นกตีทอง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก Megalaima haemacephala)
นกตีทอง
Megalaima haemacephala
เสียงร้อง -->
สถานะการอนุรักษ์
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Animalia
ไฟลัม: Chordata
ชั้น: Aves
อันดับ: Piciformes
วงศ์: Megalaimidae
สกุล: Megalaima
สปีชีส์: M.  haemacephala
ชื่อทวินาม
Megalaima haemacephala
Statius Muller, 1776
ชื่อพ้อง

Xantholaema haemacephala
Bucco indicus

นกตีทอง[2] (อังกฤษ: coppersmith barbet, crimson-breasted barbet, coppersmith, ชื่อวิทยาศาสตร์: Megalaima haemacephala) เป็นนกโพระดก (Megalaimidae) ที่เล็กที่สุด ตัวเขียว คอเหลือง อกและหน้าผากแดง ขอบตาเหลือง มักเกาะบนต้นไม้สูง รู้จักกันดีเพราะร้องเสียง “ป๊ก ๆ” เป็นจังหวะสมํ่าเสมอเหมือนกับช่างตีทอง (ฝรั่งว่าเหมือนกับช่างตีทองแดง) เป็นนกประจำถิ่นของเอเชียใต้ และบางส่วนของเอเชียอาคเนย์ ทำรังโดยเจาะโพรงไม้เหมือนกับนกโพระดกประเภทอื่น ๆ โดยมากกินผลไม้ เช่น ลูกไทร แต่บางครั้งก็กินแมลงอื่น ๆ ด้วย โดยเฉพาะแมลงเม่า (ปลวกมีปีก) ในประเทศไทย เป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535 จึงห้ามล่า พยายามล่า ห้ามค้า ห้ามนำเข้าหรือส่งออก ห้ามครอบครอง ห้ามเพาะพันธุ์ ห้ามเก็บหรือทำอันตรายรัง การห้ามการครอบครองและการค้ามีผลไปถึงไข่และซาก[3]

คำพรรณนา[แก้]

นกโพระดกพันธุ์นี้ อาจอยู่ในเขตเดียวกันกับนกโพระดกตัวใหญ่กว่าชนิดอื่น ๆ ที่พบในเอเชียใต้ ในเทือกเขาฆาฏตะวันตกของประเทศอินเดีย จะอยู่ในเขตเดียวกันกับนกโพระดกพันธุ์ M. malabarica ซึ่งมีขนาดคล้ายกัน แต่ร้องถี่กว่า หน้าผากที่แดง ขอบตาและคอที่เหลือง ท้องที่ลาย และตัวด้านบนที่เขียว เป็นลักษณะเฉพาะของนก ลูกนกจะมีสีจางกว่า และไม่มีส่วนสีแดง ตัวผู้ตัวเมียจะคล้ายกัน พันธุ์ย่อยในประเทศศรีลังกามีหน้าที่ดำกว่า มีสีแดงมากกว่าที่อก และมีแถบเข้มกว่าตรงท้อง[4]

ลูกนกพันธุ์ย่อย indica ที่ยังไม่มีสีแดง และมีสีจางกว่า (เมืองโกลกาตา ประเทศอินเดีย)

ในฤดูผสมพันธุ์ ขนที่สึกหรอจะทำให้หลังด้านบน ดูออกเป็นสีน้ำเงิน[5]

ในบรรดานกโพระดกสกุล Megalaima นกตีทองเป็นสัตว์ "ต้นตระกูล" (basal) ของสกุล ดังที่พบโดยการวิเคราะห์วิวัฒนาการชาติพันธุ์ (phylogenetic analysis) ดังนั้น นกสกุลเดียวกันพันธุ์อื่น ๆ ในเอเชีย จึงเป็นนกที่แยกสายพันธุ์ออกจากสกุลนี้ในภายหลัง[6]

มีพันธุ์ย่อย 9 พันธุ์ที่ยอมรับกันอย่างกว้างขวางคือ

พันธุ์ย่อย ๆ ที่เหลือ พบในเกาะต่าง ๆ ในเอเชียอาคเนย์

ที่อยู่และการกระจายพันธุ์[แก้]

นกมักจะอยู่ในสวน ป่าเล็ก ๆ และป่าโล่ง ๆ ที่ ๆ มีต้นไม้ตายแล้ว ขุดเจาะได้ง่าย เป็นลักษณะสำคัญของที่อยู่ของนก นกจะทำรังและนอนอยู่ในโพรงไม้[7]

คู่นกที่รังในเมืองโกลกาตา ประเทศอินเดีย

ในอินเดียใต้ นกมักจะอยู่ในที่ต่ำกว่า 4,000 ฟุต (1,219 เมตร)[8] ในเทือกเขาหิมาลัย นกจะอยู่ในหุบเขาในเขตรอบนอก จนถึงเขตสูงประมาณ 3,000 ฟุต (914 เมตร) นกจะมีน้อยในเขตทะเลทราย หรือในป่าที่ชื้นมาก[9]

พฤติกรรมและนิเวศน์[แก้]

วิดีโอแสดงนกตีทองส่งเสียงร้อง ให้สังเกตปากที่ไม่อ้า ร้องโดยพองคอ

นกมักจะอยู่เดี่ยว ๆ เป็นคู่ ๆ หรือเป็นฝูงเล็ก ๆ แต่อาจพบเป็นฝูงใหญ่บนต้นไทรที่ออกผลมาก นกชอบตากแดดตอนเช้า ๆ บนกิ่งไร้ใบบนต้นไม้สูง ๆ บางครั้งจะโฉบไปโฉบมาแล้วมาจับกิ่งใกล้ ๆ กัน นกบินเป็นเส้นตรง โดยกระพือปีกเร็ว ๆ[5]

นกต้องแย่งรังกับนกและสัตว์กินผลไม้อื่น ๆ ที่ทำรังในโพรงไม้ ได้พบว่า นกโพระดกคอสีฟ้าไล่นกตีทองออกจากรัง และนกปรอดพันธุ์ Pycnonotus cafer (red-vented bulbul) จะขโมยผลไม้ที่ตัวผู้นำมาให้ตัวเมีย[10]

รังที่เป็นโพรงจะใช้สำหรับพักด้วย นกบางตัวอยู่ตัวเดียว และบางพวกจะพักตอนกลางวันด้วย ลูกนกจะพักอยู่กับพ่อแม่ แต่บ่อยครั้งต้องกลับมาก่อน ไม่เช่นนั้น พ่อแม่อาจจะไม่ให้เข้ารัง[7]

เสียงร้อง[แก้]

นกร้องเสียงดัง คล้ายกับช่างเคาะโลหะ ดัง "ป๊ก...ป๊ก...ป๊ก" คล้ายกับช่างตีทอง (หรือตีทองแดง สำหรับฝรั่ง) ซึ่งให้ชื่อกับนก ร้องซ้ำ ๆ กันนาน โดยเริ่มเบา ๆ ก่อน แล้วดังขึ้นจนถึงระดับ เป็นจังหวะสม่ำเสมอที่ 108-121 ครั้งต่อนาที และอาจจะร้องถึง 204 ครั้ง นกไม่อ้าปากเวลาร้อง หนังที่คอทั้งสองข้างจะพองออกแล้วยุบ และจะผงกหัว ในการร้องแต่ละครั้ง นกจะไม่ร้องในฤดูหนาว[5]

อาหาร[แก้]

นกกินลูกไทร (เมืองไฮเดอราบาด (ประเทศอินเดีย))

นกชอบกินลูกบันยัน โพ ไทรประเภทอื่น ๆ ผลเมล็ดเดียวแข็ง (drupe) ผลประเภทอื่น ๆ และบางครั้งแมลงที่โฉบกินในอากาศ[11][12] และอาจจะกินกลีบดอกไม้บางชนิดด้วย[13] นกกินผลไม้หนักกว่าตนเอง 1.5 - 3 เท่าต่อวัน[14]

การสืบพันธุ์[แก้]

วิธีจีบกันรวมทั้งร้องเพลง พองคอออก ผงกหัว สะบัดหาง ให้อาหาร และไซ้ขน[7][15]

นกผสมพันธุ์กันโดยมากทั้งปี โดยต่างกันในพื้นที่ต่าง ๆ ฤดูผสมพันธุ์ในอินเดีย อยู่ระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนเมษายน ในศรีลังกา อยู่ระหว่างเดือนธันวาคมถึงเดือนกันยายน ทั้งตัวผู้ตัวเมียช่วยกันเจาะรัง ใต้กิ่งไม้ตามขวางกิ่งแคบ ๆ นกอาจจะพักนอนอยู่ในรังด้วย[4] นกวางไข่ 3-4 ฟอง แต่เหมือนกับนกที่ทำรังในโพรงไม้อื่น ๆ เวลาฟักไข่นั้น ไม่ค่อยชัดเจน แต่ประมาณว่าอยู่ที่ 2 อาทิตย์ ทั้งตัวผู้ตัวเมียช่วยกันฟักไข่ บางครั้ง นกอาจจะมีลูกสองชุดติด ๆ กัน[5]

ปัจจัยการตาย[แก้]

นกผู้ใหญ่อาจจะถูกล่า และในเขตเมือง นกอาจจะบินชนสิ่งก่อสร้างต่าง ๆ รวมทั้งกำแพงขาว[16] การตายเพราะพิษจากสารฆ่าศัตรูพืชและสัตว์ ก็ยังปรากฏด้วย[17]

เชิงอรรถและอ้างอิง[แก้]

  1. BirdLife International (2012). "Megalaima haemacephala". IUCN Red List of Threatened Species. Version 2013.2. สืบค้นเมื่อ 2013-11-26.
  2. "ตีทอง", พจนานุกรมอิเล็กทรอนิกส์ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒, น. ชื่อนกชนิด Megalaima haemacephala ในวงศ์ Megalaimidae เป็นนกโพระดกที่เล็กที่สุด ตัวเขียว คอเหลือง อกแดง หน้าผากแดง ขอบตาเหลือง ทำรังในโพรงไม้ กินผลไม้ เช่น ลูกไทร มักเกาะบนต้นไม้สูง ร้องเสียง “ป๊ก ๆ” เป็นจังหวะสมํ่าเสมอ.
  3. "สัตว์ป่าคุ้มครอง". โลกสีเขียว. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-03-26. สืบค้นเมื่อ 2015-04-23. {{cite web}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |deadurl= ถูกละเว้น แนะนำ (|url-status=) (help)
  4. 4.0 4.1 Rasmussen, PC & JC Anderton (2005). Birds of South Asia: The Ripley Guide. Vol. 2. Smithsonian Institution & Lynx Edicions. pp. 279–280.
  5. 5.0 5.1 5.2 5.3 Ali, S & S D Ripley (1983). Handbook of the birds of India and Pakistan. Vol. 4 (2 ed.). Oxford University Press. pp. 163–165.
  6. Moyle, RG (2004). "Phylogenetics of barbets (Aves: Piciformes) based on nuclear and mitochondrial DNA sequence data". Molecular Phylogenetics and Evolution. 30 (1): 187–200. doi:10.1016/S1055-7903(03)00179-9. PMID 15022769.
  7. 7.0 7.1 7.2 Lok AFSL & Lee TK (2009). "Barbets of Singapore. Part 2: Megalaima haemacephala indica Latham (Coppersmith Barbet), Singapore's only native, urban barbet" (PDF). Nature in Singapore. 1: 47–54. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-06-06. สืบค้นเมื่อ 2015-06-09.
  8. Dewar, Douglas (1915). Birds of the Indian Hills. John Lane. p. 243.
  9. Blanford, WT (1895). The Fauna of British India, Including Ceylon and Burma. Birds. Volume 3. Taylor and Francis. p. 98.
  10. Tooth,EE (1901). "Nesting difficulties of the coppersmith". J. Bombay Nat. Hist. Soc. 13 (4): 713–714.
  11. Ali, Salim & Dillon Ripley (1987). Handbook of the Birds of India and Pakistan (Vol 4). Oxford University Press. p. 300.
  12. Aitken,EH (1893). "The habits of the coppersmith". J. Bombay Nat. Hist. Soc. 8 (2): 326–327.
  13. Bharos,AMK (1997). "Unusual feeding pattern and diet of Crimsonbreasted Barbet (Megalaima haemacephala)". J. Bombay Nat. Hist. Soc. 94 (2): 411.
  14. Muthukrishnan,TS; Sundarbabu,Rajeswari (1982). "Feeding habits of Coppersmith Megalaima haemacephala (Muller)". J. Bombay Nat. Hist. Soc. 79 (1): 197–198.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  15. Sharma,AK (1993). "Territorial fight among crimsonbreasted barbet". Newsletter for Birdwatchers. 33 (5): 95.
  16. Vijayaraghavan,B (1957). "Accidental death of a Crimsonbreasted Barbet [Megalaima haemacephala (Muller)]". J. Bombay Nat. Hist. Soc. 54 (2): 462.
  17. Dhindsa, M.S.; Sandhu, J.S.; Sohi, A.S. (1986). "Pesticidal mortality of crimson-breasted barbet (Megalaima haemacephala) with a note on its body size". Bulletin of the British Ornithologists' Club. 106 (3): 93–96.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]