สันนิบาตสามจักรพรรดิ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
จักรพรรดิวิลเฮ็ล์มที่ 1 แห่งเยอรมนี
จักรพรรดิฟรันทซ์ โยเซ็ฟที่ 1 แห่งออสเตรีย
จักรพรรดิอะเลคซันดร์ที่ 2 แห่งรัสเซีย

สันนิบาตสามจักรพรรดิ (อังกฤษ: League of the Three Emperors) เป็นพันธมิตรอันไม่มั่นคงระหว่างจักรพรรดิวิลเฮ็ล์มที่ 1 แห่งเยอรมนี จักรพรรดิฟรันทซ์ โยเซ็ฟที่ 1 แห่งออสเตรีย และจักรพรรดิอะเลคซันดร์ที่ 2 แห่งรัสเซีย

การก่อตั้ง ค.ศ. 1873[แก้]

วันที่ 22 ตุลาคม ค.ศ. 1873 นายกรัฐมนตรีเยอรมนี ออทโท ฟอน บิสมาร์ค เจรจาความตกลงระหว่างพระมหากษัตริย์ออสเตรีย-ฮังการี รัสเซียและเยอรมนี พันธมิตรดังกล่าวมุ่งฟื้นฟูพันธมิตรอันศักดิ์สิทธิ์ ใน ค.ศ. 1815 และทำหน้าที่เสมือนปราการต่อต้านทัศนะหัวรุนแรงซึ่งผู้ปกครองอนุรักษนิยมเห็นว่าไม่มั่นคง[1] พันธมิตรดังกล่าวเกิดขึ้นหลังอนุสัญญาเชินบรุนน์ ลงนามโดยรัสเซียและออสเตรีย-ฮังการีเมื่อวันที่ 6 มิถุนายน ค.ศ. 1873

เบื้องหลังและนโยบาย[แก้]

บิสมาร์คมักจะนำสันนิบาตเพราะมันประเมินความท้าทายซึ่งมีศูนย์กลางในการธำรงรักษาไว้ซึ่งสมดุลแห่งอำนาจระหว่างรัฐที่เกี่ยวข้องและยุโรปทั้งหมด รากฐานของปรัชญาการเมืองของเขารวมไปถึงการอุทิศตัวเพื่อรักษาไว้ซึ่งสถานะเดิมและหลีกเลี่ยงสงคราม แม้ว่าเยอรมนีจะได้รับชัยชนะในสงครามฝรั่งเศส-ปรัสเซีย ใน ค.ศ. 1870-71 ความรุนแรงยังคงเกิดขึ้นสดใหม่ในความทรงจำของรัฐที่เพิ่งรวมขึ้นใหม่นี้ และทำให้เยอรมนีไม่เต็มใจจะเป็นปรปักษ์กับฝรั่งเศส แต่มุ่งจะจำกัดอำนาจของฝรั่งเศสเช่นเคย ตามมุมมองของสันนิบาต องค์การสังคมนิยมหัวรุนแรง เช่น สากลที่หนึ่ง เป็นตัวอย่างของหนึ่งในหลายภัยคุกคามสำคัญต่อเสถียรภาพและความเป็นเจ้าในภูมิภาค ด้วยเหตุผลนี้ สันนิบาตจึงคัดค้านการขยายอิทธิพลขององค์การอย่างแข็งขัน[2]

การยุบครั้งแรก ค.ศ. 1875[แก้]

กลุ่มดังกล่าวยุบเป็นครั้งแรกใน ค.ศ. 1875 ด้วยข้อพิพาทดินแดนในบอลข่านเมื่อออสเตรีย-ฮังการีเกรงว่า การให้การสนับสนุนของรัสเซียต่อเซอร์เบียอาจลงเอยด้วยการจุดประกายให้เกิดอุดมการณ์เรียกร้องดินแดนในหมู่ประชากรสลาฟที่เซอร์เบียปกครองอยู่[3] เช่นเดียวกับทางการรัสเซียซึ่งเกรงการกบฏ หากขบวนการรวมชาติสลาฟได้รับอิทธิพลมากเกินไป[3] ข้อสรุปแรกขององค์การใน ค.ศ. 1879 ปูทางแก่ทวิพันธมิตรป้องกันระหว่างออสเตรีย-ฮังการีและเยอรมนี เพื่อตอบโต้การรุกรานของรัสเซียที่เป็นไปได้ ใน ค.ศ. 1882 อิตาลีเข้าร่วมกับความตกลงดังกล่าวและถือกำเนิดเป็นไตรพันธมิตรขึ้น[4]

การฟื้นฟู ค.ศ. 1881-1887[แก้]

สนธิสัญญาเบอร์ลิน ค.ศ. 1878 ทำให้รัสเซียรู้สึกว่าตนถูกโกงส่วนแบ่งที่ควรจะได้จากสงครามรัสเซีย-ตุรกี อย่างไรก็ตาม บทบาทสำคัญของรัสเซียในการทูตยุโรปมิได้ถูกลืมโดยบิสมาร์ค สันนิบาตสามจักรพรรดิซึ่งเป็นทางการกว่าและมีการบันทึกไว้ชัดเจนกว่าได้รับการบรรลุเมื่อวันที่ 18 มิถุนายน ค.ศ. 1881[5] สันนิบาตดังกล่าวมีอายุได้สามปี ได้รับการต่ออายุใน ค.ศ. 1884 แต่สิ้นสุดลงใน ค.ศ. 1887 พันธมิตรทั้งสองสิ้นสุดลงเพราะความขัดแย้งของผลประโยชน์ระหว่างออสเตรีย-ฮังการีและรัสเซียในบอลข่าน

เชิงอรรถ[แก้]

  1. Gildea 2003, p. 237.
  2. Henig, Ruth Beatrice (2002). The Origins of the First World War. Routledge. p. 3. ISBN 0415261856.
  3. 3.0 3.1 Gildea 2003, p. 240.
  4. http://germanhistorydocs.ghi-dc.org/sub_document.cfm?document_id=1860
  5. Text of the actual agrement, last visited June 24 2011

อ้างอิง[แก้]

  • Gildea, Robert (2003). Barricades and Borders: Europe 1800-1914. Oxford University Press. p. 237. ISBN 0199253005.