ประณามะ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก Pranāma)
ซ้าย: อัษฏางคประณามะ (ประณามะแปดองค์) และ ขวา: ปัญจางคประณามะ (ประณามะห้าองค์)

ประณามะ (สันสกฤต: ปรณาม, Praṇāma; "การเคารพ, หมอบกราบ, โค้งคำนับ") เป็นรูปแบบการแสดงความเคารพแก่บุคคลหรือสิ่งใด ๆ ที่ปรากฏในธรรมเนียมของอินเดียและศาสนาฮินดู[1]

ปรณามยังใช้ในการขอโทษเมื่อเท้าของบุคคลหนึ่งเผลอแตะหนังสือหรืองานเขียน (ซึ่งในบางธรรมเนียมถือว่าเป็นปางแสดงของพระสรัสวตี) หรือเงินทอง (ซึ่งในบางธรรมเนียมถือว่าเป็นปางแสดงของพระลักษมี) บุคคลนั้นจะใช้การนำมือแตะที่สิ่งของนั้น จากนั้นนำมือกลับมาแตะที่หน้าผากตนเอง[2] ถือเป็นการปรณามที่ใช้แสดงการขอโทษ

ปรณาม มาจาก ปร (प्र แปลว่า ไปข้างหน้า หรือ มากยิ่ง) กับ อาณม (आनम แปลว่า การยืดหรือดัด)[3] รวมกันจึงแปลว่าการโค้งคำนับไปข้างหน้า

รูปแบบ[แก้]

ปรณามสามารถแบ่งออกเป็นชนิดย่อย ซึ่งมีรูปแบบการปฏิบัติที่ต่างกัน[4]

  • อัษฏางค์ (สันสกฤต: अष्टाङ्ग, แปดองค์) - เคารพโดยใช้ อุระ (อก), ศิระ (ศีรษะ), ทฤษฏี (ตา), มานะ (จิตแน่วแน่), วจนะ (คำพูด), ปาทะ (เท้า), กร (มือ), ชนุ (เช่า) แตะบนพื้น
  • ษษฏางค์ (สันสกฤต: षष्ठाङ्ग, หกองค์) – เคารพโดยใช้ นิ้วเท้า, เข่า, มือ, คาง, จมูก และกระหม่อม แตะบนพื้น
  • ปัญจางค์ (สันสกฤต: पञ्चाङ्ग, ห้าองค์) – เคารพโดยใช้ เข่า, อก, คาง, กระหม่อม, และ หน้าผาก แตะบนพื้น
  • ทัณฑวัต (สันสกฤต: दण्डवत्) – โค้งหน้าผากลงแตะศีรษะ
  • นมัสการ (สันสกฤต: नमस्कार) – พนมมือและโค้ง[4][5] เหมือนการไหว้
  • อภินันทน์ (สันสกฤต: अभिनन्दन, แสดงความยินดี) – พนมมือติดหน้าอกและโค้ง

อ้างอิง[แก้]

  1. Sivaya Subramuniyaswami. Loving Ganesha. Himalayan Academy Publications. p. 481. ISBN 978-1-934145-17-3.
  2. de Bruyn, Pippa; Bain, Keith; Allardice, David; Joshi, Shonar (2010). Frommer's India. John Wiley & Sons. ISBN 978-0-470-64580-2. สืบค้นเมื่อ 26 April 2013.
  3. Apte Dictionary, See: pra, aanama
  4. 4.0 4.1 Chatterjee, Gautam (2001), Sacred Hindu Symbols, Google books, pp. 47–48, ISBN 9788170173977.
  5. Bhatia, S., & Ram, A. (2009). Theorizing identity in transnational and diaspora cultures: A critical approach to acculturation. International Journal of Intercultural Relations, 33(2), pp 140–149