เหรียญกองกำลังและผู้สังเกตการณ์ข้ามชาติ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เหรียญกองกำลังและผู้สังเกตการณ์ข้ามชาติ
เหรียญกองกำลังและผู้สังเกตการณ์ข้ามชาติ
รูปแบบเหรียญการทัพ
รางวัลสำหรับประจำการ 170 วันขึ้นไป
จัดโดยกองกำลังและผู้สังเกตการณ์ข้ามชาติ
คุณสมบัติสมาชิกในกองกำลังและผู้สังเกตการณ์ข้ามชาติ
สถานะยังมอบอยู่
ก่อตั้ง24 มีนาคม 2525
แพรแถบ
ลำดับความสำคัญ
ถัดไป (สูงกว่า)แตกต่างกันไปในแต่ละประเทศ
ถัดไป (ต่ำกว่า)แตกต่างกันไปในแต่ละประเทศ
เกี่ยวข้องเหรียญพลเรือนกองกำลังและผู้สังเกตการณ์ข้ามชาติ
เครื่องอิสริยาภรณ์ผู้อำนวยการกองกำลังและผู้สังเกตการณ์ข้ามชาติ

เหรียญกองกำลังและผู้สังเกตการณ์ข้ามชาติ (อังกฤษ: Multinational Force and Observers Medal) เป็นเครื่องอิสริยาภรณ์ทางการทหารสากล ถูกสร้างขึ้นครั้งแรกเมื่อวันที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2525 เหรียญดังกล่าวสร้างขึ้นภายใต้อำนาจของผู้อำนวยการใหญ่กองกำลังและผู้สังเกตการณ์ข้ามชาติ (MFO) ซึ่งจัดตั้งขึ้นเพื่อติดตามการหยุดยิงที่เป็นกลาง ระหว่างอียิปต์และอิสราเอล อันเป็นผลจากสงครามยมคิปปูร์ พ.ศ. 2516

เข็มและแถบ[แก้]

ตัวเลขเงิน เริ่มต้นด้วยตัวเลข '2' สวมบนแพรแถบเหรียญสำหรับการประจำการเพิ่มเติมในภารกิจเดียวกัน

การประดับ[แก้]

กองทัพออสเตรเลีย[แก้]

เหรียญกองกำลังและผู้สังเกตการณ์ข้ามชาติได้รับอนุญาตให้สวมใส่เป็นเหรียญต่างประเทศสำหรับกองทัพออสเตรเลีย (ADF) เหรียญดังกล่าวจะประดับหลังเหรียญออสเตรเลีย พร้อมด้วยเครื่องอิสริยาภรณ์จากต่างประเทศอื่น ๆ ตามลำดับวันที่ได้รับ

กองทัพสหราชอาณาจักร[แก้]

ก่อนปี พ.ศ. 2560 เจ้าหน้าที่กองทัพสหราชอาณาจักรไม่สามารถประดับเหรียญกองกำลังและผู้สังเกตการณ์ข้ามชาติได้ อย่างไรก็ตาม ในปี พ.ศ. 2560 มีการมอบอำนาจให้เหรียญดังกล่าวสวมใส่ร่วมกับเครื่องอิสริยาภรณ์และเหรียญอื่น ๆ ของสหราชอาณาจักร แต่เป็นเหรียญต่างประเทศ จะต้องสวมตามหลังเหรียญสหราชอาณาจักรเหรียญอื่น ๆ ทั้งหมด[1] โดยอำนาจดังกล่าวอนุญาตย้อนหลังในการประดับเหรียญให้กับทุกคนที่ปฏิบัติหน้าที่กับกองกำลังและผู้สังเกตการณ์ข้ามชาติ (MFO) เป็นเวลา 170 วันขึ้นไปนับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2525

กองทัพแคนาดา[แก้]

เหรียญกองกำลังและผู้สังเกตการณ์ข้ามชาติ ถือเป็นเหรียญที่ได้รับอนุญาตในประเภท เหรียญคณะผู้แทนระหว่างประเทศ (ประดับหลังเครื่องอิสริยาภรณ์เนโท และก่อนอิสริยาภรณ์ที่ระลึก) สำหรับกองทัพแคนาดา (CF) ลำดับความสำคัญในหมวดหมู่ของ เหรียญคณะผู้แทนระหว่างประเทศ ขึ้นอยู่กับวันที่ได้รับเครื่องอิสริยาภรณ์ (พ.ศ. 2525–ปัจจุบัน) และอาจประดับได้โดยตรงหลังจากเหรียญคณะกรรมาธิการควบคุมและกำกับดูแลระหว่างประเทศ (พ.ศ. 2516) และก่อนเหรียญคณะผู้แทนติดตามชุมชนยุโรปสำหรับยูโกสลาเวีย (พ.ศ. 2534)

กองทัพนิวซีแลนด์[แก้]

เหรียญกองกำลังและผู้สังเกตการณ์ข้ามชาติถือเป็นเหรียญที่ได้รับอนุญาตให้ประดับได้สำหรับกองทัพนิวซีแลนด์ (NZDF) ภายในประเภท เหรียญต่างประเทศ ซึ่งเป็นประเภทสุดท้ายในลำดับความสำคัญของนิวซีแลนด์ เหรียญเหรียญกองกำลังและผู้สังเกตการณ์ข้ามชาติ (MFO) ประดับโดยตรงหลังจากเหรียญปลดปล่อยคูเวตและเหรียญประจำการสงครามเกาหลี

กองทัพสหรัฐ[แก้]

กองทัพสหรัฐเริ่มออกเหรียญกองกำลังและผู้สังเกตการณ์ข้ามชาติเมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2525 เหรียญดังกล่าวมีผลย้อนหลังจนถึงเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2524 และมอบให้กับสมาชิกกองทัพสหรัฐคนใดก็ตามที่ปฏิบัติหน้าที่สะสมอย่างน้อยเ 90 วันในฐานะสมาชิกของกองกำลังและผู้สังเกตการณ์ข้ามชาติ เมื่อวันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2528 ระยะเวลาเพิ่มขึ้นเป็นอย่างน้อย 170 วัน กรอบเวลาสามารถยกเว้นได้หากมีการมอบเครื่องอิสริยาภรณ์หลังเสียชีวิต สมาชิกกองประจำการที่ได้รับการอพยพทางการแพทย์ออกจากภูมิภาค หรือหากผู้อำนวยการกองกำลังและผู้สังเกตการณ์ข้ามชาติมอบเครื่องอิสริยาภรณ์สำหรับปฏิบัติการเฉพาะกิจหรือในกรณีพิเศษ

เหรียญกองกำลังและผู้สังเกตการณ์ข้ามชาติได้รับอนุญาตให้ประดับเป็นเครื่องอิสริยาภรณ์ทางทหารของสหรัฐภายใต้หมวดหมู่ "เครื่องอิสริยาภรณ์ประจำการนอกสหรัฐอเมริกา" และประดับหลังเครื่องอิสริยาภรณ์ของสหรัฐ ทั้งหมดและก่อนเครื่องอิสริยาภรณ์จากต่างประเทศของแต่ละประเทศ การประดับหลายรายการจะแสดงด้วยหมายเลข เครื่องอิสริยาภรณ์ทางทหารระหว่างประเทศที่คล้ายกัน ได้แก่ เหรียญประจำการเนโท และเหรียญประจำการสหประชาชาติ

ลำดับความสำคัญ[แก้]

ลำดับความสำคัญบางส่วนมีดังนี้:

ประเทศ ก่อนหน้า ถัดไป
แคนาดา แคนาดา
ลำดับอาวุโส[2]
เหรียญคณะกรรมาธิการควบคุมและกำกับดูแลระหว่างประเทศ เหรียญคณะผู้แทนติดตามชุมชนยุโรป
สหรัฐ สหรัฐ
ลำดับอาวุโส[3]
เหรียญเนโท เหรียญคณะกรรมการกลาโหมทวีปอเมริกา

อ้างอิง[แก้]

  1. London Gazette 11 January 2019 Supplement:62529 Page:328
  2. "Canadian Honours Chart". cmp-cpm.forces.gc.ca. Chief Military Personnel Canadian, Canadian Armed Forces. สืบค้นเมื่อ 7 November 2014.
  3. "Navy Awards Precedence Chart". สืบค้นเมื่อ 7 November 2014.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]