ข้ามไปเนื้อหา

วิกิพีเดีย:เสนอบทความคัดสรร/บอชช์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี


บอชช์[แก้]

  1. ปิดการเสนอว่าผ่านได้เมื่อผ่านเกณฑ์ทุกข้อ (อาจรอข้อเสนอแนะเพิ่มอีกเล็กน้อย)
  2. ระยะเวลาการปรับปรุงแล้วแต่ผู้เขียนกับผู้ทบทวนหลักตกลงกัน
  3. หากไม่มีการตอบสนองเพียงพอโดยไม่มีการเปลี่ยนแปลงใน 7 วันให้ปิดอภิปรายเป็นไม่ผ่าน
  4. ผู้ใช้มีบัญชีทุกคนร่วมเสนอแนะและทบทวนได้ ผู้ทบทวนหลักขอให้ทำความเข้าใจเกณฑ์ให้ดี
  5. ผู้เขียนหลักไม่ควรทบทวนงานของตนเอง ผู้เสนอแนะอาจช่วยแก้ไขได้แต่ไม่ควรมากเกินไป
เสนอชื่อโดย Chainwit. [ พูดคุย ]

รายการตรวจ[แก้]

เกณฑ์บทความคัดสรร ผลการประเมิน
1ก) เขียนอย่างดี  สำเร็จ
1ข) ครอบคลุม  สำเร็จ
1ค) ค้นคว้าเป็นอย่างดี  สำเร็จ
1ง) เป็นกลาง  สำเร็จ
1จ) มีเสถียรภาพ  สำเร็จ
2ก) ส่วนนำ  สำเร็จ
2ข) โครงสร้างเหมาะสม  สำเร็จ
2ค) การอ้างอิงอย่างเหมาะสม  สำเร็จ
3) สื่อ  สำเร็จ
4) ความยาว  สำเร็จ

ผู้ทบทวนหลัก: Horus (พูดคุย)

หมายเหตุผู้เสนอบทความ

ขออนุญาตเสริมสำหรับผู้ตรวจบทความในอนาคตว่า:

  • ภาพที่ใช้บางภาพไม่ตรงกับบน enwiki โดยเลือกใช้ภาพที่ดีกว่า aesthetically
  • บางย่อหน้าไม่ได้แปลมาจาก enwiki เนื่องจากเป็นย่อหน้าไม่มีอ้างอิง ซึ่งไม่เหมาะสมที่จะมีในบทความคัดสรร และพอเข้าใจได้ว่าเป็นเนื้อหาที่เพิ่มเติมมาหลังตรวจเป็น FA บน enwiki แล้ว
  • ช่วงต่อจากนี้ผมอาจจะไม่สะดวกเข้ามาดูตลอด ต้องขอรบกวน ping ทิ้งไว้ถ้าจะเสนอแนะใด ๆ นะครับ ขอบคุณมากครับ --Chainwit. [ พูดคุย ] 18:59, 12 พฤษภาคม 2565 (+07)[ตอบกลับ]

เสนอแนะการปรับปรุง[แก้]

  1. ส่วนนำตกย่อหน้า 3 ไปหรือเปล่าครับ --Horus (พูดคุย) 19:05, 12 พฤษภาคม 2565 (+07)[ตอบกลับ]
     สำเร็จ ขอบคุณครับผม -- Chainwit. [ พูดคุย ] 01:42, 2 มิถุนายน 2565 (+07)[ตอบกลับ]
  2. บางประโยคเปลี่ยนจาก passive มาเป็น active ได้ครับ เช่น ถูกนำไปใช้ ก็เปลี่ยนเป็น มีการใช้ --Horus (พูดคุย) 12:53, 5 มิถุนายน 2565 (+07)[ตอบกลับ]
    @Chainwit.: เหลือข้อเดียวครับ --Horus (พูดคุย) 22:11, 13 มิถุนายน 2565 (+07)[ตอบกลับ]
    น่าจะครบแล้วนะครับ รบกวนอีกทีครับผม ขอบคุณมากครับ -- Chainwit. [ พูดคุย ] 22:45, 13 มิถุนายน 2565 (+07)[ตอบกลับ]
    ยังมีอีกนะครับ ลองใช้ Ctrl + F ดู --Horus (พูดคุย) 18:46, 14 มิถุนายน 2565 (+07)[ตอบกลับ]
    ผมเจอแค่ "การอพยพขนานใหญ่ของชนกลุ่มน้อยทางศาสนาที่ถูกข่มเหงจากจักรวรรดิรัสเซียไปยังอเมริกาเหนือ" อันนี้คิดว่าเขียนในรูป passive เช่นนี้ น่าจะสื่อความหมายได้ดีที่สุดนะครับ (เช่น ในบทความบน GQ, BBC Thai ก็ใช้ "ที่ถูกข่มเหง") พอเปลี่ยนเป็นรูป "ที่มีการข่มเหง" ผมรู้สึกมันความหมายเปลี่ยนแปลก ๆ ครับ (-__-') -- Chainwit. [ พูดคุย ] 03:50, 18 มิถุนายน 2565 (+07)[ตอบกลับ]
     สำเร็จ ช่างเถอะครับ ผมแก้ให้ละ --Horus (พูดคุย) 12:35, 18 มิถุนายน 2565 (+07)[ตอบกลับ]
    ขอบคุณครับ (แต่ผมก็ยังรู้สึกแปลกอยู่ดี ;w; แง้) -- Chainwit. [ พูดคุย ] 16:35, 18 มิถุนายน 2565 (+07)[ตอบกลับ]
    ผมไม่ได้แก้ประโยคนี้ครับ ผมถึงบอกให้ Ctrl + F ไงครับ --Horus (พูดคุย) 16:40, 18 มิถุนายน 2565 (+07)[ตอบกลับ]
  3. คำกริยา sauté น่าจะทับศัพท์ได้ครับ เห็นใช้กันแพร่หลายอยู่ --Horus (พูดคุย) 12:53, 5 มิถุนายน 2565 (+07)[ตอบกลับ]
    ผมยังคง sautéing ไว้เป็นลิงก์ที่แท้จริงอยู่สำหรับการสร้างบทความ (ซึ่งคงต้องทับศัพท์) ในอนาคต แต่ในที่นี้คิดว่า ถ้าใช้คำว่า "ผัด" ผู้อ่านน่าจะเข้าใจได้ดีกว่า และที่จริงสูตรโดยทั่วไปไม่ได้บังคับให้ผัดตามนิยามของการ "sauté" อย่างเคร่งครัด จะผัดช้าหรือผัดเร็ว จะกระดกกระทะหรือไม่ก็ได้ ขึ้นอยู่กับความถนัดของผู้ปรุงและความเหมาะสมในการจัดการกับส่วนผสมที่ใช้ --Potapt (คุย) 17:14, 5 มิถุนายน 2565 (+07)[ตอบกลับ]
  4. เวลาเขียนเทียบกับภาษาต้นฉบับ บางที่ใช้ note บางที่ใช้วงเล็บ ไม่เป็นอย่างเดียวกัน (ส่วนตัวคิดว่าเปลี่ยนเป็นวงเล็บดีกว่า ถ้าวงเล็บซ้อนกันใช้เครื่องหมาย ;) --Horus (พูดคุย) 13:00, 5 มิถุนายน 2565 (+07)[ตอบกลับ]
    ผมแยกเป็นว่า ตัวสะกดในภาษาต้นทางใส่ไว้ใน note ส่วนคำทับศัพท์เป็นอักษรไทยใส่ไว้ในส่วนเนื้อหาบทความ ที่อยู่ในวงเล็บเป็นการขยายความหรืออธิบายว่ายังมีชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่ง (ซึ่งอาจจะกลายมาเป็นคำในภาษาไทยในอนาคตหรือไม่ก็ได้ แต่ไม่ใช่การแนะนำตัวสะกดในภาษาต้นทาง) ถ้าเอาคำทับศัพท์ไปใส่ไว้ใน note ไม่น่าจะเหมาะเพราะภาษาเหล่านี้ไม่ได้ใช้อักษรไทยอยู่เป็นประจำ และถ้าเอาคำในภาษาต้นฉบับมาใส่ไว้ในส่วนเนื้อหาก็จะรกเกินไป ขัดจังหวะในการอ่าน --Potapt (คุย) 17:14, 5 มิถุนายน 2565 (+07)[ตอบกลับ]
    ผมขอตัดข้อนี้ออกเพราะต้นฉบับก็ใช้ตามนี้ครับ --Horus (พูดคุย) 17:23, 5 มิถุนายน 2565 (+07)[ตอบกลับ]
  5. cuisine ไม่จำเป็นต้องหมายถึงตำรับอาหาร แต่หมายถึงอาหารรวม ๆ อย่างประโยค "มีบอชช์รูปแบบท้องถิ่นมากมายที่พัฒนาขึ้นในตำรับอาหารรัสเซีย" อาจแปลเป็น "ในอาหารรัสเซียมีการพัฒนาบอชช์รูปแบบท้องถิ่นขึ้นจำนวนมาก" --Horus (พูดคุย) 13:00, 5 มิถุนายน 2565 (+07)[ตอบกลับ]
    รบกวนขอความเห็นคุณ @Potapt: อีกเสียงครับ อันนี้ผมไม่แน่ใจเหมือนกัน -- Chainwit. [ พูดคุย ] 20:43, 12 มิถุนายน 2565 (+07)[ตอบกลับ]
    ส่วนตัวผมไม่รู้สึกว่าความหมายต่างกันมากเท่าไหร่นะครับ จะตัดคำว่า "ตำรับ" ออกก็ได้ เพียงแต่ในบางจุดอาจจะทำให้กำกวมหรือซ้ำซ้อน เช่น "บอชช์ก็ได้รับการเผยแพร่เข้าไปในตำรับอาหารของชนกลุ่มต่าง ๆ" หรือ "...เป็นอาหารหลักอย่างหนึ่งในตำรับอาหารยูเครนและรัสเซีย" --Potapt (คุย) 04:30, 13 มิถุนายน 2565 (+07)[ตอบกลับ]
    ตำรับ จะหมายถึง ตำรา ครับ อย่างถ้าบอกว่า อาหารไทย เช่น ข้าวมันไก่ จะมีความหมายไม่เหมือนกับ ในตำรับอาหารไทย เช่น ข้าวมันไก่ (แปลว่าในตำราอาหารมีข้าวมันไก่) --Horus (พูดคุย) 11:49, 13 มิถุนายน 2565 (+07)[ตอบกลับ]
    ผมเห็นว่าในการใช้ปัจจุบัน ความหมายของคำมันกว้างขึ้นกว่าที่พจนานุกรมนิยามไว้ครับ แต่ก็อย่างที่บอกว่าถ้าจะตัดออกไปก็ไม่ขัดข้องอะไร --Potapt (คุย) 19:48, 13 มิถุนายน 2565 (+07)[ตอบกลับ]
  6. คำยืมภาษาต่างประเทศไม่ต้องใช้ตัวเอนในภาษาไทยนะครับ ถ้าอยากเน้นใช้เครื่องหมาย "" แทนดีกว่า --Horus (พูดคุย) 11:56, 13 มิถุนายน 2565 (+07)[ตอบกลับ]
     สำเร็จ --Potapt (คุย) 21:09, 13 มิถุนายน 2565 (+07)[ตอบกลับ]