เซอร์ไซยิด อาหมัด ข่าน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เซอร์ไซยิด อาหมัด ข่าน
เกิด17 ตุลาคม พ.ศ. 2360
เสียชีวิต27 มีนาคม พ.ศ. 2430
สัญชาติอินเดีย (บริติชอินเดีย)
ชื่ออื่นSyed Ahmad Taqvi
ผลงานเด่นทฤษฎีสองชนชาติ "ชาวฮินดูและมุสลิมในอินเดียเป็นคนละชนชาติกัน"
ตำแหน่งนักปรัชญามุสลิม

เซอร์ไซยิด อาหมัด ข่าน (Sir Sayyid Ahmad Khan; سید احمد تقوی) เป็นนักปฏิรูปชาวอินเดียที่ก่อตั้งสถาบันการศึกษาแบบใหม่สำหรับมุสลิมในอินเดีย โดยให้ความรู้ทางศาสนาควบคู่กับความรู้ทางตะวันตก และพยายามปกป้องสิทธิของมุสลิมในอินเดีย และมีส่วนร่วมในการก่อตั้งขบวนการปากีสถาน

อาหมัด ข่านเกิดเมื่อ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2360 บิดาเป็นขุนนางในสมัยราชวงศ์โมกุล ต่อมาได้ทำงานเป็นผู้ช่วยผู้พิพากษาในบริษัทอินเดียตะวันออกของอังกฤษ ระหว่างเกิดกบฏซีปอย ใน พ.ศ. 2400 – 2401 อาหมัด ข่านได้ให้ความช่วยเหลือชาวอังกฤษมาก และพยายามเขียนหนังสือเพื่อสร้างความใจอันดีระหว่างอังกฤษกับมุสลิม งานเขียนของเขามีส่วนในการลดความระแวงของชาวอังกฤษต่อมุสลิมในอินเดียได้มาก

อาหมัด ข่านยังให้ความสำคัญต่อการศึกษา เขาได้ตั้งวิทยาลัยสำหรับมุสลิมขึ้นเป็นครั้งแรกที่เมืองอะลีการ์ใน พ.ศ. 2418 และต่อมาวิทยาลัยนี้ได้ยกระดับเป็นมหาวิทยาลัยมุสลิมแห่งอะลีการ์ใน พ.ศ. 2464 ในด้านการเมือง อาหมัด ข่านไม่เห็นด้วยกับการให้อินเดียเป็นเอกราชเพราะเกรงว่าผู้นับถือศาสนาฮินดูที่เป็นคนส่วนใหญ่จะกดขี่มุสลิม จึงต้องการให้อังกฤษปกครองอินเดียต่อไป เขาได้จัดตั้งสมาคมรวมชาวอินเดียผู้รักชาติขึ้นใน พ.ศ. 2431 และเขายังเป็นเจ้าของทฤษฎีชนสองชาติคือชาวอินเดียที่นับถือศาสนาฮินดูและมุสลิมนั้น เป็นคนละชนชาติกัน อาหมัด ข่านถึงแก่อนิจกรรมใน 27 มีนาคม พ.ศ. 2430 แต่ความคิดของเขาก็ยังมีอิทธิพลต่อมา เช่น อังกฤษยอมจัดให้มีการเลือกตั้งตามเขตกลุ่มชนที่นับถือศาสนาต่างกัน และยังมีส่วนต่อแนวคิดในการแยกปากีสถานออกจากอินเดียในเวลาต่อมา

ตราของมหาวิทยาลัยมุสลิมแห่งอะลีการ์

อ้างอิง[แก้]

  • ศรีสุรางค์ พูลทรัพย์. เซอร์ไซยิด อาหมัดข่าน ใน สารานุกรมประวัติศาสตร์สากลสมัยใหม่: เอเชีย เล่ม 1 อักษร A-B ฉบับราชบัณฑิตยสถาน. กทม.ราชบัณฑิตยสถาน. 2539. หน้า 75 – 77

อ่านเพิ่มเติม[แก้]

  • The Glowing Legend of Sir Syed – A Centennial Tribute (1998), Ed. Syed Ziaur Rahman, Non-Resident Students’ Centre, Aligarh Muslim University (Aligarh)
  • Prof. Iftikhar Alam Khan. Sir Syed aur Faney Tameer (Aligarh)
  • Prof. Iftikhar Alam Khan. Muslim University ki Kahani, Imarton ki zubani (Aligarh)
  • Prof. Iftikhar Alam Khan. Sir Syed aur Scientific Society (Aligarh)
  • Prof. Iftikhar Alam Khan. Sir Syed tahreek ka siyasi aur samaji pas manzar (Aligarh)
  • Prof. Iftikhar Alam Khan. Sir Syed House ke Mah Wasal (Aligarh)
  • Prof. Iftikhar Alam Khan. Sir Syed Daroon e Khana (Aligarh)
  • Graham, George Farquhar Irving. The Life and Work of Sir Syed Ahmed Khan (Karachi: Oxford University Press, 1974)
  • Encyclopedia of World Biography — Syed Ahmed Khan, 2nd ed. 17 Vols. (Gale Research) as Baba-e-Urdu (Father of Urdu). The first two Prime Ministers of Pakistan, Liaquat Ali Khan and Khawaja Nazimuddin, as well as the late Indian President Dr. Zakir Hussain, are amongst Aligarh's most famous graduates. In India, Sir Syed is commemorated as a pioneer who worked for the socio-political upliftment of Indian Muslims, though his views on Hindu-Muslim issues are a subject of controversy. Sir Syed is also hailed as a founding father of Pakistan for his role in developing a Muslim political class independent of Hindu-majority organisations. The Sir Syed University of Engineering and Technology was established in honour of Sir Syed in Karachi and is a leading technical institution in Pakistan. Furthermore, Sir Syed Government Girls College in Karachi, Pakistan is also named in the honour of Sir Syed Ahmed Khan.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

  • "Sir Syed Ahmad Khan short biography". official website of Aligarh Muslim University.
  • "Sir Syed Ahmad Khan (1817–1898)". Story of Pakistan.
  • "Sir Syed Ahmad Khan". Pioneers of Freedom.
  • "Sir Syed Ahmed Khan". Sir Syed University of Engineering & Technology. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-09-30. สืบค้นเมื่อ 2012-11-19.
  • "Sir Syed Ahmad Khan". Cyber AMU. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-09-29. สืบค้นเมื่อ 2012-11-19.
  • Upadhyay, R. "Aligarh Movement". South Asia Analysis Group. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2005-02-28. สืบค้นเมื่อ 2012-11-19.
  • http://gulfnews.com/opinions/columnists/the-rich-legacy-of-sir-syed-ahmad-khan-1.1090105 The Rich Legacy of Sir Syed Ahmad Khan (Gulf News)
  • http://www.newageislam.com/books-and-documents/azhar-mohammed-k/sir-syed-ahmed-khan-his-life-and-contribution/d/9085 Sir Syed Ahmed Khan His Life and Contribution (NewAgeIslam)]