ผู้ใช้:Drgarden/Reference

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ห้องสมุดของ Dr.Garden ส่วนนี้เป็นส่วนอ้างอิงส่วนตัวของผมครับ ใช้เก็บพวกข้อมูลที่เพื่อนๆ ชาววิกิพีเดียช่วยกันมาลงไว้ ผมเอาไว้ใช้เป็นบรรทัดฐานและหลักการในการเขียนครับ

Syntax กล่องข้อมูล[แก้]

จาก วิกิพีเดีย:เลขาชาววิกิพีเดีย

ใช้รูปแบบ {{#if:{{{ตัวแปร|}}}|ข้อความที่แสดงถ้ามีการใส่ตัวแปร}} ภายในส่วนข้อความถ้ามีเครื่องหมาย | ต้องเปลี่ยนเป็น {{!}} ตัวอย่าง ถ้าไม่ต้องการใช้โค้ดถ้าไม่ใส่ตัวแปร รูปภาพ
|-

| style = "text-align:center"|{{{รูปภาพ}}} ก็ใช้

{{#if:{{{รูปภาพ|}}}| {{!}}-
{{!}}style="text-align:center"{{!}}{{{รูปภาพ}}} }}
ถ้าต้องการใช้โค้ดก็ต่อเมื่อทั้งตัวแปร กำลัง1 และ กำลัง2 มีการใส่ค่าก็ใช้
{{#if:{{{กำลัง1|}}}| {{#if:{{{กำลัง2|}}}| ... }} }}
ถ้าต้องการใช้โค้ดก็ต่อเมื่อตัวแปร กำลัง1 หรือ กำลัง2 (ตัวแปรใดตัวแปรหนึ่งหรือทั้งสองตัว) มีการใส่ค่าก็ใช้
{{#if:{{{กำลัง1|{{{กำลัง2|}}}}}}| ... }}

ลองเล่นดูครับ -- Lerdsuwa 16:24, 24 มีนาคม 2007 (UTC)


การใช้ภาษาสำหรับบทความทางการแพทย์[แก้]

จาก วิกิพีเดีย:สภากาแฟ (การใช้ภาษา)#การใช้ภาษาสำหรับบทความทางการแพทย์

  • ในบทความทางการแพทย์หลายบทความ มีการใช้การเขียนทับศัพท์พวกศัพท์เทคนิคต่างๆ หลากหลายมาก ผู้เขียนบทความบางท่านก็ใช้การถอดเสียงเอา (เช่น axon ใช้ว่า แอกซอน) หรือบางท่านก็ใช้ศัพท์บัญญัติของราชบัณฑิตยสถาน (เช่นผมเอง ใช้ว่า แกนประสาท) ผมเลยคิดว่า เราน่าจะมีระบบการแปลที่ให้เหมือนๆ กัน เพื่อที่ว่าจะได้อ่านได้ง่าย และดูเป็นระเบียบแบบแผน มาตรฐานเดียวกันตลอดในทุกๆ บทความ ซึ่งผมเลยอยากเสนอให้ใช้มาตรฐานของราชบัณฑิตยสถาน เพราะว่ามีความเป็นระบบดีในระดับหนึ่งอยู่แล้ว
  • แต่ก็มีปัญหาว่า ศัพท์บัญญัติบางคำก็ฟังดูไม่ make sense หรือฟังดูแปลกๆ ตลกๆ (เช่น action potential ใช้ศัพท์บัญญัติว่า ศักยะทำงาน ฟังดูพิกลๆ บางท่านจึงเลี่ยงไปใช้คำว่า แอกชั่น โพเทนเชียล ทับศัพท์เอา) ผมเลยเกิดคำถามที่ว่า เราจะทำอย่างไรกับศัพท์ทางการแพทย์นี้ดี เพราะว่า บางคำแปลแล้วดูพิกลๆ ดังกล่าว และบางคำ ทางราชบัณฑิตยสถานก็ไม่ได้กำหนดศัพท์บัญญัติไว้ (เช่น gap junction ไม่มีศัพท์บัญญัติ บางท่านจึงใช้ว่า แกป จังชั่น) หรือบางคำก็ไม่เป็นที่นิยมใช้กัน (เช่น action potential ดังกล่าวข้างต้น หรือคำว่า autonomic nervous system ที่ราชบัณฑิตให้ใช้ว่า ระบบประสาทอิสระ ในขณะที่สถานศึกษาทั่วไปใช้กันว่า ระบบประสาทอัตโนวัติ หรือบางที่ใช้ ระบบประสาทอัตโนมัติ) ผมเลยอยากลองถามเพื่อนๆ ชาววิกิพีเดียดูว่า เราควรจะทำอย่างไร เราควรจะยึดมาตรฐานของราชบัณฑิตยสถานหรือไม่ หรือว่าเราควรมาตั้งมาตรฐานของวิกิพีเดียเอง ว่าคำใดจะใช้ตามหลักราชบัณฑิตยสถาน คำใดจะใช้ทับศัพท์ คำใดจะใช้ตามความนิยม
  • เพราะว่าศัพท์ทางการแพทย์นั้นมีเป็นภาษาอังกฤษมาก ซึ่งทำให้เกิดปัญหาการตั้งชื่อบทความ เพราะนโยบายของวิกิพีเดียให้ใช้ชื่อบทความเป็นภาษาไทย แต่ชื่อทางการแพทย์บางอย่างเป็นภาษาอังกฤษที่ไม่มีศัพท์บัญญัติ ครั้นจะใช้ทับศัพท์ก็ดูแปลกๆ อีกแล้ว (เช่น corpora quadrigermina ถ้าทับศัพท์ก็เป็น คอร์พอราควอไดร์เจอมินาร์ ซึ่งน่าจะค้นหาเจอยากมากถ้าผู้ค้นหาเขียนทับศัพท์ได้ไม่ตรงกับชื่อบทความ) ผมเลยมีคำถามที่สองอยากลองถามว่า ถ้าชื่อบทความที่เป็นทางการแพทย์ (หรือสาขาวิชาอื่นๆ ก็ได้) ที่เป็นภาษาอังกฤษแต่ไม่มีศัพท์บัญญัติ จะตั้งชื่อเป็นภาษาอังกฤษได้หรือไม่ หรือถ้าไม่ได้ ให้ใช้ทับศัพท์ หรืออย่างไร
  • ผมคิดจนปวดหัวก็คิดไม่ออกครับ วานเพื่อนๆ ช่วยกันลงความเห็นหน่อยครับ ถ้าอ่านข้อความข้างบนไม่รู้เรื่อง ลองถามกลับมาได้นะครับ · Dr.Garden · พูดคุย · 10:45, 26 มิถุนายน 2007 (UTC)
นอกเหนือจากที่กล่าวการทับศัพท์ไว้ที่ วิกิพีเดีย:หลักการตั้งชื่อบทความ#การทับศัพท์ชื่อ แล้ว ผมก็มีปัญหาเหมือนกันครับ พวกศัพท์คอมพิวเตอร์ เพราะส่วนใหญ่จะเป็นภาษาอังกฤษเหมือนกัน ซึ่งส่วนใหญ่ที่ผมใช้คือ ถ้าศัพท์คำไหนไม่ยาวส่วนมากก็ทับศัพท์ไทย แต่ถ้าศัพท์ยาวมากพอทับศัพท์แล้วจะยิ่งไม่คุ้น จะใช้เป็นชื่อภาษาอังกฤษเป็นชื่อบทความไปเลย โดยตรงส่วนหัวใส่แม่แบบ {{ชื่อภาษาอื่น}} หรือ {{ชื่ออังกฤษ}} ไว้ และในตัวบทความเองมีเขียนกำกับในตัวบทความว่าอ่านอย่างไรครับ ลองดูความเห็นของท่านอื่นดูบ้างว่าคิดกันอย่างไรครับเกี่ยวกับเรื่องนี้ --Manop | พูดคุย - 22:00, 26 มิถุนายน 2007 (UTC)
    • ตรงนี้ผมเองก็มีปัญหาในการเขียนทับศัพท์ชื่อทางด้านกายวิภาคเหมือนกันครับ ซึ่งที่ผมตั้งไว้เป็นหลักคร่าวๆในการเขียนในบทความของผมคือ
  1. ศัพท์ที่พอจะเขียนแปลเป็นภาษาไทยได้ โดยที่ความหมายไม่เกิดความสับสนในทางกายวิภาค ก็จะใช้ชื่อนั้นไปก่อน เพื่อให้คนอ่านเข้าใจได้ง่าย เช่น Brachial artery = หลอดเลือดแดงต้นแขน (brachial = ต้นแขน) หรือ Temporal bone = กระดูกขมับ (temporal = ขมับ)
  2. ศัพท์ที่ไม่สามารถเขียนเป็นคำแปลภาษาไทยได้ หรือถ้าเขียนแล้วจะทำให้สับสนไม่เข้าใจ ก็จะใช้การเขียนทับศัพท์ชื่อภาษาอังกฤษ เช่น กระดูกเรเดียส กระดูกอัลนา (แต่อาจจะมีหน้าเปลี่ยนทางมา ถ้าสามารถสะกดได้หลายแบบ เช่น ไฮโปธาลามัส ที่บางตำราเขียนว่า ฮัยโพธาลามัส)
  3. จากข้อ 2. ถ้าเป็นศัพท์ที่เฉพาะเจาะจงมากๆ หรือไม่สามารถเขียนทับศัพท์ให้พอเข้าใจได้ ก็อาจจำเป็นต้องมีหน้าที่มีชื่อเป็นภาษาอังกฤษ แล้วค่อยเปลี่ยนทางมาหน้าที่เขียนด้วยภาษาไทยแทน

ต้องขอย้ำว่านี่เป็นหลักคร่าวๆในการเขียนของผมเท่านั้น ไม่ได้ยึดตามหลักของราชบัณฑิตยสถานเสียเท่าไหร่ เพราะสาเหตุตามที่คุณ Drgarden ได้เปิดประเด็นไว้ (บางคำมันฟังดูแปลกจริงๆ) อย่างไรก็จะรอรับฟังความเห็นของผู้ใช้ท่านอื่นๆครับ --Nerveplexus 08:33, 27 มิถุนายน 2007 (UTC)

ไม่ขอให้ความเห็นเรื่องการตั้งชื่อ เพราะไม่ได้เขียนบทความพวกนี้เท่าไรนัก แต่คิดว่า ทุกหน้าเหล่านี้ควรจะมีหน้าเปลี่ยนทางจากคำภาษาอังกฤษทั้งหมดครับ (ถ้าไม่ใช้เป็นชื่อหลัก) --KINKKUANANAS 11:47, 27 มิถุนายน 2007 (UTC)


คำราชาศัพท์หมวดขัตติยตระกูล[แก้]

จาก http://www.bloggang.com/viewblog.php?id=khunmook&date=17-09-2007&group=4&gblog=14

  • พระปัยกา, พระไปยกา ------------------------> ปู่ทวด ตาทวด
  • พระปัยยิกา, พระไปยิกา ------------------------> ย่าทวด ยายทวด
  • พระอัยกา, พระไอยกา ------------------------> ปู่ ตา
  • พระอัยยิกา พระไอยิกา พระไอยกี ------------------------> ย่า ยาย
  • พระราชบิดา ------------------------> พ่อ
  • พระราชชนนี, พระราชมารดา ------------------------> แม่
  • พระปิตุลา ------------------------> ลุง อา (พี่ชาย น้องชายของพ่อ)
  • พระปิตุจฉา ------------------------> ป้า อา (พี่สาว น้องสาวของพ่อ)
  • พระมาตุลา ------------------------> ลุง น้า (พี่ชาย น้องชายของแม่)
  • พระมาตุลานี --------------> ป้าสะไภ้ น้าสะไภ้ (เมียของพี่ชาย น้องชายของแม่)
  • พระมาตุจฉา ------------------------> ป้า น้า (พี่สาว น้องสาวของแม่)
  • พระเชษฐา, พระเชษฐภาดา ------------------------> พี่ชาย
  • พระเชษฐภคินี ------------------------> พี่สาว
  • พระอนุชา ------------------------> น้องชาย
  • พระกนิษฐภคินี ------------------------> น้องสาว
  • พระภาดา, พระภราดร ------------------------> ลูกพี่ลูกน้องที่เป็นชาย
  • พระภคินี ------------------------> ลูกพี่ลูกน้องที่เป็นหญิง
  • พระราชโอรส ------------------------> ลูกชาย
  • พระราชธิดา ------------------------> ลูกสาว
  • พระราชนัดดา, หลานหลวง ------------------------> หลานชาย หลานสาว
  • พระภาคิไนย ----------> หลานชาย หลานสาวที่เป็นลูกของพี่สาว หรือน้องสาว
  • พระภาติยะ ------------> หลานชาย หลานสาวที่เป็นลูกพี่ชาย หรือน้องชาย
  • พระราชปนัดดา ------------------------> เหลนชายหญิง
  • พระภัสดา ------------------------> สามีของเจ้านาย
  • พระชามาดา ------------------------> ลูกเขย
  • พระสุณิสา ------------------------> ลูกสะไภ้
  • พระสสุระ, พระสัสสุระ ------------------------> พ่อผัว พ่อตา
  • พระสัสสุ ------------------------> แม่ผัว แม่ยาย