รถไฟฟ้าชานเมือง สายนครวิถี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
รถไฟฟ้าชานเมือง สายนครวิถี
รถไฟฟ้าสายสีแดง ฮิตาชิ เอ-ซีรีส์ 2000 ขบวนหมายเลข6 ขณะทดสอบออกจากสถานีบางบำหรุในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2564
ข้อมูลทั่วไป
ชื่ออื่นรถไฟฟ้าชานเมือง สายสีแดงอ่อน
สถานะเปิดให้บริการ
เจ้าของการรถไฟแห่งประเทศไทย
ที่ตั้งกรุงเทพมหานคร, นนทบุรี
ปลายทาง
จำนวนสถานี38 (ทั้งหมด)
4 (เปิดให้บริการ)
34 (โครงการ)
การดำเนินงาน
รูปแบบรถไฟรางหนัก
ระบบรถไฟชานเมือง (สายสีแดง)
ผู้ดำเนินงานรอเอกชนเข้าประมูล
ศูนย์ซ่อมบำรุงศูนย์ซ่อมบำรุง โรงรถจักรไฟฟ้าบางซื่อ
ขบวนรถฮิตาชิ เอ-ซีรีส์ 2000
ประวัติ
ปีที่เริ่มพ.ศ. 2552
เปิดเมื่อ29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564 (2 ปีก่อน)
ข้อมูลทางเทคนิค
ระยะทาง26 กิโลเมตร (16 ไมล์)
จำนวนทางวิ่ง2
ลักษณะทางวิ่งทางยกระดับ
ทางระดับพื้นดิน
รางกว้าง1,000 mm (3 ft 3 38 in) มีเตอร์เกจ
ระบบจ่ายไฟ25 kV AC จ่ายไฟฟ้าเหนือหัว
ความเร็ว160 กิโลเมตรต่อชั่วโมง (99 ไมล์ต่อชั่วโมง)
อาณัติสัญญาณETCS Level 1
แผนที่เส้นทาง

สายตะวันออก
ฉะเชิงเทรา
บางเตย
คลองบางพระ
คลองแขวงกลั่น
เปรง
คลองอุดมชลจร
คลองหลวงแพ่ง
หัวตะเข้ (พระจอมเกล้าลาดกระบังฯ)
เอชเอสอาร์ เชื่อม 3 สนามบิน: อู่ตะเภา
สุวรรณภูมิ
ลาดกระบัง
บ้านทับช้าง
สายสีเหลือง ศรีกรีฑา – กลันตัน
หัวหมาก
รามคำแหง
คลองตัน
มักกะสัน
( สายซิตี้: ราชปรารภ)
แม่น้ำ
คลองเตย
เพลินจิต
สายสีแดงอ่อน แม่น้ำ
พญาไท
สายสีแดงเข้ม หัวลำโพง
ราชวิถี
( สามเสน)
กรุงเทพอภิวัฒน์ (สถานีกลาง)
ศูนย์ซ่อมบำรุง
สายซิตี้: ดอนเมือง
สายสีแดงเข้ม ดอนเมือง
สายเหนือ/สายตะวันออกเฉียงเหนือ
บางซ่อน
พระราม 6
แม่น้ำเจ้าพระยา
บางกรวย-(กฟผ.)
ธนบุรี-ศิริราช
จรัญสนิทวงษ์
บางบำหรุ
คลองบางกอกน้อย
ตลาดน้ำตลิ่งชัน
สายสีแดงอ่อน ธนบุรี
ตลิ่งชัน
ส่วนต่อขยายด้านตะวันตก
บ้านฉิมพลี
ศาลาธรรมสพณ์
ศาลายา
คลองมหาสวัสดิ์
วัดงิ้วราย
นครชัยศรี
ท่าแฉลบ
ศูนย์ซ่อมบำรุงย่อยท่าแฉลบ
ต้นสำโรง
นครปฐม
(รถไฟสายใต้)

รถไฟฟ้าชานเมือง สายนครวิถี (อังกฤษ: S.R.T. Red Line Mass Transit System, Nakhon Withi Line)[1] หรือ รถไฟฟ้าชานเมือง สายสีแดงอ่อน (พระราชวังสนามจันทร์–ตลิ่งชัน–กรุงเทพอภิวัฒน์) ซึ่งเรียกตามสีที่กำหนดและเป็นเส้นทางรถไฟที่เป็นแกนหลักของแผนแม่บทระบบขนส่งมวลชนทางราง ในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล เป็นหนึ่งในโครงการก่อสร้างเส้นทางรถไฟฟ้าในโครงการระบบรถไฟชานเมืองสายสีแดง โดยการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.)

โครงการมีระยะทางทั้งหมด 117.5 กิโลเมตร 31 สถานี ในเส้นทางหลัก และ 12.5 กิโลเมตร 6 สถานี ในเส้นทางแยกทั้งสองช่วง เป็นเส้นทางหลักในแนวตะวันออก-ตะวันตก ตามแนวทางรถไฟเดิมของการรถไฟแห่งประเทศไทย โดยเกิดขึ้นจากการรวมเส้นทางรถไฟชานเมืองสายตะวันตก (หัวลำโพง-นครปฐม) และรถไฟชานเมืองสายตะวันออก (หัวลำโพง-ชุมทางฉะเชิงเทรา) เข้าด้วยกันตามแผนแม่บทระบบขนส่งมวลชนทางราง เชื่อมต่อพื้นที่ชานเมืองด้านทิศตะวันตก (พื้นที่นครปฐม ตลอดจนกรุงเทพมหานครฝั่งธนบุรี) และพื้นที่ชานเมืองด้านทิศตะวันออก (พื้นที่อ่อนนุช-ลาดกระบัง และฉะเชิงเทรา) เข้าสู่ใจกลางเมือง โดยบูรณาการการเดินทางร่วมกันกับระบบรถไฟทางไกลที่สามารถเชื่อมโยงการเดินทางไปสู่ภูมิภาคต่าง ๆ สนับสนุนให้เกิดการกระจายตัวของพื้นที่อยู่อาศัยไปยังพื้นที่รอบนอกตามแนวคิดการขยายผังเมือง และยังสามารถเปลี่ยนโหมดการเดินทางเข้าสู่ท่าอากาศยานหลักทั้งสามแห่งด้วยระบบรถไฟฟ้าเชื่อมท่าอากาศยานที่มีแนวเส้นทางขนานตลอดทั้งโครงการฝั่งตะวันออก รองรับประชาชนทั้งฝั่งตะวันออกและตะวันตกให้สามารถเดินทางเข้าสู่ใจกลางกรุงเทพมหานคร และจากใจกลางกรุงเทพมหานครออกสู่จังหวัดบริวาร ไปยังมหาวิทยาลัยชั้นนำของประเทศไทยทั้งฝั่งตะวันตก (ศาลายา) และตะวันออก (ลาดกระบัง) และสู่จังหวัดโดยรอบได้อย่างรวดเร็ว

ปัจจุบันโครงการรถไฟฟ้าชานเมือง สายนครวิถี แบ่งการดำเนินงานออกเป็นหลายส่วน ส่วนแรก (บางซื่อ–ตลิ่งชัน) ได้ดำเนินการก่อสร้างแล้วเสร็จตั้งแต่ พ.ศ. 2554 แต่ไม่สามารถเปิดดำเนินการได้ในทันที เนื่องจากต้องรอการก่อสร้างอาคารสถานีกลางบางซื่อและการสั่งซื้อระบบรถไฟฟ้า ซึ่งทั้งหมดเป็นสัญญาว่าจ้างของการก่อสร้างเส้นทางในสายสีแดงเข้ม โครงการให้บริการอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564 โดยมี บริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. จำกัด เป็นผู้ให้บริการชั่วคราวจนกว่าจะได้เอกชนดำเนินการ ส่วนที่เหลือได้แก่ ช่วงตลิ่งชัน–ศาลายา , ตลิ่งชัน–ศิริราช และศาลายา–นครปฐม อยู่ระหว่างการทบทวนแบบการก่อสร้าง [2]เนื่องจากมีการปรับกรอบวงเงิน[3]ในการดำเนินการ[4][5] [6] ส่วนช่วงบางซื่อ–มักกะสัน-หัวหมาก , บางซื่อ-หัวลำโพง, พญาไท–แม่น้ำ, หัวหมาก–หัวตะเข้ และหัวตะเข้–ฉะเชิงเทรา หรือส่วนตะวันออกทั้งหมด กรมการขนส่งทางรางพิจารณาโอนย้ายส่วนดังกล่าวไปเป็นส่วนต่อขยายช่วงลาดกระบัง-ฉะเชิงเทราของรถไฟฟ้าเอราวัน สายซิตี้แทน เนื่องจากพิจารณาแล้วพบว่าซ้ำซ้อนในการลงทุน

ภาพรวม[แก้]

เป็นระบบรถไฟฟ้าที่มีโครงสร้างทางวิ่งทั้งระดับดิน (At grade level) ยกระดับ และใต้ดิน ผสมกันตลอดเส้นทาง ดำเนินการโดย บริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. จำกัด (รฟฟท.) ในลักษณะของการจ้างเดินรถชั่วคราวจากการรถไฟแห่งประเทศไทย มีแนวเส้นทางหลักในแนวตะวันตกที่ขนานคู่ไปกับทางรถไฟสายใต้ และตะวันออกที่ขนานคู่ไปกับทางรถไฟสายตะวันออก เริ่มต้นจากสถานีรถไฟนครปฐม อำเภอเมืองนครปฐม จังหวัดนครปฐม ผ่านตัวเมืองนครปฐม มุ่งหน้าข้ามแม่น้ำท่าจีน เข้าสู่ตัวเมืองศาลายา ผ่านมหาวิทยาลัยมหิดล และย่านพุทธมณฑล เข้าสู่พื้นที่ชานเมืองกรุงเทพมหานครฝั่งธนบุรีจนถึงสถานีตลิ่งชัน แนวเส้นทางแบ่งออกเป็นสองช่วง เส้นทางหลักจะยกระดับขึ้นเหนือพื้นดินเพื่อข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาเข้าสู่ใจกลางกรุงเทพมหานครย่านบางซื่อ เชื่อมต่อกับรถไฟฟ้ามหานคร สายฉลองรัชธรรมที่สถานีบางซ่อน รถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคลที่สถานีบางซื่อ จากนั้นลดระดับลงเป็นรถไฟฟ้าใต้ดินเพื่อวิ่งผ่านพระตำหนักจิตรลดารโหฐาน เชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าบีทีเอส สายสุขุมวิทที่สถานีพญาไท รถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคลที่สถานีมักกะสัน รถไฟฟ้าสายสีเหลืองที่สถานีหัวหมาก และตั้งแต่ช่วงสถานีพญาไทจนถึงสถานีลาดกระบัง สามารถเปลี่ยนโหมดการเดินทางเข้าสู่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิด้วยรถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ได้ทุกสถานี รวมถึงที่สถานีพญาไทจะมีแนวเส้นทางแยกออกอีกสองเส้น เส้นทางหลักจะมุ่งหน้าต่อตามทางรถไฟสายตะวันออกแล้วลดระดับเป็นระดับดินเข้าสู่พื้นที่ชานเมืองกรุงเทพมหานครฝั่งตะวันออก ผ่านสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง เข้าสู่จังหวัดฉะเชิงเทรา เพื่อสิ้นสุดทั้งเส้นทางที่สถานีรถไฟชุมทางฉะเชิงเทรา อำเภอเมืองฉะเชิงเทรา จังหวัดฉะเชิงเทรา ที่เป็นจุดเชื่อมต่อกับทางรถไฟสายตะวันออกที่จะมุ่งหน้าสู่จังหวัดสระแก้ว และสายตะวันออกเลียบชายฝั่งที่จะมุ่งหน้าสู่จังหวัดระยอง รวมระยะทางทั้งสิ้น 117.5 กิโลเมตร

ในส่วนของเส้นทางแยกทั้งสองช่วง ช่วงแรกจะแยกจากสถานีตลิ่งชันลงไปตามทางรถไฟสายตลิ่งชันเพื่อมุ่งหน้าเข้าสู่โรงพยาบาลศิริราช อันเป็นจุดเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้ามหานคร สายสีส้ม ในช่วงนี้จะเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคลที่สถานีบางขุนนนท์ ช่วงที่สองจะแยกจากสถานีพญาไทลงไปตามทางรถไฟสายมักกะสัน-แม่น้ำ เพื่อมุ่งหน้าเข้าสู่สถานีรถไฟแม่น้ำซึ่งจะถูกพัฒนาให้เป็นพื้นที่เขตเศรษฐกิจแห่งใหม่ของการรถไฟแห่งประเทศไทย ในช่วงนี้จะเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าบีทีเอส สายสุขุมวิทที่สถานีเพลินจิต รถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล และรถไฟฟ้าสายสีเทาที่สถานีคลองเตย และรถไฟฟ้าสายสีเงินที่สถานีแม่น้ำ รวมระยะทางทั้งสองช่วงที่ 12.5 กิโลเมตร

พื้นที่ที่เส้นทางผ่าน[แก้]

ตำบล/แขวง อำเภอ/เขต จังหวัด
นครปฐม / พระปฐมเจดีย์ / บ่อพลับ / ธรรมศาลา / สามควายเผือก เมืองนครปฐม นครปฐม
ศีรษะทอง / วัดแค / งิ้วราย นครชัยศรี
มหาสวัสดิ์ / ศาลายา พุทธมณฑล
บางกรวย บางกรวย นนทบุรี
ศาลาธรรมสพน์ ทวีวัฒนา กรุงเทพมหานคร
ฉิมพลี / ตลิ่งชัน ตลิ่งชัน
บางพลัด / บางอ้อ บางพลัด
จตุจักร จตุจักร
บางซื่อ บางซื่อ
สามเสนใน พญาไท
สวนจิตรลดา ดุสิต
ทุ่งพญาไท / ถนนพญาไท / มักกะสัน ราชเทวี
บางกะปิ ห้วยขวาง
สวนหลวง สวนหลวง
ประเวศ ประเวศ
ลาดกระบัง / ทับยาว / ชุมทอง ลาดกระบัง
คลองหลวงแพ่ง / อุดมชลจร / คลองอุดมชลจร / คลองเปรง / บางเตย / วังตะเคียน / หน้าเมือง เมืองฉะเชิงเทรา ฉะเชิงเทรา

แนวเส้นทางของโครงการ[แก้]

สถานีบางซ่อนเมื่อเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2559

รถไฟฟ้าชานเมือง สายนครวิถี มีแนวเส้นทางในแนวตะวันตก-ตะวันออกของกรุงเทพมหานครและพื้นที่ต่อเนื่อง ตลอดจนจังหวัดบริวารใกล้เคียง มีจุดเริ่มต้นของทั้งโครงการที่สถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ ซึ่งเป็นจุดเชื่อมต่อของรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล

ในแนวตะวันตก เส้นทางจะเริ่มจากสถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์วิ่งขึ้นไปทางเหนือตามแนวทางรถไฟสายใต้ แล้วเลี้ยวซ้ายวิ่งเลียบทางพิเศษศรีรัช เชื่อมต่อกับ รถไฟฟ้ามหานคร สายฉลองรัชธรรม ที่สถานีบางซ่อน จากนั้นวิ่งข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาในแนวขนานกับสะพานพระราม 7 ไปจนถึงสถานีตลิ่งชัน แนวเส้นทางจะแบ่งออกเป็นสองส่วน คือส่วนตลิ่งชัน - นครปฐม รถไฟฟ้าจะวิ่งตามแนวทางรถไฟสายใต้ไปจนสิ้นสุดโครงการที่สถานีรถไฟนครปฐม อำเภอเมืองนครปฐม จังหวัดนครปฐม และส่วนตลิ่งชัน - ศิริราช รถไฟฟ้าจะวิ่งไปตามแนวทางรถไฟสายตลิ่งชัน เชื่อมต่อกับรถไฟฟ้ามหานคร สายสีส้ม และรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล ที่สถานีบางขุนนนท์ แล้ววิ่งต่อตามแนวรถไฟฟ้ามหานคร สายสีส้ม เพื่อสิ้นสุดเส้นทางทั้งโครงการที่อาคารรักษาพยาบาลหลังใหม่ของโรงพยาบาลศิริราช ซึ่งเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้ามหานคร สายสีส้ม

ในแนวตะวันออก เส้นทางจะเริ่มจากสถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์วิ่งลงไปทางทิศใต้ตามแนวทางรถไฟสายเหนือ แล้วลดระดับลงเป็นรถไฟฟ้าใต้ดิน จากนั้นเลี้ยวซ้ายวิ่งตามแนวรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน รถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ และทางรถไฟสายตะวันออก ไปจนถึงสถานีพญาไทที่เป็นจุดเชื่อมต่อกับ รถไฟฟ้าบีทีเอส สายสุขุมวิท แนวเส้นทางจะแบ่งออกเป็นสองส่วน คือส่วนพญาไท - ฉะเชิงเทรา รถไฟฟ้าจะวิ่งตามแนวทางรถไฟสายตะวันออกไปสิ้นสุดทั้งโครงการที่สถานีรถไฟชุมทางฉะเชิงเทรา อำเภอเมืองฉะเชิงเทรา จังหวัดฉะเชิงเทรา เชื่อมต่อกับ รถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล ที่สถานีมักกะสัน เชื่อมต่อกับ รถไฟฟ้าสายสีเหลือง ที่สถานีหัวหมาก สามารถเปลี่ยนทางไปรถไฟฟ้าเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิเพื่อเข้าท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ได้ที่สถานีพญาไท สถานีมักกะสัน สถานีหัวหมาก สถานีบ้านทับช้าง และสถานีลาดกระบัง และส่วนพญาไท - แม่น้ำ รถไฟฟ้าจะวิ่งลงไปตามทางรถไฟสายเข้าโรงกลั่นน้ำมัน ปตท. พระโขนง เชื่อมต่อกับ รถไฟฟ้าบีทีเอส สายสุขุมวิทที่สถานีเพลินจิต รถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล และรถไฟฟ้าสายสีเทา ที่สถานีคลองเตย และสิ้นสุดทั้งเส้นทางที่สถานีแม่น้ำ

รายชื่อสถานี[แก้]

ชื่อและสีของสถานี รหัสสถานี ขบวนที่จอด จุดเปลี่ยนเส้นทาง วันที่เปิดให้บริการ ที่ตั้ง
รถไฟฟ้า รถทางไกล
เส้นทางหลัก บางซื่อ-ตลิ่งชัน
ตลิ่งชัน RW06 - สายแยกตลิ่งชัน-ศิริราช
สายสีลม สถานีตลิ่งชัน (โครงการ)
29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564 กรุงเทพมหานคร
บางบำหรุ RW05 กรุงเทพมหานคร
นนทบุรี
สะพานคู่ขนานพระราม 6 ข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา
บางซ่อน RW02 - สายสีม่วง สถานีบางซ่อน 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564 กรุงเทพมหานคร
กรุงเทพอภิวัฒน์
(สถานีกลาง)
RW01
RE01
สายสีแดงเข้ม (สถานีร่วม)
สายสีน้ำเงิน สถานีบางซื่อ
สายซิตี้ สถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ (กำลังก่อสร้าง)

รูปแบบของโครงการ[แก้]

ทางวิ่งและขบวนรถ[แก้]

  • เป็นระบบไฟฟ้าขนาดหนัก (heavy rail transit)
  • ทางวิ่ง ในฝั่งตะวันตกมีทั้งทางยกระดับที่ความสูง 7 เมตรในพื้นที่ฝั่งพระนครจนข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาแล้วเสร็จ แล้วลดระดับลงเป็นทางวิ่งระดับดินไปตลอดโครงการ ส่วนฝั่งตะวันออกมีทั้งทางวิ่งยกระดับความสูง 7 เมตร และรถไฟฟ้าใต้ดินผสมกันไป พอพ้นสถานีหัวหมาก ทางวิ่งจะลดระดับลงเป็นทางวิ่งระดับดินไปตลอดโครงการ
  • ขนาดราง 1 เมตร (Meter guage) โดยมีสายไฟฟ้าแรงสูงตีขนานอยู่เหนือราง ระบบรถไฟฟ้าใช้วิธีการรับไฟฟ้าจากด้านบนด้วยแพนโทกราฟ
  • ตัวรถเป็นรถปรับอากาศขนาดกว้าง 2.8-3.7 เมตร ยาว 20 เมตร สูงประมาณ 3.7 เมตร ความจุ 250-300 คนต่อคัน ต่อพวงได้ 3-10 คันต่อขบวน ใช้ไฟฟ้ากระแสสลับ 25 กิโลโวลต์ 50 เฮิรตซ์ ส่งจากสถานีไฟฟ้าแรงสูงจตุจักรของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย และสถานีจ่ายไฟต้นทางบางซื่อของการไฟฟ้านครหลวงเพื่อป้อนระบบขับเคลื่อนรถ สามารถรองรับผู้โดยสารได้ 11,960 คนต่อชั่วโมงต่อทิศทาง
  • ใช้ระบบอาณัติสัญญาณเดินรถด้วยระบบอัตโนมัติจากศูนย์ควบคุมการเดินรถ และใช้ระบบเก็บค่าโดยสารอัตโนมัติเช่นเดียวกับรถไฟฟ้ามหานคร

ศูนย์ซ่อมบำรุงและศูนย์ควบคุมการเดินรถ[แก้]

โครงการมีศูนย์ซ่อมบำรุงใหญ่ตั้งอยู่ภายในบริเวณพื้นที่เดิมของโรงรถจักรบางซื่อ ซึ่งเป็นศูนย์ซ่อมบำรุงที่ใช้งานร่วมกับรถไฟฟ้าชานเมือง สายธานีรัถยา และมีศูนย์ซ่อมบำรุงย่อยบริเวณทางทิศใต้ของสถานีท่าแฉลบ จังหวัดนครปฐม ส่วนศูนย์ควบคุมการเดินรถกลางจะอยู่ในสำนักงานบริหารโครงการสายสีแดง บริเวณอาคารผู้โดยสารสถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์

สิ่งอำนวยความสะดวก[แก้]

มีจุดจอดแล้วจร (park and ride) ที่สถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ สถานีบางบำหรุ และสถานีตลิ่งชัน

สถานี[แก้]

ในระยะแรก (ศาลายา - หัวหมาก) มีสถานีทั้งหมด 17 สถานี (ไม่รวมสถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์) ปัจจุบันก่อสร้างแล้วเสร็จ 3 เป็นสถานียกระดับ 1 สถานี และเป็นสถานีระดับดิน 2 สถานี คงไว้เป็นสถานีในอนาคต 3 สถานี โดยเป็นสถานียกระดับ 2 สถานี และสถานีระดับดิน 1 สถานี และสถานีส่วนต่อขยาย 11 สถานี

ตัวสถานีมีความยาวประมาณ 210 เมตร รองรับการจอดรถไฟฟ้าได้สูงสุด 10 ตู้โดยสาร ออกแบบให้หลบเลี่ยงสาธารณูปโภคใต้ดินและบนดิน และรักษาสภาพผิวดินให้มากที่สุด มีเสายึดสถานีคร่อมอยู่บนทางรถไฟ

ขบวนรถไฟฟ้า[แก้]

รถไฟฟ้าที่ใช้ในโครงการทั้งหมดเป็นรถไฟฟ้าประเภทวิ่งชานเมืองรุ่น เอ-ซีรีส์ 2000 ที่เป็นรุ่นสั่งเฉพาะ โดยอาศัยเค้าโครงต้นแบบจาก ฮิตาชิ เอที 100 เมโทร มีทั้งหมด 10 ขบวน 40 ตู้ ต่อพ่วงขบวนละ 4 ตู้ ผลิตโดย ฮิตาชิ จุผู้โดยสารได้สูงสุด 897 คนต่อขบวน (คำนวณจากอัตราหนาแน่นที่ 3 คน/ตารางเมตร) มีความเร็วสูงสุด 114 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ใช้ระบบอาณัติสัญญาณแบบอัตโนมัติมาตรฐานยุโรป (ETCS) ระดับที่ 1 ภายในขบวนรถไฟฟ้าจะมีเก้าอี้แบบแข็งสองแถวตั้งตามความยาวของตัวรถแบบเดียวกับรถไฟฟ้าเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ

การเชื่อมต่อกับระบบขนส่งมวลชนอื่น[แก้]

รถไฟทางไกล[แก้]

รหัสสถานี สถานีรถไฟฟ้าชานเมือง สถานีรถไฟทางไกล หมายเหตุ
จุดเชื่อมต่อระหว่างสถานีที่เปิดให้บริการแล้ว
RW01
RE01
สถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ สายเหนือ
สายตะวันออกเฉียงเหนือ
สายใต้
สายเหนือ/ตะวันออกเฉียงเหนือ ทุกขบวน สายใต้เฉพาะขบวนรถเร็ว/ด่วน/ด่วนพิเศษ

รถไฟฟ้ามหานคร[แก้]

รหัสสถานี สถานีรถไฟฟ้าชานเมือง สถานีรถไฟฟ้ามหานคร หมายเหตุ
จุดเชื่อมต่อระหว่างสถานีที่เปิดให้บริการแล้ว
RW01
RE01
สถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ สายสีน้ำเงิน : สถานีบางซื่อ เชื่อมต่อโดยตรง
RW02 สถานีบางซ่อน สายสีม่วง : สถานีบางซ่อน เชื่อมต่อโดยตรง
จุดเชื่อมต่อระหว่างสถานีในอนาคต
RWS01 สถานีบางขุนนนท์ สายสีน้ำเงิน : สถานีบางขุนนนท์
สายสีส้ม : สถานีบางขุนนนท์
RWS03 สถานีศิริราช สายสีส้ม : สถานีศิริราช เชื่อมต่อผ่านอาคารรักษาพยาบาลของโรงพยาบาลศิริราช
RW04 สถานีมักกะสัน สายสีน้ำเงิน : สถานีเพชรบุรี เชื่อมต่อโดยทางเดินยกระดับ

โครงการก่อสร้างในปัจจุบัน และส่วนต่อขยาย มีการออกแบบเพื่อเชื่อมต่อ และ/หรือ ใช้สถานีร่วม ดังนี้

แผนที่แสดงการเชื่อมต่อกับระบบขนส่งมวลชนอื่น[แก้]

โครงการส่วนต่อขยาย[แก้]

รายชื่อสถานีส่วนต่อขยายด้านตะวันตก[แก้]

ส่วนต่อขยายช่วงตลิ่งชัน – ศาลายา และตลิ่งชัน – ศิริราช ผ่านมติคณะรัฐมนตรีแล้ว อยู่ระหว่างเตรียมการประมูล สำหรับส่วนต่อขยายศาลายา – นครปฐม อยู่ในระหว่างการออกแบบรายละเอียดโครงสร้าง โดยเป็นส่วนหนึ่งของแผนงานปรับปรุงโครงการรถไฟชานเมืองด้านตะวันตก

รหัสสถานี สถานี โครงสร้าง กม.ที่ ขบวนที่จอด เชื่อมต่อกับ ที่ตั้ง
รถไฟฟ้า รถทางไกล
บางซื่อ – ตลิ่งชัน (สถานีเพิ่มเติม)
RW03 พระราม 6 กรุงเทพมหานคร
RW04 บางกรวย-กฟผ. จังหวัดนนทบุรี
ตลิ่งชัน – ศาลายา
RW07 บ้านฉิมพลี กรุงเทพมหานคร
RW08 กาญจนาภิเษก
RW09 ศาลาธรรมสพน์
RW10 ศาลายา ยกระดับ จังหวัดนครปฐม
ศาลายา – นครปฐม
RW11 คลองมหาสวัสดิ์ ระดับดิน จังหวัดนครปฐม
RW12 วัดงิ้วราย
RW13 นครชัยศรี
RW14 ท่าแฉลบ
RW15 ต้นสำโรง
RW16 นครปฐม
เส้นทางสายแยก ตลิ่งชัน – ศิริราช
RW06 ตลิ่งชัน ระดับดิน สายหลักบางซื่อ-นครปฐม
สายสีลม สถานีตลิ่งชัน (โครงการ)
กรุงเทพมหานคร
RWS01 ตลาดน้ำตลิ่งชัน
RWS02 จรัญสนิทวงศ์ สายสีน้ำเงิน สถานีบางขุนนนท์
สายสีส้ม สถานีบางขุนนนท์ (โครงการ)
RWS03 ศิริราช สายสีส้ม (สถานีร่วม) (โครงการ)

รายชื่อสถานีส่วนต่อขยายด้านตะวันออก[แก้]

การรถไฟแห่งประเทศไทยได้รวมงานโยธาช่วงบางซื่อ – พญาไท เข้ากับโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน สำหรับส่วนต่อขยายช่วงพญาไท – หัวหมาก ส่วนช่วงหัวหมาก – ฉะเชิงเทรา และ พญาไท – แม่น้ำ อยู่ในระหว่างการออกแบบรายละเอียดโครงสร้าง โดยเป็นส่วนหนึ่งของโครงการรถไฟเชื่อม 3 ท่าเรือ และโครงการเพิ่มประสิทธิภาพและเพิ่มความจุทางรถไฟช่วง หัวหมาก - ฉะเชิงเทรา - ศรีราชา อย่างไรก็ตามใน พ.ศ. 2567 กรมการขนส่งทางรางได้พิจารณาโครงการใหม่ และได้ข้อสรุปให้ยกเลิกส่วนต่อขยายฝั่งตะวันออกลงทั้งหมด เนื่องจากทับซ้อนกับรถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ โดยให้โอนตำแหน่งสถานีไปเป็นส่วนต่อขยายฝั่งตะวันออกของสายซิตี้ไลน์ และให้ใช้โครงสร้างบางส่วนของทางวิ่ง สร้างสถานีเพิ่มขึ้นแทน

แผนการก่อสร้าง[แก้]

อ้างอิงตามแผนแม่บทโครงข่ายระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในกรุงเทพมหานครและพื้นที่ต่อเนื่อง โครงการรถไฟฟ้าชานเมือง สายนครวิถี มีแผนดำเนินการดังนี้

ระยะที่ ช่วง ระยะทาง สถานะ
1 บางซื่อ-ตลิ่งชัน 15 กม. ก่อสร้างแล้วเสร็จ
2 ตลิ่งชัน-ศาลายา 12 กม. ผ่านการอนุมัติจากคณะรัฐมนตรี อยู่ในระหว่างการเตรียมการเปิดประมูลในเดือนมิถุนายน 2563[7]
ตลิ่งชัน-ศิริราช 6.5 กม. ผ่านการอนุมัติจากคณะรัฐมนตรี อยู่ในระหว่างการเตรียมการเปิดประมูล
3 ศาลายา-นครปฐม 29 กม.
4 บางซื่อ-พญาไท 6.4 กม. ยกเลิกโครงการ เนื่องจากพิจารณาแล้วพบว่ามีความซ้ำซ้อนในการลงทุน ให้เปลี่ยนส่วนดังกล่าวไปเป็นส่วนต่อขยายของรถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ ช่วงลาดกระบัง-ฉะเชิงเทราแทน โดยอาศัยโครงสร้างบางส่วนของรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบินก่อสร้างสถานีรายทางจำนวน 8 สถานี พร้อมนำสถานีแยกราชวิถีเดิมกลับมาพิจารณาก่อสร้าง เพื่อเชื่อมต่อสายสีแดงเข้ม
5 พญาไท-หัวหมาก 13 กม.
6 หัวหมาก-ชุมทางฉะเชิงเทรา 40 กม.
7 พญาไท-แม่น้ำ 6 กม.

อ้างอิง[แก้]

  1. "พระราชทานชื่อ รถไฟสีแดง-สถานีกลางบางซื่อ "นครวิถี-ธานีรัถยา" และ "สถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์"". ผู้จัดการออนไลน์. 29 กันยายน 2022. สืบค้นเมื่อ 29 กันยายน 2022.
  2. "รอสรุป TOR ประมูลที่ดินบางซื่อ "ศักดิ์สยาม" เร่งขยายสายสีแดง-มธ.รังสิต". MSN.
  3. isranews (2023-01-14). "'ศักดิ์สยาม' ปักหมุด ก.พ. 66 ดันโปรเจ็กต์ 'รถไฟ-ถนน' 2 แสนล้านเข้าครม". สำนักข่าวอิศรา.
  4. SUB_NUM (2023-01-22). "รอสรุป TOR ประมูลที่ดินบางซื่อ "ศักดิ์สยาม" เร่งขยายสายสีแดง-มธ.รังสิต". ประชาชาติธุรกิจ.
  5. Sumtumpruek, Waruth (2023-01-19). "คมนาคมเตรียมเสนอสายสีแดงช่วงรังสิต-มธ.รังสิต เข้า ครม. เดือน ก.พ. 66". ประชาชาติธุรกิจ.
  6. Siripanjana, Maneerat. ""ศักดิ์สยาม" ดัน 9 โปรเจกต์ "คมนาคม" 5 แสนล้าน เข้า ครม. ทิ้งทวนก่อนรัฐบาลหมดวาระ". เดลินิวส์.
  7. รฟท.คาดประมูลส่วนต่อขยายสายสีแดง 3 สัญญากว่า 2 หมื่นลบ. มิ.ย. นี้

ดูเพิ่ม[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]