การล้อมโรดส์ (ค.ศ. 1522)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก Siege of Rhodes (1522))
การล้อมเมืองโรดส์
ส่วนหนึ่งของ สงครามออตโตมันในยุโรป
วันที่ค.ศ. 1522
สถานที่
ผล ออตโตมันได้รับชัยชนะ, ออตโตมันยึดโรดส์
คู่สงคราม
จักรวรรดิออตโตมัน อัศวินฮอสพิทาลเลอร์ สาธารณรัฐเวนิส
ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ
สุลต่านสุลัยมานแห่งจักรวรรดิออตโตมัน
Kurtoğlu Muslihiddin Reis
ฟิลิปป์ วิลลิเยร์ส เดอ ลิสเซิล-อาแดง
กำลัง
50,000-70,000 คน[1]

7,500 คน

  • 700 knights
  • 500 archers
ความสูญเสีย
20,000 คน?[2] 2,000 คน

การล้อมเมืองโรดส์ (อังกฤษ: Siege of Rhodes) (ค.ศ. 1522) การล้อมเมืองโรดส์ในปี ค.ศ. 1522 เป็นความพยายามครั้งที่สองโดยจักรวรรดิออตโตมันที่นำโดยสุลต่านสุลัยมานในการยึดโรดส์เพื่อกำจัดอัศวินฮอสพิทาลเลอร์ออกจากเกาะซึ่งก็เป็นที่สำเร็จ ซึ่งเป็นเพิ่มความมั่นคงทางยุทธศาสตร์ให้แก่จักรวรรดิทางด้านตะวันออกของเมดิเตอเรเนียน หลังจากที่การล้อมครั้งแรกในปี ค.ศ. 1480 ประสบความล้มเหลว

ที่ตั้ง[แก้]

อัศวินเซนต์จอห์นหรืออัศวินฮอสพิทาลเลอร์เข้ายึดเกาะโรดส์เมื่อต้นคริสต์ศตวรรษที่ 14 หลังจากที่เสียเมืองเอเคอร์ซึ่งเป็นที่ตั้งมั่นสุดท้ายของนักรบครูเสดในปาเลสไตน์ในปี ค.ศ. 1291 และใช้เป็นที่ตั้งมั่นในการดำเนินการต่อต้านมุสลิมและรังควานการเดินเรือของตุรกีในบริเวณลว้าน ความพยายามครั้งแรกที่จะยึดในการล้อมครั้งแรกในปี ค.ศ. 1480 ของฝ่ายจักรวรรดิออตโตมันประสบกับความล้มเหลว แต่การมีอัศวินฮอสพิทาลเลอร์ผู้ก้าวร้าวอยู่ไม่ไกลจากฝั่งใต้ของอานาโตเลียก็เป็นอุปสรรคใหญ่ในการขยายอำนาจซึ่งทำให้จักรวรรดิออตโตมันจำต้องพยายามกำจัด

ในปี ค.ศ. 1521 ฟิลิปป์ วิลลิเยร์ส เดอ ลิสเซิล-อาแดง (Philippe Villiers de L'Isle-Adam) ได้รับเลือกให้เป็นแกรนด์มาสเตอร์ของลัทธิ ลิสเซิล-อาแดงคาดว่าจะถูกโจมตีโดยออตโตมันจึงสร้างเสริมกำแพงป้องกันตัวเมืองให้แข็งแรงขึ้น อันที่จริงแล้วการสร้างเสริมก็เริ่มทำกันมาบ้างแล้วตั้งแต่หลังการรุกรานครั้งแรก และ หลังจากความเสียหายที่ได้รับจากแผ่นดินไหวในปีต่อมาใน ค.ศ. 1481 นอกจากนั้นลิสเซิล-อาแดงก็ทำการชักชวนหว่านล้อมให้สมาชิกของลัทธิจากบริเวณต่างๆ ในยุโรปให้มาช่วยป้องกันเกาะ แต่ก็ไม่มีผู้ใดในยุโรปให้ความสนใจกับการเรียกร้อง นอกจากไปจากกลุ่มกองทหารเวนิสจากครีต เมืองโรดส์บางส่วนก็มีระบบกำแพงสองชั้นป้องกัน บางแห่งก็เป็นกำแพงหินสามชั้น และเชิงเทินขนาดใหญ่ การป้องกันแต่ละส่วนก็มอบหมายให้แก่หน่วยย่อยๆ ที่เรียกว่าทัง (Tongue) ซึ่งเป็นระบบที่วางรากฐานมาตั้งแต่ ค.ศ. 1301 ด้านปากอ่าวปิดด้วยโซ่เหล็ก หลังแนวโซ่ก็เป็นกองเรือของอัศวินฮอสพิทาลเลอร์ที่ตั้งรออยู่

อ้างอิง[แก้]

  1. Clodfelter, M. (2017)." Warfare and Armed Conflicts: A Statistical Encyclopedia of Casualty and Other Figures, 1492–2015 (4th ed.)." McFarland.
  2. L. Kinross, The Ottoman Centuries: The Rise and Fall of the Turkish Empire, 178

ดูเพิ่ม[แก้]