หมู่วิหารสกอร์บา

พิกัด: 35°55′14.84″N 14°22′39.58″E / 35.9207889°N 14.3776611°E / 35.9207889; 14.3776611
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
หมู่วิหารสกอร์บา
บริเวณทางเข้าวิหารใต้ของหมู่วิหารสกอร์บา
หมู่วิหารสกอร์บาตั้งอยู่ในประเทศมอลตา
หมู่วิหารสกอร์บา
ที่ตั้งหมู่วิหารสกอร์บาในประเทศมอลตา
ที่ตั้งอิซเซ็บบีห์ ลิมจาร์ มอลตา
พิกัด35°55′14.84″N 14°22′39.58″E / 35.9207889°N 14.3776611°E / 35.9207889; 14.3776611
ประเภทวิหาร
หมู่บ้าน
ความเป็นมา
วัสดุหินปูน
สร้างประมาณ 4,850 ปีก่อน ค.ศ. (ซากปรักหักพังเก่าแก่สุด)
ประมาณ 3,600 ปีก่อน ค.ศ. (วิหาร)
สมัยระยะอาร์ดาลัม
ระยะสกอร์บาเทา
ระยะสกอร์บาแดง
ระยะจกันตียา
ระยะฮัลตาร์ชีน
หมายเหตุเกี่ยวกับสถานที่
ขุดค้นค.ศ. 1914–1961
ผู้ขุดค้นเดวิด เอช. ทรัมป์
สภาพซากปรักหักพัง
ผู้ถือกรรมสิทธิ์รัฐบาลมอลตา
ผู้บริหารจัดการเฮริทิจมอลตา
การเปิดให้เข้าชมเปิด
เว็บไซต์เฮริทิจมอลตา
วิหารหินใหญ่แห่งมอลตา
(หมู่วิหารสกอร์บา) *
  แหล่งมรดกโลกโดยยูเนสโก
ช่องประตูวิหารใต้ของหมู่วิหารสกอร์บา
ประเทศ มอลตา
ภูมิภาค **ยุโรปและอเมริกาเหนือ
ประเภทมรดกทางวัฒนธรรม
เกณฑ์พิจารณา(iv)
อ้างอิง132
ประวัติการขึ้นทะเบียน
ขึ้นทะเบียน1980 (คณะกรรมการสมัยที่ 4)
เพิ่มเติม1992, 2015
พื้นที่0.103 เฮกตาร์ (0.25 เอเคอร์)
* ชื่อตามที่ได้ขึ้นทะเบียนในบัญชีแหล่งมรดกโลก
** ภูมิภาคที่จัดแบ่งโดยยูเนสโก

หมู่วิหารสกอร์บา (มอลตา: It-Tempji ta' Skorba) เป็นซากปรักหักพังหินใหญ่ที่ขอบด้านเหนือของย่านอิซเซ็บบีห์ในหมู่บ้านลิมจาร์ ประเทศมอลตา ซึ่งให้ข้อมูลที่ละเอียดเกี่ยวกับยุคแรกเริ่มสุดของวัฒนธรรมยุคหินใหม่ในมอลตา[1] เพิ่งมีการขุดค้นทางโบราณคดีที่นี่ในช่วงต้นคริสต์ทศวรรษ 1960 เท่านั้น ถือว่าค่อนข้างช้าเมื่อเทียบกับแหล่งหินใหญ่อื่น ๆ ซึ่งบางแห่งมีการขุดค้นมาตั้งแต่ต้นคริสต์ศตวรรษที่ 19 ความสำคัญของหมู่วิหารสกอร์บานำไปสู่การขึ้นทะเบียนเป็นแหล่งมรดกโลกยูเนสโกร่วมกับหมู่วิหารหินใหญ่อีก 5 แห่งในมอลตาระหว่าง ค.ศ. 1980–2015

การขุดค้นหมู่วิหารสกอร์บาในสมัยหลังทำให้สามารถใช้วิธีการตรวจหาอายุและการวิเคราะห์แบบสมัยใหม่ได้ ตัววิหารไม่อยู่ในสภาพที่ดีนัก โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเทียบกับหมู่วิหารฮาจาร์อีมและฮัลตาร์ชีนที่สมบูรณ์กว่า อย่างไรก็ตาม ความสำคัญของแหล่งโบราณคดีแห่งนี้ไม่ได้อยู่ที่ซากปรักหักพัง แต่อยู่ที่โบราณวัตถุที่รวบรวมได้จากการขุดค้นมากกว่า[2]

ภาพรวม[แก้]

ดูเหมือนว่าพื้นที่ย่านอิซเซ็บบีห์รอบ ๆ หมู่วิหารสกอร์บาจะมีผู้คนอาศัยอยู่ตั้งแต่ยุคหินใหม่ตอนต้น ระหว่างที่ทิมิสโตคลีส แซมมิต นักประวัติศาสตร์ชาวมอลตา กำลังขุดค้นหมู่วิหารตาฮัจรัตใกล้ ๆ กันนั้น มีเพียงแผ่นหินตั้งเพียงแผ่นเดียวที่โผล่ยื่นออกมาจากเนินซากปรักหักพังเล็ก ๆ บนพื้นที่หมู่วิหารสกอร์บา แม้ว่าเนินแห่งนี้จะมีชื่ออยู่ในรายการโบราณวัตถุสถานมอลตา ค.ศ. 1925[3] แต่ก็ไม่ได้รับความสนใจจากนักโบราณคดีจนกระทั่งเดวิด เอช. ทรัมป์ เข้ามาขุดค้นระหว่าง ค.ศ. 1960–1963[4]

ซากที่หลงเหลืออยู่บนแหล่งนี้ ได้แก่ กลุ่มหินตั้งขนาดใหญ่ (หนึ่งในนั้นสูง 3.4 เมตร) ฐานส่วนล่างสุดของหมู่วิหาร แผ่นหินปูพื้นที่มีรูสำหรับเทของเหลวในพิธีกรรมบวงสรวงตรงทางเข้า และส่วนพื้นของวิหารหลังหนึ่งซึ่งเป็นวิหารใต้ ประกอบด้วยมุขโค้ง 3 มุข ผังที่มีมุขโค้ง 3 มุขนี้เป็นแบบฉบับของสิ่งก่อสร้างหินใหญ่ในระยะจกันตียา เป็นที่น่าเสียดายที่ส่วนใหญ่ของมุขโค้ง 2 มุขแรกและส่วนหน้าอาคารทั้งหมดได้ทลายลงจนราบ

ผนังด้านทิศเหนือของวิหารใต้อยู่ในสภาพที่ดีกว่าผนังด้านอื่น เดิมทีทางเข้าวิหารพาไปสู่ลานกว้างภายใน แต่ต่อมาในระยะฮัลตาร์ชีน ช่องประตูกลางวิหารถูกปิดโดยมีการตั้งแท่นบูชาไว้ตรงมุมที่เกิดจากการปิด[1] ทางทิศตะวันออกของวิหารใต้มีการสร้างวิหารขึ้นอีกหลังในระยะฮัลตาร์ชีน โดยมีมุขโค้ง 4 มุขและช่องเว้าตรงกลาง 1 ช่อง[5]

ก่อนจะมีการสร้างหมู่วิหารสกอร์บา บนพื้นที่เดียวกันนี้เคยมีหมู่บ้านตั้งอยู่มาเป็นเวลานานประมาณ 12 ศตวรรษ โครงสร้างที่เก่าแก่ที่สุดที่ยังหลงเหลืออยู่ของหมู่บ้านดังกล่าวคือกำแพงยาว 11 เมตรทางทิศตะวันตกของทางเข้าวิหารแรก[6] ที่บริเวณฐานของกำแพงนี้มีการค้นพบโบราณวัตถุจากระยะอาร์ดาลัมซึ่งเป็นสมัยที่มนุษย์เข้าครอบครองพื้นที่บนเกาะมอลตาเป็นครั้งแรกเท่าที่ทราบ มีการค้นพบถ่านซึ่งจากการวิเคราะห์ด้วยคาร์บอนพบว่ามีอายุย้อนไปถึง 4,850 ปีก่อนคริสต์ศักราช[6]

เครื่องปั้นดินเผา[แก้]

เครื่องปั้นดินเผาที่พบในแหล่งโบราณคดีนี้แบ่งออกเป็นสองรูปแบบ ได้แก่ "สกอร์บาเทา" ซึ่งมีลักษณะเด่นตรงที่เป็นเครื่องปั้นดินเผาสีเทาที่ไม่มีลวดลาย และ "สกอร์บาแดง" ซึ่งมีลักษณะเหมือนกับแบบสกอร์บาเทาทุกประการแต่ลงสีโดยใช้รงควัตถุโอเคอร์สีแดง

ระเบียงภาพ[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 Trump, Cilia, Malta Prehistory and Temples, p. 156
  2. Trump, Malta: An archaeological guide, p. 137
  3. "Protection of Antiquities Regulations 21st November, 1932 Government Notice 402 of 1932, as Amended by Government Notices 127 of 1935 and 338 of 1939". Malta Environment and Planning Authority. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 19 April 2016.
  4. Żammit, Mayrhofer, The Prehistoric Temples of Malta and Gozo, p. 144
  5. Trump, Cilia, Malta Prehistory and Temples, p. 159
  6. 6.0 6.1 Trump, Malta: An archaeological guide, p. 138