ฟาโรห์เซเบคโฮเตปที่ 3

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

โซเบคโฮเทปที่ 3 (พระนามครองราชย์: เซเคมเร-เซวัดจ์ทาวี) เป็นฟาโรห์แห่งอียิปต์โบราณจากราชวงศ์ที่สิบสามในช่วงสมัยราชอาณาจักรกลาง ซึ่งทรงครองราชย์เป็นระยะเวลาสามถึงสี่ปี

พระราชวงศ์[แก้]

พระราชบิดา-มารดา[แก้]

ตราประทับของฟาโรห์โซเบคโฮเทปที่ 3 ที่ปรากฏพระนามของพระราชบิดาของพระองค์ คือ เทพบิดรเมนทูโฮเทป [1]

ข้อมูลเกี่ยวกับพระราชวงศ์ของพระองค์ทราบมาจากแหล่งข้อมูลหลายแหล่ง โดยอนุสาวรีย์จากเกาะเซเฮลได้แสดงภาพของพระองค์กับพระราชบิดาพระนามว่า เมนทูโฮเทป และพระราชมารดาคือพระพันปีหลวงยูเฮติบู (ยาอูเฮเยบู) ส่วนพระเชษฐาหรือพระอนุชาก็ทรงพระนามว่า เซเนบ และคาคาอู และพระภคินีหรือพระขนิษฐาต่างบิดาพระนามว่า เรนิเซเนบ ซึ่งพระนางเรนิเซเนบ เป็นพระธิดาของพระนางยูเฮติบูกับพระสวามีพระองค์ที่สองนามว่า เดดูโซเบค[2]

พระมเหสีและพระราชโอรส-ธิดา[แก้]

พระองค์ทรงมีพระมเหสีสองพระองค์ คือ พระนางเซเนบเฮนาส และพระนางเนนิ บนจารึกจากคอปโตส (กิฟฏ์)[3] ซึ่งปัจจุบันอยู่ในพิพิธภัณฑ์ลูฟวร์ (C 8) กล่าวถึงพระราชธิดาของพระนางเนนิ พระนามว่า ยูเฮติบู เฟนดิ และเดเดตันเกต ยูเฮติบู เฟนดิ โดยเขียนพระนามของทั้งสองพระองค์ลงในคาร์ทูช[2] ซึ่งเรื่องดังกล่าวเป็นครั้งที่สองในประวัติศาสตร์อียิปต์โบราณที่พระราชธิดาของกษัตริย์ทรงได้รับเกียรตินี้

ภาพสลักของพระนางเซเนบเฮนาสปรากฏร่วมกับฟาโรห์โซเบคโฮเทปบนแท่นบูชาในเกาะเซเฮลและบนจารึกในวาดิ อัล-ฮอล[3] ที่แสดงภาพสลักของฟาโรห์โซเบคโฮเทปที่ 3 ประทับต่อหน้าเทพเจ้ามอนตู พระองค์ได้รับอังค์และคทาวาสจากเทพเจ้า โดยปรากฏภาพสลักของพระราชบิดามอนทูโฮเทป พระราชมารดายูเฮติบู และพระมเหสีเซเนบเฮนาส ประทับถัดจากพระองค์ตามลำดับ[2]

รัชสมัย[แก้]

ปรากฏหลักฐานโบราณวัตถุมากมายที่มีความเกี่ยวข้องกับพระองค์[4][5] ถึงแม้ในบันทึกพระนามแห่งตูรินจะบันทึกว่าพระองค์ทรงครองราชย์เป็นระยะเวลาเพียงแค่สี่ปีเท่านั้น[6] และอีกสองถึงสี่เดือนก็ตาม พระองค์ทรงได้โปรดให้เพิ่มคำจารึกในวิหารแห่งเทพมอนตูที่เมดามุด[7] และโปรดให้สร้างวิหารน้อยที่อัล กับ[8] บนเกาะเซเฮล[9] พบแท่นบูชา ซึ่งปรากฏพระนามของพระองค์

พบตราประทับสคารับจำนวนหนึ่ง ซึ่งมาจากเจ้าหน้าที่การบัญชีของกษัตริย์นามว่า โซเบคโฮเทป ซึ่งเกิดแต่เจ้าหน้าที่การบัญชีของกษัตริย์นามว่า มอนทูโฮเทป[10] ซึ่งเป็นไปได้ว่าตราประทับสคารับเหล่านี้เป็นของฟาโรห์โซเบคโฮเทปที่ 3 ก่อนหน้าที่พระองค์จะทรงเป็นกษัตริย์

พระองค์จัดอยู่ในกลุ่มแรกของฟาโรห์จากราชวงศ์ที่สิบสามที่ปรากฏอยู่ในบันทึกทางประวัติศาสตร์ โดยผู้ปกครองจากราชวงศ์ที่สิบสามกลุ่มนี้ล้วนเป็นที่รู้จักมากวัตถุโบราณหลายชิ้น และผู้ปกครองเหล่านี้ทรงได้โปรดให้ผลิตตราประทับจำนวนมากและมีอนุสรณ์สถานส่วนพระองค์มากมายที่สามารถระบุถึงรัชสมัยของผู้ปกครองเหล่านี้ได้ ซึ่งเหมือนจะบ่งบอกว่าพระราชอาณาจักรค่อนข้างมีเสถียรภาพในช่วงเวลาดังกล่าว

หลักฐานยืนยัน[แก้]

หลักฐานยืนยันหลักของพระองค์พบอยู่ในอียิปต์บน มีเพียงการค้นพบหลักฐานยืนยันเล็กๆ น้อยๆ (จากการแลกเปลี่ยน) ที่ถูกพบในอียิปต์ล่างและนิวเบีย สำหรับรายการทั้งหมด โปรดดูที่ ไรโฮลท์ 1997:343-44 ไฟล์ 13/26

อียิปต์ล่าง[แก้]

  • ตราประทับสคารับหนึ่งชิ้นที่ซักกอเราะห์[11]ว่ากันว่าตราประทับดังกล่าวมาจากซักกอเราะห์
  • รอยตราประทับสองชิ้นและตราประทับสคารับสองชิ้นที่ลิชต์

อียิปต์บน[แก้]

  • ตราประทับสคารับหนึ่งชิ้นที่อไบดอส
  • จารึกพระราชธิดาแห่งกษัตริย์สองพระองค์[12] และตราประทับสคารับหนึ่งชิ้นที่คอปโตส
  • จารึกหิน (บันทึกพระราชวงศ์) ที่วาดิ อัล-ฮอล
  • องค์ประกอบทางสถาปัตยกรรม (ถูกแย่งชิง) ฐานหนึ่งของรูปสลักขนาดมหึมาถูกนำมาใช้ซ้ำในภายหลังโดยฟาโรห์โซเบคเอมซาฟที่ 2 ที่เมดามุด

นิวเบีย[แก้]

ในป้อมปราการแห่งมิร์กิสซา (นิวเบีย) พบรอบตราประทับสคารับที่ปรากฏพระนามของฟาโรห์โซเบคโฮเทปที่ 3 และพระพันปีหลวงยูเฮติบู[13] นอกจากนี้ยังพบรอบตราประทับสคารับพร้อมพระนาม เซเคมเร เซวัดจ์ทาวี ซึ่งเป็นตราประทับที่มีประทับตราสองครั้ง[14]

หลักฐานยืนยันที่ไม่ร่วมสมัยกัน[แก้]

ในบันทึกพระนามแห่งตูรินคอลัมน์ที่ 7 แถวที่ 24 บันทึกไว้ว่า "กษัตริย์แห่งสองดินแดน เซเคม[คา]เร วัดจ์ทาวี โซเบคโฮเทป, 4 ปี, 2 เดือน x วัน" {nsw-bit sḫm-kꜢ-rꜤ wꜢḏ-tꜢ.wy sbk-ḥtp rnpt 4 Ꜣbd 2 hrw x}[15]

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. Flinders Petrie: A history of Egypt from the earliest times to the 16th dynasty (1897), available copyright free here
  2. 2.0 2.1 2.2 M. F. Laming Macadam, A Royal Family of the Thirteenth Dynasty, The Journal of Egyptian Archaeology, Vol. 37 (Dec., 1951), pp. 20-28
  3. 3.0 3.1 Dodson, Aidan and Hilton, Dyan. The Complete Royal Families of Ancient Egypt. Thames & Hudson. 2004. ISBN 0-500-05128-3
  4. A scarab of Sobekhotep III, at the Metropolitan Museum of Art
  5. Another scarab of Sobekhotep III, at the Metropolitan Museum of Art
  6. Following Ryholt: ''The Political Situation, p. 71. However, the four is partly destroyed; year 3 is also possible
  7. F. Bisson de la Roque, J. J. Clère, Fouilles de Médamoud (1927), Cairo 1928, p. 44; Porter & Moss V (1937), p. 146-49
  8. Ryholt, The Political Situation, p. 344
  9. M.F.L. Macadams: Gleanings from the Bankes MSSIn: Journal of Egyptian Archaeology 32 (1946), 60, pl. VIII; H.A. Wild: A Bas-Relief of SekhemRe-Sewadjtowe Sebkhotpe In: Journal of Egyptian Archaeology 37 (1951), p. 12-16
  10. G.T. Martin, Egyptian Administrative and Private Name Seals Oxford 1971, n. 575-588
  11. BM EA 30506
  12. Louvre Museum C8
  13. Mirgissa 32-1-120, [1]https://pnm.uni-mainz.de/4/inscription/11080
  14. BMFA, Ryholt 1997:344; unclear if this is the same impression as Mirgissa 32-1-120
  15. "Turin King List: Column 7".