่างเสมอด้วยปัญญา ไม่มี)
ผู้ก่อตั้ง6 เมษายน พ.ศ. 2452 (115 ปี)
เขตการศึกษาสพม.สุรินทร์
หน่วยงานกำกับกระทรวงศึกษาธิการ
รหัส1011320101
ผู้อำนวยการนายสมศักดิ์ บุญโต
รองผู้อำนวยการนายธีรภาพ วลามิตร
นางณัฐชานันท์ พระทองสุขสกุล
นายอัฐพงศ์ จารุทรัพย์สดใส
นางอภิรดี มีสติ
ครู/อาจารย์215 คน
ระดับชั้น
  • มัธยมศึกษาตอนต้น (ม.1-3)
  • มัธยมศึกษาตอนปลาย (ม.4-6)
ระดับปีที่จัดการศึกษามัธยมศึกษา​ตอนต้น-มัธยมศึกษา​ตอนปลาย
จำนวนนักเรียน3,453 คน [1]
ภาษาที่ใช้เป็นสื่อการสอนภาษาที่มีการเรียนการสอนในโรงเรียน
ไทย ภาษาไทย
สหราชอาณาจักร ภาษาอังกฤษ
จีน ภาษาจีน
ญี่ปุ่น ภาษาญี่ปุ่น
เวียดนาม ภาษาเวียดนาม
กัมพูชา ภาษาเขมร
ฝรั่งเศส ภาษาฝรั่งเศส
ห้องเรียน91 ห้อง
วิทยาเขตหลัก
สี   สีเขียว​-สีเหลือง
เพลง"มาร์ชศรีสุระ"

“มาร์ชสุรวิทยาคาร”

“ลูกสุระ”
สังกัดสำนักงาน​เขต​พื้นที่​การศึกษา​มัธยมศึกษา​สุรินทร์
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
กระทรวงศึกษาธิการ
ศิษย์เก่าสมาคมนักเรียนเก่าโรงเรียนสุรวิทยาคาร
ต้นไม้ประจำโรงเรียนกันเกรา
เว็บไซต์www.sura.ac.th

โรงเรียนสุรวิทยาคาร (อังกฤษ : Surawittayakarn School; อักษรย่อ : ส.ว.ค./ S.W.K.) เป็นโรงเรียนรัฐบาลระดับมัธยมศึกษาแห่งหนึ่งในจังหวัดสุรินทร์​ โดยถือเป็นโรงเรียนประจำจังหวัดสุรินทร์ เปิดทำการสอนในรูปแบบสหศึกษา ประเภทโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่พิเศษ สังกัดสำนักงานเขตการศึกษามัธยมศึกษาสุรินทร์ เป็นโรงเรียนในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ ตั้งอยู่ที่ 372 ถนนหลักเมือง ตำบลในเมือง อำเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์[2]

ประวัติ[แก้]

โรงเรียนสุรวิทยาคาร ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2452 เมื่อแรกตั้งได้อาศัยศาลาโรงธรรมของวัดจุมพลสุธาวาส เป็นสถานที่เล่าเรียนเฉพาะระดับประถมศึกษา แต่ไม่ทราบจำนวนครูและนักเรียน เนื่องจากไม่มีหลักฐานระบุไว้

ตราประจำโรงเรียนสุรวิทยาคาร เป็นรูปพระพักตร์ของพระอินทร์อยู่บนตัวอักษร ส.ว.ค. มีห่วง 3 ห่วงไขว้อยู่ด้านหลัง ความหมายคือ พระอินทร์ หมายถึงผู้เป็นใหญ่ตรงคำว่า “สุระ” นำมาเป็นชื่อว่า “สุรวิทยาคาร”

      – สุระ แปลว่า กล้าหาญ เข้มแข็ง

      – วิทยา แปลว่า ความรู้

      – อาคาร หมายถึง สถานที่ให้ความรู้แก่ผู้เก่งกล้า

สามห่วง หมายถึง องค์ประกอบของการศึกษา ซึ่งประกอบด้วย

พุทธิศึกษา ด้านวิชาความรู้ ได้แก่ วิชาการทั้งหลาย

จริยศึกษา ด้านความประพฤติ ได้แก่ ศีลธรรม จรรยา มารยาท

พลศึกษา ด้านสุขภาพอนามัย ได้แก่ การมีพลานามัยสมบูรณ์

ปรัชญาโรงเรียน : นตฺถิ ปญฺญาสมา อาภา แสงสว่างเสมอด้วยปัญญาไม่มี

คำขวัญประจำโรงเรียน

ความประพฤตินำหน้า วิชาตามหลัง

สีประจำโรงเรียน

เขียว – เหลือง

เขียว เป็นสัญลักษณ์ของความชุ่มชื่นร่มเย็น

เหลือง เป็นสัญลักษณ์แห่งความสว่างหรือปัญญา เป็นสีแห่งพระพุทธศาสนา[3]

  • พ.ศ. 2456 กระทรวงธรรมการได้แต่งตั้งนายอู๋ เกตุศิริ มาเป็นครูใหญ่และเป็นธรรมการจังหวัดสุรินทร์คนแรก
  • พ.ศ. 2458 ได้ย้ายโรงเรียนไปอาศัยเรียนที่ศาลาโรงธรรมวัดบูรพาราม
  • พ.ศ. 2460 ราชบุรุษยา ดำรงตำแหน่งครูใหญ่ โรงเรียนเปิดสอนถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
  • พ.ศ. 2461 ราชบุรุษแห (ปป.) ดำรงตำแหน่งครูใหญ่ นอกจากเปิดทำการสอนระดับมัธยมศึกษาแล้ว ยังเปิดสอนในระดับฝึกหัดครูประกาศนียบัตรด้วย
  • พ.ศ. 2463 ราชบุรุษเยื้อน รัชตะกสิกร ดำรงตำแหน่งครูใหญ่ จำนวน 7 ชั้นเรียน
  • พ.ศ. 2464 นายเลื่อน สุวรรณาคร ดำรงตำแหน่งครูใหญ่ เปิดสอนตั้งชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ถึงมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีครู 8 คน นักเรียน 239 คน เริ่มเก็บเงินค่าเล่าเรียนในปีนี้และได้ย้ายนักเรียนมาเรียนรวมกันที่อาคารสร้างใหม่ (บริเวณศาลากลางจังหวัดสุรินทร์ในปัจจุบัน)
  • พ.ศ. 2569 กระทรวงศึกษาธิการ (ธรรมการ) ได้ให้งบประมาณก่อสร้างอาคารเรียน ในสมัยพระยาเสนานุชิตกับพระยาประทุมเทพภักดีเป็นข้าหลวงประจำจังหวัด
  • พ.ศ. 2472 ว่าที่รองอำมาตย์ตรีปาน คงฤทธิ์ (ขุนคงฤทธิ์ศึกษากร) ดำรงตำแหน่งครูใหญ่ โรงเรียนเปิดสอนถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
  • พ.ศ. 2475 นายมั่น เพ็ชรศรีสม (ปป.ก.) ดำรงตำแหน่งครูใหญ่ และเปิดสอนถึงชั้นมัธยมศึกษาปที่ 6
  • พ.ศ. 2478 ได้ย้ายนักเรียนสตรีไปเรียนที่โรงเรียนสตรี มีนักเรียนไปเรียน 150 คน เปิดสอนตั้งแต่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ถึงมัธยมศึกษาปีที่ 3 แต่มีครูใหญ่คนเดียว จนถึงปี พ.ศ. 2480 กระทรวงศึกษาธิการจึงได้แต่งตั้งนายบุญหลาย ไชยกาล มาเป็นครูใหญ่โรงเรียนสตรี
  • พ.ศ. 2479 นายมั่น เพ็ชรศรีสม ถึงแก่แกรรม จังหวัดแต่งตั้งให้นายยรรยง จรัณยานนท์ มารักษาราชการ
  • พ.ศ. 2480 นายยรรยง จรัณยานนท์ ได้รับแต่งตั้งเป็นครูใหญ่
  • พ.ศ. 2481 ได้รับงบประมาณก่อสร้างอาคารหลังใหม่ และสร้างเสร็จเมื่อวันที่ 30 เมษายน 2482
  • พ.ศ. 2484 ยายยรรยง จรัณยานนท์ ย้ายไปดำรงตำแหน่งธรรมการจังหวัดสุรินทร์ จังหวัดแต่งตั้งให้นายมูล (มงคลชัย) เหมริด เป็นครูใหญ่ และตัดชั้นประถมศึกษาออก คงเปิดสอนเฉพาะชั้นมัธยมศึกษา
  • พ.ศ. 2490 นายโกสีย์ แก้วคูณ ดำรงตำแหน่งครูใหญ่
  • พ.ศ. 2492 นายเกียรติ ศรีพงศ์ ดำรงตำแหน่งครูใหญ่
  • พ.ศ. 2494 กระทรวงศึกษาธิการประกาศเปลี่ยนชื่อโรงเรียน จากโรงเรียนประจำจังหวัดสุรินทร์ เป็น โรงเรียนสุรวิทยาคาร เมื่อวันที่ 11 มิถุนายน 2494
  • พ.ศ. 2496 นายเกียรติ ศรีพงศ์ รับคัดเลือกไปศึกษาต่อ ราชการได้แต่งตั้งให้ นายพินิจ แอกทอง ดำรงตำแหน่งครูใหญ่
  • พ.ศ. 2503 กระทรวงศึกษาธิการประกาศใช้แผนการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2503 จึงตัดชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1,ปีที่ 2 และปีที่ 3 ออกปีละชั้น เปลี่ยนชั้นเรียนเป็นมัธยมศึกษา (ม.ศ.) และได้เปิดสอนชั้นเตรียมอุดมศึกษา แผนกวิทยาศาสตร์
  • พ.ศ. 2511 นายพินิจ แอกทอง ย้ายไปดำรงตำแหน่งอาจารย์ใหญ่โรงเรียนศีรษะเกศวิทยาลัย ทางราชการได้แต่งตั้งนายอุดร เวียงเพิ่ม มาดำรงตำแหน่งแทน
  • พ.ศ. 2513 โรงเรียนได้รับคัดเลือกเข้าอยู่ในโครงการโรงเรียนมัธยมในชนบท (คมช.)
  • พ.ศ. 2519 โรงเรียนได้รับคัดเลือกเข้าโครงการพัฒนาโรงเรียนมัธยมในส่วนภูมิภาค (คมภ.2)
  • พ.ศ. 2529 นายอุดรเวียงเพิ่ม ผู้อำนายการโรงเรียนเกษียณอายุราชการ ทางราชการได้แต่งตั้งนายอุดร มหาเมฆ มาดำรงตำแหน่งแทน
  • พ.ศ. 2532 นายอุดร มหาเมฆ ย้ายไปดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนบุรีรัมย์พิทยาคม ทางราชการได้แต่งตั้งนายชูเกียรติ ลิขสิทธิ์ มาดำรงตำแหน่งแทน
  • พ.ศ. 2533 ได้รับการคัดเลือกจากกระทรวงศึกษาธิการให้ได้รับรางวัลโรงเรียนพระราชทานระดับมัธยมศึกษาขนาดใหญ่
  • พ.ศ. 2535 เปิดโรงเรียนสาขาที่ตำบลสลักได อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์ โดยมอบหมายให้นายเกษม ลาดสะอาด เป็นผู้ดูแล นายชูเกียรติ ลิขสิทธิ์เกษียณอายุราชการ นายประวัติ นวลศรี ได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งแทน
  • พ.ศ. 2536 ก่อสร้างอาคารคอนกรีต 2 ชั้นเพื่อเป็นอนุสรณ์ครบรอบ 84 ปี การก่อตั้งโรงเรียนสุรวิทยาคาร โดยชมรมผู้ปกครองและครูโรงเรียนสุรวิทยาคาร
  • พ.ศ. 2538 นายประวัติ นวลศรี ย้ายไปดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการสามัญศึกษาจังหวัดบุรีรัมย์ ทางราชการแต่งตั้งให้นายอุทัย นิวัฒนุวงศ์ มาดำรงตำแหน่งแทน
  • พ.ศ. 2539 นายอุทัย นิวัฒนุวงศ์ ย้ายไปดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการสามัญศึกษาจังหวัดร้อยเอ็ด ทางราชการแต่งตั้งให้นายเชียร ศิลนะชัย ดำรงตำแหน่งแทน และในปีนี้โรงเรียนเปิดรับนักเรียนหญิงเข้าเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 เป็นครั้งแรก โดยมีวัตถุประสงค์ให้เป็นโรงเรียนสหศึกษา มีนักเรียนหญิงจำนวน 62 คน นายเชียร ศิลนะชัย ย้ายไปช่วยปฏิบัติราชการที่กรมสามัญศึกษา และทางราชการแต่งตั้งให้นายโอภาส วัยวัฒน์ ผู้อำนวยการสามัญศึกษาจังหวัดสุรินทร์ มารักษาการในตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนสุรวิทยาคาร และแต่งตั้งให้นายเถลิงศักดิ์ ศรีดี มาดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียน เมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2539
  • พ.ศ. 2541 ก่อสร้าง "อาคารสมบูรณ์-รศ.พญ.สุวรรณา เรืองกาญจนเศรษฐ์"
  • พ.ศ. 2543 นายเถลิงศักดิ์ ศรีดี ย้ายไปดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนสตรีชัยภูมิ กรมสามัญศึกษาแต่งตั้งให้นางสาวนิทรา สมสวัสดิ์ มาดำรงตำแหน่งแทน
  • พ.ศ. 2545 สำนักงานสามัญศึกษาจังหวัดสุรินทร์ คัดเลือกโรงเรียสุรวิทยาคารเป็นตัวแทนสหวิทยาเขตสุรินทร์ เพื่อนำร่องการใช้หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544
  • พ.ศ. 2546 วันที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2546 เป็นวันที่พระราชบัญญัติระเบียบบริการราชการกระทรวงศึกษาธิการมีผลบังคับใช้ โรงเรียนสุรวิทยาคารได้เป็นหน่วยงานในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุรินทร์ เขต 1
  • พ.ศ. 2547 เริ่มการก่อสร้างอาคาร "หอประชุมรวมน้ำใจสุรวิทยาคาร"
  • พ.ศ. 2548 โรงเรียนเปิดสอนหลังสูตรวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์เข้ม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 เป็นปีแรก
  • พ.ศ. 2549 ได้รับการคัดเลือกจากกระทรวงศึกษาธิการให้ได้รับรางวัลโรงเรียนพระราชทานระดับมัธยมศึกษาขนาดใหญ่
  • พ.ศ. 2550 นายสมหมาย เจริญรัตน์ ผู้อำนวยการเกษียณอายุราชการ ทางราชการแต่งตั้งให้นายเลิศชาย สุขประเสริฐ เข้าดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนสุรวิทยาคารแทน
  • พ.ศ. 2552 โรงเรียนสุรวิทยาคารครบ 100 ปีและเริ่มก่อสร้างอาคาร 6 อาคาร 6 ที่ว่าก็คืออาคารใหม่ 4 ชั้น สำหรับ นักเรียนในปีการศึกษา 2553 และ ในปีการศึกษา 2553 ที่จะถึงนี้ เป็นปีที่ครบรอบ 101 ปี มีการจัดการแข่งขันกีฬาสีสัมพันธ์ครั้งที่ 30 เป็นครั้งที่ยิ่งใหญ่ที่สุด โดยใช้ชื่อว่า ศตวรรษมหามงคล ๑๐๑ ปี สุรวิทยาคารยิ่งใหญ่
  • พ.ศ. 2553 เข้าร่วม World Class Standard School
  • พ.ศ. 2559 นายเลิศชาย สุขประเสริฐ ผู้อำนวยการเกษียณอายุราชการ ทางราชการแต่งตั้งให้ ด.ร.แสน แหวนวงศ์ เข้าดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนสุรวิทยาคารแทน
  • พ.ศ. 2561 ด.ร.แสน แหวนวงศ์ ผู้อำนวยการเกษียณอายุราชการ ทางราชการแต่งตั้งให้นายอนุชา หลิมศิริวงษ์ เข้าดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนสุรวิทยาคารแทน
  • พ.ศ. 2561 โรงเรียนสุรวิทยาคาร ได้รับรางวัลโรงเรียนพระราชทาน ขนาดใหญ่
  • นายศิวกานต์ ศรีมารักษ์ ได้รับรางวัลนักเรียนรางวัลพระราชทาน ประเภทมัธยมศึกษา ขนาดใหญ่
  • พ.ศ. 2562 ก่อสร้าง "อาคาร อมเรศธำรงค์
  • พ.ศ. 2563 โรงเรียนมีอายุครบ 111 ปี และได้ริเริ่มก่อสร้างอาคารที่ระลึก 111 ปีสุรวิทยาคาร
  • พ.ศ. 2564 ผู้อำนวยการโรงเรียนสุรวิทยาคาร นายอนุชา หลิมศิริวงษ์ เกษียณอายุราชการ ว่าที่ร้อยตรี อภินันท์ จันทเขต ย้ายมารับตำแหน่งผู้อำนวยการ
  • พ.ศ. 2564 เริ่มก่อสร้างอาคาร 111 ปี สุรวิทยาคาร
  • พ.ศ. 2565 ว่าที่ร้อยตรี อภินันท์ จันทเขต เกษียณอายุราชการ นายสมศักดิ์ บุญโต ย้ายมารับตำแหน่งผู้อำนวยการ

ทำเนียบผู้บริหารโรงเรียนสุรวิทยาคาร[แก้]

ที่ นามผู้บริหาร ตำแหน่ง ปีที่ดำรงตำแหน่ง
1 คณะสงฆ์เป็นผู้ดำเนินการ ครูใหญ่ พ.ศ. 2452-2456
2 นายอู๋ เกตุศิริ ครูใหญ่ พ.ศ. 2456-2460
3 ราชบุรุษยา ครูใหญ่ พ.ศ. 2460-2461
4 ราชบุรุษยา (ปป.) ครูใหญ่ พ.ศ. 2461-2462
5 ราชบุรุษเยื้อน รัชตะกสิกร ครูใหญ่ พ.ศ. 2462-2463
6 นายเลื่อน สุวรรณาคร ครูใหญ่ พ.ศ. 2463-2472
7 รองอำมาตย์ตรีปาน (ขุนคงฤทธิ์ศึกษากร) ครูใหญ่ พ.ศ. 2472-2475
8 นายมั่น เพ็ชรศรีสม ครูใหญ่ พ.ศ. 2475-2480
9 นายยรรยง จรัณยานนท์ ครูใหญ่ พ.ศ. 2480-2484
10 นายมูล เหมริด ครูใหญ่ พ.ศ. 2484-2490
11 นายโกสีย์ แก้วคูณ ครูใหญ่ พ.ศ. 2490-2492
12 นายเกียรติ ศรีพงศ์ ครูใหญ่ พ.ศ. 2492-2496
13 นายพินิจ แอกทอง อาจารย์ใหญ่ พ.ศ. 2496-2512
14 นายอุดร เวียงเพิ่ม ผู้อำนวยการ พ.ศ. 2512-2529
15 นายอุดร มหาเมฆ ผู้อำนวยการ พ.ศ. 2529-2532
16 นายชูเกียติ ลิขสิทธิ์ ผู้อำนวยการ พ.ศ. 2532-2535
17 นายประวัติ นวลศรี ผู้อำนวยการ พ.ศ. 2535-2538
18 นายอุทัย นิวัฒนุวงศ์ ผู้อำนวยการ พ.ศ. 2538-2539
19 ดร.เชียร ศีลนะชัย ผู้อำนวยการ พ.ศ. 2539
20 นายโอภาส วัยวัฒน์ รักษาการผู้อำนวยการ พ.ศ. 2539
21 นายเถลิงศักดิ์ ศรีดี ผู้อำนวยการ พ.ศ. 2539-2543
22 นางสาวนิทรา สมสวัสดิ์ ผู้อำนวยการ พ.ศ. 2543-2544
23 นายไชยพงศ์ สายเชื้อ ผู้อำนวยการ พ.ศ. 2544-2545
24 นายสมหมาย เจริญรัตน์ ผู้อำนวยการ พ.ศ. 2545-2550
25 นายเลิศชาย สุขประเสริฐ ผู้อำนวยการ พ.ศ. 2550-2558
26 นายทรงศักดิ์ เสนาวงศ์ รองผู้อำนวยการรักษาราชการแทน พ.ศ. 2558-2559
27 ดร.แสน แหวนวงศ์ ผู้อำนวยการ พ.ศ. 2559-2561
28 นายอนุชา หลิมศิริวงษ์ ผู้อำนวยการ พ.ศ. 2561-2564
29 ว่าที่ร้อยตรีอภินันท์ จันทเขต ผู้อำนวยการ พ.ศ. 2564-2565
30 นายสมศักดิ์ บุญโต ผู้อำนวยการ พ.ศ. 2565-ปัจจุบัน

หลักสูตรการเรียนการสอน[แก้]

มัธยมศึกษาตอนต้น[แก้]

  • แผนการเรียนห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์คณิตศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม

(SMTE : Enrichment of Science Mathematics Technology and Environment)

  • ห้องเรียนพิเศษด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และ เทคโนโลยี (SMET : Science-Mathematics-English-Technology)
  • ห้องเรียนพิเศษด้านภาษาอังกฤษ (IEP : Intensive English Program)
  • ห้องเรียนคู่ขนาน/ห้องพลังสิบ ห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์ ตามแนวทาง สสวท. และ สอวน. (Enrichment Science Classroom)
  • ห้องเรียนปกติ (General Program)

มัธยมศึกษาตอนปลาย[แก้]

  • แผนการเรียนห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์คณิตศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม

(SMTE : Enrichment of Science Mathematics Technology and Environment)

  • แผนการเรียนห้องเรียนพิเศษด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และ เทคโนโลยี (SMET : Science-Mathematics-English-Technology)
  • แผนการเรียนห้องเรียนพิเศษด้านภาษาอังกฤษ (IEP : Intensive English Program)
  • แผนการเรียนวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์ (Science-Mathematics) •ห้องเรียนคู่ขนาน/ห้องพลังสิบ ห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์ ตามแนวทาง สสวท. และ สอวน. (Enrichment Science Classroom)
  • แผนการเรียนวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์-เทคโนโลยี (Science-Mathematics-Technology)
  • แผนการเรียนศิลป์-ภาษา (Arts-Language)
  • แผนการเรียนศิลป์-คณิต (Arts-Maths)
  • แผนการเรียนศิลป์-คณิต-กีฬา (Arts-Maths-Sports)

อาคารเรียน[แก้]

  • อาคารเอกอัมรินทร์ (อาคาร 1)
ไฟล์:สวค1.jpg
อาคารเอกอัมรินทร์
    • ชั้นที่ 1 ห้องกลุ่มบริหารงานบุคคล ห้องกลุ่มบริหารวิชาการ ห้องกลุ่มบริหารงบประมาณ ห้องผู้อำนวยการ ห้องธุรการ
    • ชั้นที่ 2 ห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์ - คณิตศาสตร์ ม.ต้น ม.ปลาย ห้องประชุม
    • ชั้นที่ 3 ห้องเรียนปกติ ม.ต้น ม.ปลาย
  • อาคารคชินทร (อาคาร 2)
ไฟล์:สวค2.jpg
อาคารคชินทร
    • ชั้นที่ 1ห้องเรียนปกติ ม.ต้น ห้องพักครูกลุ่มสาระการงานอาชีพ
    • ชั้นที่ 2 ห้องปฏิบัติการสังคมศึกษาฯ ห้องเรียนปกติ ม.ต้น ห
    • ชั้นที่ 3 ห้องพักครูกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษาฯ ห้องเรียนปกติ ม.ต้น
    • ชั้นที่ 4 ห้องพระ ห้องเรียนปกติ ม.ต้น
  • อาคารอมรเทวินทร์ (อาคาร 3)
ไฟล์:สวค3.jpg
อาคารอมรเทวินทร์
    • ชั้นที่ 1 ห้องพักครูกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ 1 ห้องเรียนวิทยาศาสตร์ ม.ต้น
    • ชั้นที่ 2 ห้องเรียนปกติ ม.ต้น
    • ชั้นที่ 3 ห้องเรียนปกติ ม.ต้น
  • อาคารเอราวัณ (อาคาร 4)
ไฟล์:สวค4.jpg
อาคารเอราวัณ
    • ชั้นที่ 1 ห้องปฏิบัติการทดลองทางวิทยาศาสตร์ ห้องเรียนสื่อวิทยาศาสตร์ ห้องพักครูกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ 2 และ 3 ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์
    • ชั้นที่ 2 ห้องเรียนเคมี ห้องปฏิติการทางเคมี ห้องเรียนชีววิทยา ห้องพักครูกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ 4 และ 5 ห้องปฏิบัติการทางชีววิทยา
    • ชั้นที่ 3 ห้องเรียนฟิสิกส์ ห้องปฏิบัติการทางฟิสิกส์ ห้องปฏิบัติการดาราศาสตร์ ห้องพักครูกลุ่มสาระการเรียนรูวิทยาศาสตร์ 6 และ 7
  • อาคารสมบูรณ์-พญ.สุวรรณา เรืองกาญจนเศรษฐ์ (อาคาร 5)
    • ชั้นที่ 1 โถง ห้องเรียนปกติ ม.ปลาย ห้องปฏิบัติการภาษาต่างประเทศ ห้องพักครูรวม
    • ชั้นที่ 2 ห้องปฏิบัติการภาษาต่างประเทศ และ ห้องเรียนปกติ ม.ปลาย ห้องเรียนพิเศษ IEP
    • ชั้นที่ 3 ห้องเรียนปกติ ม.ปลาย ห้องปฏิบัติการภาษาต่างประเทศ ห้องเรียนพิเศษ IEP
  • อาคารนรินทรเทพ (อาคาร 6)
ไฟล์:สวค6.jpg
อาคารนรินทรเทพ
    • ชั้นที่ 1 ห้องกลุ่มงานบริหารทั่วไป ห้องเกียรติยศสุรวิทยาคาร โถง ห้องพักครูรวม
    • ชั้นที่ 2 ห้องพักครูกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ห้องเรียนปกติ ม.ต้น ม.ปลาย
    • ชั้นที่ 3 ห้องเรียนปกติ ม.ปลาย
    • ชั้นที่ 4 ห้องเรียนปกติ ม.ต้น ห้องปฏิบัติการทางคณิตศาสตร์ 1 2 และ 3
  • อาคารศรีสุระ (อาคารเฉลิมกาญจนาภิเษก)
อาคารศรีสุระ
    • ชั้นที่ 1 โรงอาหาร
    • ชั้นที่ 2 ห้องสมุด
    • ชั้นที่ 3 ห้องแนะแนว ห้องพักครู
  • อาคารมัฆวานเทวินทร์ (อาคารพลศึกษา)
    • ชั้นที่ 1 ห้องพักครูกลุ่มสาระการเรียนสุขศึกษาและพลศึกษา อาคารยิมเนเซียม
  • อาคารไอยราพต (อาคารศิลปะ)
    • ชั้นที่ 1 ห้องเรียนทัศนศิลป์ 1 และ 2 ห้องปฏิบัติการดนตรีสากล ห้องพักครูกลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ
  • อาคารคชสาร (อาคารอุตสาหกรรม 1)
    • ชั้นที่ 1 ห้องคอมพิวเตอร์ ห้องปฏิการทางอุตสาหกรรม
    • ชั้นที่ 2 ห้องสื่ออเนกประสงค์ 1 และ 2
  • อาคารคชาธาร (อาคารอุตสาหกรรม 2)
    • ชั้นที่ 1 ห้องกิจกรรมลูกเสือและนักศึกษาวิชาทหาร
    • ชั้นที 2 ห้องสื่อเอนกประสงค์ 3

อาคารอื่น[แก้]

  • อาคาร 84 ปีสุรวิทยาคาร
    • ชั้นที่ 1 ห้องพยาบาล ธนาคารโรงเรียน ห้องชมรมเพื่อนใจวัยรุ่น สำนักงานคณะกรรมการสภานักเรียน
    • ชั้นที่ 2 ห้องวิทยบริการ
  • อาคาร 100 ปีสุรวิทยาคาร
  • อาคาร 111 ปี
  • หอประชุมสุรวิทยาคาร
    • ชั้นที่ 1 หอประชุม ห้องคัดลอกสำเนา ห้องชุมโสตทัศนูปกรณ์
  • หอประชุมรวมน้ำใจสุรวิทยาคาร
    • ชั้นที่ 1 ห้องคอมพิวเตอร์ ห้องพักครูกลุ่มงานคอมพิวเตอร์ ห้องบริการคอมพิวเตอร์และสิ่งพิมพ์
  • เกาะลอย
    • หัองเรียนมารยาทไทย

บุคคลที่มีชื่อเสียง[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. {{Cite web |url= https://data.bopp-obec.info/emis/schooldata-view_student.php เก็บถาวร 2020-06-09 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน? School_ID=1010720039&Area_CODE2=100001 |title=จำนวนนักเรียน
  2. "ติดต่อเรา – โรงเรียนสุรวิทยาคาร จังหวัดสุรินทร์" (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-11-22. สืบค้นเมื่อ 2023-11-22.
  3. "ความเป็นมาของโรงเรียน – โรงเรียนสุรวิทยาคาร จังหวัดสุรินทร์" (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-11-22. สืบค้นเมื่อ 2023-11-22.