สถานีรถไฟธนบุรี

พิกัด: 13°45′33″N 100°29′15″E / 13.759237°N 100.487488°E / 13.759237; 100.487488
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก สถานีรถไฟบางกอกน้อย)
ธนบุรี
รถไฟทางไกล
รถไฟชานเมือง
สถานีรถไฟธนบุรี
ข้อมูลทั่วไป
ที่ตั้งถนนรถไฟ แขวงศิริราช เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร
เจ้าของการรถไฟแห่งประเทศไทย
สาย
ชานชาลา2 ชานชาลาด้านข้าง
ราง5
การเชื่อมต่อรถโดยสารประจำทาง
  • สองแถวสวนผัก รถไฟ
  • ปอ.สาย 85 (4-16) พระประแดง - สถานีรถไฟธนบุรี
โครงสร้าง
ประเภทโครงสร้างระดับดิน
ระดับชานชาลา1
ที่จอดรถด้านตลาดศาลาน้ำร้อน
ข้อมูลอื่น
รหัสสถานี4001 (ธบ.)
ประวัติ
เริ่มเปิดให้บริการ19 มิถุนายน พ.ศ. 2446 (120 ปี)
ผู้โดยสาร
300-500 คน
การเชื่อมต่อ
สถานีก่อนหน้า การรถไฟแห่งประเทศไทย สถานีต่อไป
สถานีปลายทาง สายใต้
สายธนบุรี
จรัญสนิทวงศ์
มุ่งหน้า หลังสวน
สายใต้ จรัญสนิทวงศ์
มุ่งหน้า น้ำตก
ธนบุรี (บางกอกน้อย)
Thon Buri
กิโลเมตรที่ 0.866
ธนบุรี (เดิม)
Thon Buri (Defunct)
–0.00 กม.
จรัลสนิทวงศ์
Charan Sanitwong
+1.54 กม.
ดูเพิ่ม: รายชื่อสถานีรถไฟ สายใต้
ที่ตั้ง
แผนที่
สัญญาณหางปลาที่สถานี

สถานีรถไฟธนบุรี หรือเดิมเรียกว่า สถานีรถไฟบางกอกน้อย ตั้งอยู่บนถนนรถไฟ แขวงศิริราช เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร บริเวณตลาดรถไฟ (แห่งใหม่) มีความสำคัญในฐานะเป็นสถานีต้นทางของรถไฟสายใต้ และสายตะวันตก สถานีรถไฟบางกอกน้อย เปิดเมื่อ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2446 โดยมีสถานีต้นทางอยู่สถานีรถไฟบางกอกน้อย ปลายทางไปที่สถานีรถไฟเพชรบุรี[1]

ประวัติ[แก้]

อาคารแรกเริ่มเมื่อสร้างสถานีบางกอกน้อย ตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 เป็นอาคารคอนกรีตชั้นเดียวหลังคาทรงจั่ว มีหลังคาคลุมชานชลาสร้างด้วยไม้ทั้งหลัง ตั้งอยู่ด้านทิศใต้ริมทางรถไฟ(ทางประธาน) อยู่เลยลึกเข้ามาทางด้านทิศตะวันตกของริมแม่น้ำเจ้าพระยาประมาณ 300 เมตร ต่อมาเมื่อครั้งสงครามโลกครั้งที่ 2 กองทัพญี่ปุ่นได้ตั้งกองบัญชาการขึ้นที่สถานีรถไฟบางกอกน้อย จากนั้นไม่นาน ฝ่ายสัมพันธมิตรได้ส่งเครื่องบินเข้ามาทิ้งระเบิดสถานีรถไฟบางกอกน้อยอย่างหนัก ตัวอาคารสถานีรถไฟบางกอกน้อยได้รับความเสียหายเพียงเล็กน้อย แต่ที่ทำการรับส่งสินค้าที่ตั้งอยู่บริเวณริมแม่น้ำเจ้าพระยาและคลังเก็บสินค้าริมคลองบางกอกน้อยถูกทิ้งระเบิดเสียหายทั้งหมด ต่อมาได้มีการก่อสร้างสถานีรถไฟบางกอกน้อยขึ้นมาใหม่ โดยรื้ออาคารสถานีเดิมออกไปพร้อมกับปรับปรุงและขยายย่านสถานีเดิม โดยสร้างเป็นอาคารอิฐสีแดง มีหอนาฬิกา ซึ่งถือว่าเป็นอาคารที่มีความสวยงามมากที่สุดอีกแห่งหนึ่ง และตั้งชื่อสถานีนี้ใหม่ว่า สถานีธนบุรี และเปิดใช้งานอาคารหลังใหม่เมื่อปี พ.ศ. 2493

บทบาทของสถานีธนบุรีในฐานะต้นทางของรถไฟสายใต้เริ่มน้อยลง เมื่อรถไฟสายใต้หลายขบวนได้เปลี่ยนต้นทาง-ปลายทางไปที่สถานีกรุงเทพ (หัวลำโพง) ซึ่งต่อมาในระยะหลัง ขบวนรถที่ให้บริการ ณ สถานีธนบุรีจึงมีเพียงขบวนรถธรรมดาและและขบวนรถชานเมือง รวมถึงขบวนรถรวม ในเส้นทางสายใต้ (รวมถึงเส้นทางสายกาญจนบุรีและสุพรรณบุรี)

ในช่วงประมาณปี พ.ศ. 2542 รัฐบาลสมัยนายชวน หลีกภัย ได้มีโครงการปรับปรุงอาคารสถานีธนบุรีและพื้นที่โดยรอบ ทำให้ในช่วงระยะเวลาหนึ่ง การรถไฟได้สร้างสถานีรถไฟอีกแห่งหนึ่งขึ้นมาเพื่อใช้เป็นที่รับส่งผู้โดยสารทดแทนสถานีธนบุรี ตั้งชื่อว่าสถานีบางกอกน้อย (สถานีชั้น 4) (ชื่อเดียวกับสถานีรถไฟหลวงสายใต้ในอดีต) ห่างจากสถานีธนบุรี 0.866 กิโลเมตร แต่สถานีธนบุรีนั้น ก็ยังเปิดจำหน่ายตั๋วและเปิดทำการตามปกติ แต่ผู้โดยสารต้องเดินทางมาขึ้นลงขบวนรถที่สถานีใหม่ที่สร้างขึ้น แต่โครงการดังกล่าวประสบปัญหาอย่างมากทำให้หยุดชะงักไปในที่สุด

ในปี พ.ศ. 2546 ในรัฐบาลของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เป็นที่น่าสนใจว่า มีชั่วระยะเวลาสั้น ๆ ที่ รฟท.ได้นำขบวนรถโดยสารเข้ามาหยุดรับส่งผู้โดยสารที่อาคารสถานีธนบุรีเหมือนเดิม แต่ในที่สุด เมื่อ รฟท.ได้มอบที่ดินบริเวณสถานีธนบุรีจำนวน 33 ไร่ แก่คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล ทำให้ตั้งแต่วันที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2546 รฟท.จึงไม่เดินรถเข้าสถานีธนบุรีเป็นการถาวร โดยให้ใช้สถานีบางกอกน้อยที่สร้างใหม่เป็นต้นทาง-ปลายทาง

สถานีธนบุรีหมดบทบาทไประยะเวลาหนึ่งหลังจากที่ รฟท.ยกที่ดิน 33 ไร่ อันเป็นที่ตั้งนั้นให้แก่มหาวิทยาลัยมหิดล ทำให้อาคารสถานีธนบุรีมิใช่ทรัพย์สินของ รฟท.อีกต่อไป ขบวนรถต่าง ๆ ที่เข้าออก ถูกเปลี่ยนต้นทาง-ปลายทาง จากธนบุรีเป็นบางกอกน้อย (เหมือนเมื่อครั้งแรกก่อตั้งทางรถไฟหลวงสายใต้) แต่ต่อมา ในวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2547 รฟท.ได้เปลี่ยนชื่อสถานีบางกอกน้อยที่เป็นอาคารสร้างใหม่นั้นไปใช้ชื่อว่าสถานีธนบุรี และใช้คำย่อ ธบ. พร้อมทั้งยกฐานะจากสถานีชั้น 4 ขึ้นเป็นสถานีชั้น 1 เหมือนครั้งก่อนที่จะเลิกใช้อาคารสถานีธนบุรีแห่งเดิม ทำให้บทบาทของสถานีธนบุรีกลับมาอีกครั้งตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา โดยใช้ที่ทำการใหม่คืออาคารสถานีบางกอกน้อยที่สร้างใหม่เมื่อประมาณปี พ.ศ. 2542 นั้นเอง

สิ่งหนึ่งที่น่าสนใจของสถานีธนบุรีคือเรื่องระบบอาณัติสัญญาณ โดยสถานีธนบุรีเป็นสถานีรถไฟแห่งเดียวในกรุงเทพฯ ในปัจจุบันที่ยังคงใช้สัญญาณประจำที่ชนิดหางปลา (ปัจจุบันสัญญาณหางปลายกเลิกการใช้งานแล้ว แต่ยังคงตั้งอยู่) นอกจากนี้บริเวณใกล้เคียงยังมีโรงรถจักรธนบุรี ซึ่งเป็นสถานีบำรุงรักษา ซ่อมแซมรถจักรดีเซลที่สำคัญแห่งหนึ่งของการรถไฟแห่งประเทศไทย และยังเป็นที่เก็บรักษารถจักรไอน้ำที่เหลืออยู่ของการรถไฟฯ ซึ่งยังคงใช้การได้อีก 5 คัน ซึ่งได้มีการนำมาวิ่งลากจูง ขบวนรถพิเศษในโอกาสสำคัญ ๆ อยู่เป็นประจำ

กำหนดเวลาเดินรถ[แก้]

ปัจจุบัน มีขบวนรถไฟสายใต้ เข้า-ออกสถานีรถไฟธนบุรี ดังนี้

เที่ยวไป[แก้]

ขบวนรถ ต้นทาง ธนบุรี ปลายทาง หมายเหตุ
ชื่อสถานี เวลาออก ชื่อสถานี เวลาถึง
พช1123  ธนบุรี  6.45 07:20 นครปฐม  7.55
ธ255 ธนบุรี 07.20 07:30 หลังสวน 18.10
ธ257 ธนบุรี 07.45 07:45 น้ำตก 12.35
พช1115  ธนบุรี  11.50 11:50 นครปฐม  13.00
ธ251 ธนบุรี 13.10 13:10 ประจวบคีรีขันธ์ 19.10
พช1117  ธนบุรี  14.45 14:45 นครปฐม  15.50
พช1129  ธนบุรี  16.40 16:40 นครปฐม  17.50
ธ351 ธนบุรี 18.25 18:25 ราชบุรี 20.35
หมายเหตุขบวนรถ: = สายเหนือ / = สายตะวันออกเฉียงเหนือ / = สายใต้ / = สายตะวันออก / = สายแม่กลอง
ดพ = รถด่วนพิเศษ / ด = รถด่วน / ร = รถเร็ว / ธ = รถธรรมดา / ช = รถชานเมือง / พช = รถพิเศษชานเมือง / ท = รถท้องถิ่น / น = รถนำเที่ยว / ส = รถสินค้า

หมายเหตุ ขบวนรถ พชXXXX (พิเศษชานเมือง) จากธนบุรี - นครปฐม - ธนบุรี เป็นรถ Feeder เชื่อมต่อรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดง (SRT) ที่สถานีชุมทางตลิ่งชัน และรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน (MRT) ที่ ป้ายหยุดรถไฟจรัลสนิทวงษ์

เที่ยวกลับ[แก้]

ขบวนรถ ต้นทาง ธนบุรี ปลายทาง หมายเหตุ
ชื่อสถานี เวลาออก ชื่อสถานี เวลาถึง
ธ260 น้ำตก 05.20 09:45 ธนบุรี 09.50
ธ258 น้ำตก 12.55 17:40 ธนบุรี 17.40
ธ254 หลังสวน 06.30 18:30 ธนบุรี 17.25
หมายเหตุขบวนรถ: = สายเหนือ / = สายตะวันออกเฉียงเหนือ / = สายใต้ / = สายตะวันออก / = สายแม่กลอง
ดพ = รถด่วนพิเศษ / ด = รถด่วน / ร = รถเร็ว / ธ = รถธรรมดา / ช = รถชานเมือง / พช = รถพิเศษชานเมือง / ท = รถท้องถิ่น / น = รถนำเที่ยว / ส = รถสินค้า

หมายเหตุ ขบวนรถ พชXXXX (พิเศษชานเมือง) จากธนบุรี - นครปฐม - ธนบุรี เป็นรถ Feeder เชื่อมต่อรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดง (SRT) ที่สถานีชุมทางตลิ่งชัน และรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน (MRT) ที่ ป้ายหยุดรถไฟจรัญสนิทวงศ์

ขบวนรถที่เคยให้บริการ[แก้]

  • รถเร็วขบวนที่ 177/178 ธนบุรี - หลังสวน - ธนบุรี ยกเลิกการเดินรถเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2558

อ้างอิง[แก้]

  1. http://www.oknation.net/blog/nukpan/2010/08/01/entry-1 รถไฟสายใต้ ช่วงแรกจากบางกอกน้อยถึงเพชรบุรี

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

13°45′33″N 100°29′15″E / 13.759237°N 100.487488°E / 13.759237; 100.487488