ฟาโรห์เนเฟอร์คาโซคาร์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

เนเฟอร์คาโซคาร์ (ภาษาอียิปต์โบราณ เนเฟอร์-คา-เซเคอร์ Nefer-Ka-Seker ซึ่งแปลว่า "ดวงจิตวิญญาณอันงดงามแห่งเทพโซคาร์" หรือ "ดวงจิตวิญญาณอันสมบูรณ์แบบแห่งเทพโซคาร์") เป็นกษัตริย์แห่งอียิปต์โบราณ (ฟาโรห์) ที่อาจจะทรงปกครองอียิปต์ในช่วงราชวงศ์ที่สอง ไม่ค่อยทราบข้อมูลเกี่ยวกับพระองค์ เนื่องจากไม่พบบันทึกร่วมสมัย แต่พระนามของพระองค์ถูกพบในแหล่งข้อมูลในภายหลังรัชสมัยของพระองค์[1]

ที่มาของชื่อ[แก้]

พระนามเนเฟอร์คาโซคาร์ปรากฏในบันทึกพระนามแห่งซักกอเราะฮ์จากสุสานนักบวชชั้นสูง ทจูเนรอย ซึ่งพระองค์ได้รับการบันทึกว่าครองราชย์ต่อจากฟาโนห์เนเฟอร์คาเรที่ 1 และก่อนหน้าฟาโรห์ฮูดเจฟาที่ 1 ในคาร์ทูชที่ 9[2]

พระองค์ยังปรากฏในบันทึกพระนามแห่งตูรินในฐานะผู้ดำรงตำแหน่งถัดจากฟาโรห์เนเฟอร์คาเรที่ 1 และก่อนหน้าฟาโรห์ฮูดเจฟาที่ 1 คาร์ทูชพระองค์อยู่ในแนวที่ 3 แถว 1 บันทึกพระนามแห่งตูรินระบุรัชสมัยของพระองค์ที่ 8 ปี 3 เดือน[3]

รัชสมัย[แก้]

ข้อมูลที่ทราบเกี่ยวกับรัชสมัยของฟาโรห์เนเฟอร์คาโซคาร์น้อยมาก นักไอยคุปต์วิทยา เช่น ไอ. อี. เอส. เอ็ดเวิร์ดส์ และวอลเตอร์ ไบรอัน เอเมอรี คิดว่าฟาโรห์เนเฟอร์คาโซคาร์ทรงปกครองเฉพาะในบริเวณอียิปต์ล่าง เนื่องจากพระนามของพระองค์ปรากฏในบันทึกพระนามแห่งซักกอเราะฮ์ แต่พระนามได้สูญหายไปจากบันทึกพระนามแห่งอไบดอส ในขณะที่บันทึกพระนามแห่งซักกอเราะฮ์ได้เกี่ยวข้องกับบริเวณเมมฟิส และเชื่อกันว่าฟาโรห์เนเฟอร์คาโซคาร์ทรงปกครองอียิปต์ล่างในช่วงเวลาเดียวกับที่ฟาโรห์ อาทิ เพอร์อิบเซน และเซเคมอิบ-เพอร์เอนมาอัต ซึ่งทรงปกครองอียิปต์บน ข้อสันนิษฐานดังกล่าวคงสอดคล้องกับทัศนะของนักไอยคุปต์วิทยาจำนวนหนึ่งที่สมัยนั้นอียิปต์ถูกแบ่งออกเป็นสองส่วน ทฤษฎีของอาณาจักรที่ถูกแบ่งแยกตั้งแต่สิ้นสุดรัชสมัยของฟาโณห์นิเนทเจอร์นั้นได้อิงจากการศึกษาพระนามของกษัตริย์เพอร์อิบเซน ซึ่งมีพระนามเชื่อมโยงกับเทพเซธแห่งออมบอส เพื่อแสดงให้เห็นว่าพระองค์ทรงมาจากเมืองออมบอส และปกครองพื้นที่ที่รวมถึงออมบอสด้วย ซึ่งฟาโรห์เพอร์อิบเซนเองได้รับการบันทึกไว้พร้อมกันในวัสตุโบราณที่พบในบริเวณไธนิส แต่ไม่พบออกเอกสารใดที่เกี่ยวพระองค์ในเมมฟิส กรณีดังกล่าวของพระองค์จึงสอดคล้องกับกรณีที่ฟาโรห์เนเฟอร์คาโซคาร์ทรงปกครองเฉพาะอียิปต์ล่าง ผู้ปกครองก่อนหน้าของพระองค์ คือ ฟาโรห์เซเนดจ์และฟาโรห์เนเฟอร์คาราที่ 1 และผู้สืบทอดพระราชบัลลังก์ของพระองค์ คือ ฟาโรห์ฮูดเจฟาที่ 1[4][5][6][7]

อ้างอิง[แก้]

  1. Thomas Schneider: Lexikon der Pharaonen. Albatros, Düsseldorf 2002, ISBN 3-491-96053-3, page 175.
  2. Jan Assmann, Elke Blumenthal, Georges Posener: Literatur und Politik im pharaonischen und ptolemäischen Ägypten. Institut français d'archéologie orientale, Paris/Kairo 1999, ISBN 2-7247-0251-4, page 277.
  3. Alan H. Gardiner: The Royal Canon of Turin. Griffith Institute of Oxford, Oxford (UK) 1997, ISBN 0-900416-48-3; page 15 & Table I.
  4. Iorwerth Eiddon Stephen Edwards: The Cambridge ancient history Vol. 1, Pt. 2: Early history of the Middle East, 3. Ausgabe (Reprint). Cambridge University Press, Cambridge 2006, ISBN 0-521-07791-5; page 35.
  5. Wolfgang Helck: Untersuchungen zur Thinitenzeit. Otto Harrassowitz, Wiesbaden 1987, ISBN 3-447-02677-4 page 35.
  6. Walter Bryan Emery: Ägypten, Geschichte und Kultur der Frühzeit, 3200-2800 v. Chr. Fourier, Munic 1964; page 19.
  7. Herman Alexander Schlögl: Das Alte Ägypten. Beck, Hamburg 2006, ISBN 3-406-54988-8; page 77 - 78.