วงศ์นกโพระดก

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก Megalaimidae)
วงศ์นกโพระดก
นกโพระดกคอสีฟ้า (Megalaima asiatica)
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Animalia
ไฟลัม: Chordata
ชั้น: Aves
อันดับ: Piciformes
อันดับย่อย: Pici
วงศ์: Megalaimidae
Blyth, 1852
สกุล[1]

นกโพระดก เป็นนกขนาดกลาง อยู่ในวงศ์ Megalaimidae (บางข้อมูลจัดให้อยู่ในวงศ์ Ramphastidae หรือนกทูแคน ที่พบในอเมริกาใต้ โดยจัดให้เป็นวงศ์ย่อย Megalaiminae[1]) จัดอยู่ในอันดับนกหัวขวานและนกโพระดก (Piciformes) มีลักษณะจะงอยปากหนาใหญ่ และมีขนที่โคนปาก ร้องเสียงดัง ได้ยินไปไกล ลำตัวอ้วนป้อม ส่วนหัวมีขนาดใหญ่ มีสีสันสวยงาม มีทั้งหมด 26 ชนิด พบทั่วไปในทวีปเอเชียตั้งแต่ทิเบต จนถึงอินโดนีเซีย พบมากในคาบสมุทรมลายู และเกาะสุมาตรา

ทำรังในโพรงไม้ ด้วยการเจาะไม้ให้เป็นรูเหมือนกับนกหัวขวาน ซึ่งเป็นนกในอันดับเดียวกัน แต่โพรงของนกโพระดกจะมีขนาดพอดีตัวทำให้การเข้าออกรังบางทีทำได้ไม่คล่องเท่านกหัวขวาน[2] วางไข่ครั้งละ 2-4 ฟอง ใช้เวลาฟักเป็นตัวประมาณ 13-15 วัน เป็นนกที่กินผลไม้เช่น ลูกโพ, ลูกมะเดื่อฝรั่ง และแมลง เป็นอาหาร

สำหรับนกในวงศ์นี้ที่พบในประเทศไทยมีทั้งหมด 15 ชนิด ได้แก่[3]

รายชื่อนกโพระดกที่พบในประเทศไทย[แก้]

ชื่อ ชื่อวิทยาศาสตร์ สถานะ
นกโพระดกหนวดแดง Psilopogon pyrolophus นกพลัดหลง
นกตั้งล้อ Megalaima virens
นกโพระดกธรรมดา Megalaima lineata
นกโพระดกหูเขียว Megalaima faiostricta
นกโพระดกเคราเหลือง Megalaima chrysopogon
นกโพระดกหลากสี Megalaima rafflesii หายาก ถูกคุกคามทั่วโลก[4]
นกโพระดกคางแดง Megalaima mystacophanos
นกโพระดกคางเหลือง Megalaima franklinii
นกโพระดกคิ้วดำ Megalaima oorti นกพลัดหลง
นกโพระดกคอสีฟ้า Megalaima asiatica
นกโพระดกคอสีฟ้าเคราดำ Megalaima incognita
นกโพระดกหัวเหลือง Megalaima henricii
นกโพระดกหน้าผากดำ Megalaima australis
นกตีทอง Megalaima haemacephala
นกจอกป่าหัวโต Caloramphus fuliginosus

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 จาก itis.gov
  2. อิสรภาพ, "พินัยกรรมธรรมชาติ". สารคดีทางไทยพีบีเอส: ศุกร์ที่ 11 มกราคม 2556
  3. Short, L. L. Horne J. F. M. (2002) "วงศ์ Capitonidae (barbets)" in del Hoyo J., Elliott A. & Christie D.A. (2004) Handbook of the Birds of the World. Volume 7. Jamacars to Woodpeckers Lynx Edicions, Barcelona ISBN 84-87334-37-7
  4. BirdLife International (2007). Megalaima rafflesii. 2006 IUCN Red List of Threatened Species. IUCN 2006. Retrieved on 17 May 2008. Database entry includes a brief justification of why this species is vulnerable

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]